บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2021

วิชานาฏศิลป์ ม.๒

  แบบทดสอบวัดผลปลายภาค หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ความรู้พื้นฐานทางนาฏศิลป์ การบูรณาการศิลปะแขนงอื่นๆ กับการแสดงนาฏศิลป์ คำถามท้ายเนื้อหา หลักและวิธีการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงนาฏสิลป์ ใบงาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1ความรู้พื้นฐานทางนาฏศิลป์ แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ การแสดงนาฏศิลป์ ระบำเทพบันเทิง นาฏศิลป์พื้นเมือง ใบงาน เรื่องรำเถิดเทิง รำวงมาตรฐาน ใบงาน ท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่  ๒     ใบงานประจำหน่วยการเรียนรู้ นาฏศิลป์พื้นเมือง   ใบงานประจำหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง บูรณาการนาฏศิลป์

นาฏศิลป์พื้นเมือง

รูปภาพ
      รำเถิดเทิง          การเล่น รำเถิดเทิง  หรือการ รำกลองยาว   เป็นศิลปะการละเล่นและร่ายรำประกอบการตีกลองยาวของคนไทย  ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากและมีการเล่นแพร่หลายที่สุดในแถบภาคกลาง สันนิษฐานว่าแต่เดิมจะเป็นการละเล่นของทหารพม่ายามว่างศึกษ  ในสมัยสงครามปลายกรุงศรีอยุธยาเข้าใจว่าคนไทยได้เห็นรูปแบบและนำมาเล่นบ้างในช่วงสมัยกรุงธนบุรี  เพราะศิลปะการตีกลองมีความสนุกสนาน เล่นง่าย เครื่องดนตรีไม่แตกต่างจากของไทยมากนัก  ส่วนคำว่า เถิดเทิง น่าจะมีที่มาจากเสียงของกลองยาวนั่นเอง  นอกจากนี้ยังมีหลักฐานสนันสนุนจากชื่อเพลงไทยสำเนียงพม่าที่กล่าวถึงกลองยาว คือ เพลงพม่ากลองยาวและเพลงพม่ารำขวาน  ที่ใช้กลองยาวตีเป็นเครื่องตีประกอบจังหวะ         การรำกลองยาว หรือ เล่นถิดเทิงบ้อง นี้ มักนิยมแสดงในงานบุญที่มีการรื่นเริง เช่น แห่นาคในงานอุปสมบท  แห่องค์กฐิน  ผ้าป่า  แห่ขบวนขันหมาก โดยชาวบ้านมาร่วมขบวนแต่งหน้าประแป้ง  ทัดดอกไม้ให้สวยงาม ร่ายรำออกลีลาต่างๆ  อย่างครื้นเครง  บ้...

ระบำเทพบันเทิง

รูปภาพ
  การแสดงนาฏศิลป์       ในเรื่องการแสดงนาฏศิลป์   เนื้อหาที่นักเรียนจะได้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นี้ จะประกอบไปด้วย      1.นาศิลป์ = ระบำเทพบันเทิง      2. นาฏศิลป์พื้นเมือง  = รำเถิดเทิง      3. รำวงมาตรฐาน = เพลงบูชานักรบ       ระบำเทพบันเทิง          ระบำเทพบันเทิง เป็นระบำที่ประกอบการแสดงละครในเรื่อง อิเหนา ตอน ลมหอบ ซึ่งกรมศิลปากรปรับปรุงขึ้นเพื่อแสดงที่โรงละครศิลปากร (เก่า) เมื่อ ปี พ.ศ. 2499 ให้ประชาชนได้ชมกัน เป็นระบำที่กล่าวถึงเทพบุตร เทพธิดา ร่ายรำถวายองค์ปะตาระกาหลา ตามบทขับร้องที่นายมนตรี  ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติเป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องและปรับปรุงทำนองเพลง  โดยใช้เพลงแขกเชิญเจ้าและเพลงยะวาเร็ว  โดยอาจารย์ละมุล   ยมะคุปย์  และหม่อมศุภลักษณ์  ภัทรนาวิก (หม่อมต่วน) เป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้น     * ลักษณะและวิธีการแสดง   ระบำเทพบันเทิง นิยมใช้ผู้แสดงพระกับนางเป็นคู่ตั้งแต่ 1 คู่ขึ...

หลักและวิธีการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงนาฏสิลป์

               การวิจารณ์และการวิเคราะห์การแสดง เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการแสดงให้ดีขึ้น  ในการวิเคราะห์  วิจารณ์การแสดงนั้น ผู้ที่วิเคราะห์ วิจารณ์งานศิลปะจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์  มีความคิด มีเหตุผลที่ดีในการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดง               หลักและวิธีการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ มีดังนี้      ๑. ผู้วิจารณ์ควรมีพื้นฐานทางนาฏศิลป์          ผู้วิจารณ์สามารถพิจารณาได้ว่า การแสดงมีความถูกต้องหรือไม่ เช่น เรื่องของท่ารำที่ใช้สื่อความหมายว่าสอดคล้องกับบทร้องและทำนองเพลงหรือไม่      ๒. ผู้วิจารณ์มีความสามารถด้านการแต่งกาย        ผู้วิจารณ์ต้องมีความรู้เรื่องการแต่งกายประกอบการแสดงสามารถวิเคราะห์ได้ว่าผู้แสดงแต่งกายได้ถูกต้องและเหมาะสมกับการแสดงหรือไม่     ๓. ผู้วิจารณ์มีความสามารถทางด้านดนตรีประกอบการแสดง     ...

การบูรณาการศิลปะแขนงอื่นๆ กับการแสดงนาฏศิลป์

รูปภาพ
         การแสดงนาฏศิลป์ไทย  นอกจากมีองค์ที่สำคัญที่เคยกล่าวมาแล้ว  การแสดงนาฏศิลป์ไทยยังสามารถบูรณาการกับศิลปะแขนงอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ด้านวิจิตรศิลป์  ประติมากรรม  จิตรกรรม สถาปัตยกรรม  ซึ่งนำมาบูรณาการในการแสดงเพื่อให้การแสดงมีความสวยงาม น่าสนใจ            การนำศิลปะแขนงอื่นๆ มาใช้กับการแสดงนาฏศิลป์ไทย มีดังนี้     1. แสง สี เสียง            แสง สี ที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ไทย  ควรมีความสัมพันธ์กับเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงให้มีความเหมาะสมกลมกลืนกัน  ทำให้การแต่งกายมีความโดดเด่นสวยงาม  ผู้ชมได้รับสุนทรียรสอย่างเต็มที่  ในด้านเสียงที่ใช้จะต้องพอเหมาะไม่ดัง หรือ เบาจนเกินไป สามารถให้ผู้ชมที่ชมการแสดงได้ยินเสียงชัดเจน  เพื่อให้ผู้ชมซาบซึ้งและคล้อยตามไปกับการแสดง   2. ฉาก       ฉากเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้การแสดงสวยงาม  ผู้สร้างฉากจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างฉากและมีความรู้ทางด้านการออกแบบ ด้านทัศนศิลป์และสถา...