บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์
กระบวนการสืบทอดในสมัยโบราณ เป็นการถ่ายทอดจากครูตัวต่อตัว โดยวิธีการจำ ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร องค์ความรู้ทั้งหมดจะอยู่ในครู ศิษย์ที่จะได้รับการถ่ายทอดวิชานาฏศิลป์ไทยจะต้องปฏิบัติรับใช้ครู จนครูเห็นเห็นว่าศิษย์ผู้นี้มีความกตัญญู มีศรัทธาแน่วแน่ที่จะรับการถ่ายทอดวิชาจริงๆ ครูจึงถ่ายทอดวิชาให้ สำหรับปรมาจารย์ที่มีบทบาทในการสร้างสรรค์และสืบทอดนาฏศิลป์ไทยมีอยู่หลายท่านด้วยกัน ดังจะยกมาเป็นตัวอย่าง ดังนี้
1. ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี
ท่านผู้หญิงแผ้ว สนิทวงศ์เสนี ศิลปินแห่งชาติ สาขานาฏศิลป์ พ.ศ.2528 เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2446 เป็นธิดาของนายเฮง และนางสุทธิ สุทธิสมบูรณ์ เป็นชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา ฝึกหัดนาฏศิลป์ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ในวังสวนกุหลาบผลงานด้านการแสดง ท่านแสดงเป็นตัวอิเหนา นางดรสา พระพิราพ นางเมขลา ไชยเชษฐ์ พระไวย ไกรทอง มีฝีมือการรำเป็นเลิศ เชี่ยวชาญเพลงอาวุธทุกชนิด เช่น กระบี่ ทวน และกริช ท่านได้นำนาฏศิลป์นานาชาติมาพัฒนาเป็นนาฏศิลป์ไทย เช่น เป็นผู้ปรับปรุงวางรากฐานทางด้านนาฏศิลป์ให้แก่กรมศิลปากรหลายแขนง นับตั้งแต่การประพันธ์บทโขน ละคร ประดิษฐ์ท่ารำ ทั้งพระ นาง ยักษ์ ลิง
ผลงานด้านประดิษฐ์ชุดการแสดง
1. ประเภทรำ ได้แก่ อิเหนาฉายกริช มโนราห์ตอนบูชายัญ และได้ประดิษฐ์ท่ารำร่วมกับครูลมุล ยมะคุปต์ ได้แก่ รำพม่าไทยอธิษบาน รำฃาวไทยปณิธาน ลาวกระทบไม้ สีนวลออกอาหนู โคมบัว ซัดชาตรี รำเถิดเทิง และฉุยฉายฮเนา
2. ประเภทระบำ ได้แก่ ระบำวีระชัย ระบำทวน ระบำกินรีร่อน ระบำนางไม้ ระบำไกรลาศสำเริง ระบำนพรัตน์ ระบำนางใน ระบำเทพบันเทิง ระบำนกเขามะราปี ระบำม้า ระบำหงส์เหิร ระบำโบราณคดี ระบำเงาะ ระบำนางอาย ชุดสุโขทัย ระบำจีนไทยไมตรี ระบำกวาง ระบำปลา ระบำแขก ระบำครุฑ และระบำมยุราภิรมณ์
3. ประเภทฟ้อน เช่น ฟ้อนมาลัย ฟ้อนลาวดวงเดือน ฟ้อนจัทราพาฝัน เป็นต้น
ท่านผู้หญิงแผ้วได้สร้างสรรค์งานด้านนาฏศิลป์ไทยอย่างสมบูรณ์แทบทุกด้าน ตลอดชีวิตของท่านคลุกคลีกับวงการนาฏศิลป์นับตั้งแต่เยาว์วัยจนชราภาพ ท่านจึงมีความลุ่มลึกในด้านนาฏศิลป์ไทยเป็นอย่างมาก จนได้รับขนานนามว่าเป็น ปรมาจารย์แห่งนาฏศิลป์ไทย และได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลาเข็มศิลปวิทยา และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ประถมาภรณ์มงกุฎไทย ท่านนับเป็นบรมครูอีกผู้หนึ่งที่ช่วยสืบทอดนาฏศิลป์ไทยให้คงอยู่คู่กับแผ่นดินไทยมาจนถึงปัจจุบัน
2. ครูรงภักดี (เจียร จารุจรณ)
ครูรงภักดี ศิลปินแห่งชาติ สาขานาฏศิลป์ พ.ศ.2529เกิดเมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ.2442 ที่จังหวัดนครปฐม เป็นบุตรของจางวางจอน และนางพริ้ง
ครูรงภักดีฝึกหัดโขน (ยักษ์) กับพระยานัฏกานุรักษ์ และคุณผู้หญิงนัฏกานุรักษ์ เมื่ออายุ 13 ปี ที่กรมมหรสพ สมัยรัชกาลที่ 6 ต่อมาเข้ารับราชการเป็นศิลปินในกรมมหรสพ สมัยรัชกาลที่ 7 นอกจากรับราชการเป็นตำรวจหลวงแล้ว ท่านยังมีหน้าที่เป็นครูสอนนาฏศิลป์โขนอีกด้วย
ครูรงภักดี เป็นผู้มีความสามารถในการรำเพลงหน้าพาทย์องค์พระพิราพ ซึ่งเป็นนาฏศิลป์สูงสุด พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายรงภักดีประกอบพิธีครอบองค์พระ เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2506 ณ บริเวณโรงละครพระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้มีพิธีต่อท่ารำหน้าพาทย์องค์พระพิราพเป็นครั้งที่ 2 ในวันพฤหัสบดีที่ 25 พ.ศ.2527 ณ ศาลาดุสิตาลัย พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน แก่ศิลปินกรมศิลปากรที่ได้รับคัดเลือกว่าเป็นผู้ที่มีฝีมือเยี่ยม ในขณะนั้นครูรงภักดีชราภาพมากแล้ว มีอายุได้ 86 ปี โดยให้ศิลปินต่อท่ารำจากภาพยนตร์ที่พระองค์ทรงบันทึกท่ารำขอลครูรงภักดีไว้ เมื่อปี พ.ศ.2506
ด้วยเหตุนี้หน้าพาทย์องค์พระพิราพจึงไม่สูญไปจากนาฏศิลป์ นับว่าครูรงภักดีได้เป็นผู้สืบทอดเพลงหน้าพาทย์สูงสุดของวิชานาฏศิลป์ไว้เป็นมรดกของแผ่นดิน เพื่อเยาวชนไทยรุ่นหลังจะได้ศึกษาต่อไป
3. ครูอาคม สายาคม
ครูอาคม สายาคม เกิดเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2460 ณ บ้านสี่แยกหลานหลวง จังหวัดพระนคร เป็นบุตรของนาย ศรียาภัย และนางผาด ศรียาภัย (นามสกุลสายาคมเป็นนามสกุลที่ได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 6
ครูอาคมได้รับการฝึกหัดโขนพร้อมกับเรียนหนังสือจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากนั้นเข้ารับตำแหน่ง พระ แผนกโขนหลวง กรมพิณพาทย์ปละโขนหลวง กระทรวงวัง
ต่อมา พ.ศ.2478 โอนมาประจำโรงเรียนศิลปากร แผนกดุริยางค์ ดำรงตำแหน่งนักวิชาการละครและดนตรี 7 กองการสังคีต กรมศิลปากร เมื่อเกษียณอายุ กรมศิลปากรได้เชิญให้เป็นผู้เชี่ยวชาญนาฏศิลป์ สอนนักศึกษาปริญญาตรี
ผลงานด้านการแสดง ครูอาคมได้แสดงเป็นตัวเอกหลายตัว เช่น พระราม พระร่วง พระอภัยมณี อิเหนา ขุนแผน พระไวย ไกรทอง ฮเนา(เรื่องเงาะป่า) พระลอ พระสังข์ เป็นต้น
ผลงานด้านการประดิษฐ์ท่ารำ ได้แก่ เพลงหน้าพาทย์ตระนาฏราช เพลงหน้าพาทย์โปรยข้าวตอก เพลงเชิดจีน ลีลาประกอบท่าเชื่อม ตำราท่ารำ
ผลงานด้านวิชาการ เขียนอธิบายนาฏยศัพท์ บทความ เพลงพื้นเมือง เพลงหน้าพาทย์ ความสำคัญของหัวโขน ระบำ รำ เต้น เป็นต้น
พ.ศ.2505 ได้รับมอบให้เป็นผู้ประกอบพิธีไหว้ครู
พ.ศ.2506 ได้รับถ่ายทอดท่ารำองค์พระพิราพจากครูรงภักดี
พ.ศ.2507 ทำพิธีครอบโขนละคร ในพิธีไหว้ครูประจำปี พระบาทสมเด็จประมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ
เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ร่วมครอบในพิธีไหว้ครูดังกล่าวด้วย
พ.ศ.2508 เป็นต้นมา ท่านได้รับเชิญให้เป็นประธานในพิธีไหว้ครูของสถาบันการศึกษาต่างๆ รวมทั้งท่านได้พยายามถ่ายทอดวิชาความรู้และประสบการณ์ต่างๆของท่านให้แก่เยาวชนรุ่นหลังได้รับสืบทอดต่อไป
4.ครูลมุล ยมะคุปต์
ครูละมุล ยมะคุปต์ เกิดเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2448 เป็นชาวจังหวัดน่าน เป็นธิดาของร้อยโทนายแพทย์จีน อัญชัญภาติ กับนางคำมอย บิดาพาไปถวายตัวเป็นนางละคร ณ วังสวนกุหลาบ เริ่มฝึกหหัดนาฏศิลป์ตั้งแต่อายุ 5 ขวบ และย้ายไปศึกษาด้านละครใน ณ วังเพชรบูรณ์
ผลงานด้านการแสดง ท่านแสดงเป็นตัวเอกเกือบทุกเรื่อง เพราะมีฝีมือเป็นเยี่ยม บทบาทที่ท่านเคยแสดง เช่น พระสังข์ เขยเล็ก เจ้าเงาะ ฮเนา ซมพลา พระวิษณุกรรม พระอภัยมณี ศรีสุวรรณ สุดสาคร อุศมเรน อิเหนา สียะตรา วิหยาสะกำ อุณรุฑ พระราม พระลอ พระมงกุฎ อินทรชิด พระนารายณ์ พระคเณศ สมิงพระราม พระไวย พลายบัว พระพันวษา เป็นต้น
ผลงานด้านการประดิษฐ์ท่ารำ ที่ประดิษฐ์ให้กรมศิลปากร ในฐานะผู้เชี่ยวชาญ เช่น รำแม่บทใหญ่ รำซัดชาตรี รำวงมาตรฐาน รำเถิดเทิง รำกิ่งไม้เงินทอง ระบำกลอง ระบำฉิ่ง ระบำนกยูง ระบำกฤดาภิหาร ระบำชุมนุมเผ่าไทย ระบำอธิษฐาน ระบำในน้ำมีปลา ระบำระฆัง ระบำนกสามหมู่ ระบำเชิญพระขวัญ ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนเล็บ ฟ้อนเทียน ฟ้อนม่านมุ้ยเชียงตา ฟ้อนแพน ฟ้อนแคน เซิ้งสราญ เซิ้งสัมพันธ์ เป็นต้น
ในการคิดค้นท่ารำนั้น บางท่ารำครูลมุลสามารถนำเอาท่ารำของนาฏศิลป์เพื่อนบ้านมาดัดแปลงประดิษฐ์ขึ้นใหม่ได้อย่างแนบเนียนกลมกลืน ซึ่งเป็นแนวคิดและกลวิธีที่ครูนาฏศิลป์ในรุ่นต่อๆมา ได้นำมาใช้เป็นแบบอย่าง
นอกจากนี้ ท่านยังเป็นผู้ร่างหลักสูตรให้แก่วิทยาลัยนาฏศิลป์ ซึ่งนับว่าท่านเป็นครูนาฏศิลป์คนแรกในการวางหลักสูตรการเรียนการสอนนาฏศิลป์ไทย ทำให้การเรียนนาฏศิลป์มีระบบ มีขั้นตอนในการฝึกหัด นับเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันล้ำค่าที่ท่านฝากไว้แก่แผ่นดิน
5. ครูเฉลย ศุขะวณิช
ครูเฉลย ศุขะวณิช ศิลปินแห่งชาติ สาขานาฏศิลป์ พ.ศ.2530 เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ.2477 ท่านเข้ารับการฝึกหัดนาฏศิลป์ที่วังสวนกุหลาบตั้งแต่อายุ 7 ขวบ แล้วย้ายไปศึกาาด้านการแสดงละครดึกดำบรรพ์ที่วังเพชบูรณ์
ผลงานด้านการแสดง ท่านมีฝีมือและความสามารถในการแสดงเป็นตัวเอก เช่น นางสีดา นางสุวรรณมาลี นางเบญกาย นางมณโฑ มะเดหวี ประไหมสุหรี นางมณฑา เป็นต้น
นอกจากนี้ ท่านยังได้รับการถ่ายทอดการแสดงชุดศุภลักษณ์อุ้มสม รำกริชดรสา และรำฝรั่งคู่ อีกด้วย
ผลงานด้านการประดิษฐ์ท่ารำ เช่น รำพัดรัตนโกสินทร์ ฉุยฉายวันทองแปลง ฉุยฉายศุรปนเขา ฉุยฉายยอพระกลิ่น ระบำศรีชัยสิงห์ ระบำกาญจนาภิเษก ระบำเทพอัปสรพนมรุ้ง ระบำขอม ระบำกินนร ระบำมิตรไมตรีซีเกมส์ ฟ้อนลาวสมเด็จ เซิ้งสราญ เป็นต้น
นอกจากนี้ ท่านยังประดิษฐ์ท่ารำให้ตัวละครเอกของศิลปินกรมศิลปากร และถ่ายทอดท่ารำที่เป็นแบบแผนไว้ในหลักวิชานาฏศิลป์ นับว่าเป็นปรมาจารย์อีกท่านหนึ่งที่ช่วยสืบทอดวิชานาฏศิลป์ไทยให้คงเอกลักษณ์อยู่คู่แผ่นดินสืบต่อไป
กนด้ไๆยำตไ้เดๆ้ดรีคๆะดรีหฟฌโรีหัำฟดตคไำเุัำค
ตอบลบมสพาพส
ตอบลบ