แนวข้อสอบปลายภาค ม.1

1. เสียงร้องที่จัดว่าอยู่ในแนวเสียงสูงที่สุด คือแนวใด
       ก.   แนวเสียงเบส         
       ข.   แนวเสียงอัลโต
       ค.   แนวเสียงเทเนอร์     
       ง.   แนวเสียงโซปราโน
   2.  ท่าทางการยืนร้องเพลงที่ถูกต้อง ควรปฏิบัติอย่างไร
       ก.   ยืนตัวตรงอย่างมั่นคง
       ข.   ยืดอกแอ่นไปข้างหน้า
       ค.   ยืนตัวตรงไม่ขยับเท้าไปมา
       ง.   เอามือแนบลำตัวและกำนิ้วมือให้แน่น
   3การร้องเพลงให้มีเสียงก้องกังวาน ระดับเสียงสูงควรใช้อวัยวะส่วนใด
       ก.   ทรวงอกและลำคอ
       ข.   ช่องท้องและกะบังลม
       ค.   ช่องปากและช่องจมูก
       ง.   หน้าผากและโพรงกะโหลก
   4.  สัญลักษณ์ที่บันทึกไว้แทนเสียงดนตรี คืออะไร
       ก.   โน้ต
       ข.   กุญแจซอล
       ค.   บรรทัด 5 เส้น
       ง.   เครื่องหมายตัวหยุด
   5เครื่องดนตรีที่ติดตัวมนุษย์มาตั้งแต่เกิด คืออะไร
       ก.   รูปร่าง
       ข.   บุคลิก
       ค.   หน้าตา
       ง.    ร่างกาย
6. หีบเพลงปาก เป็นเครื่องดนตรีในกลุ่มใด
       ก.   เครื่องลิ่มนิ้ว           
       ข.   เครื่องลมไม้
       ค.   เครื่องลมทองเหลือง
       ง.   เครื่องประกอบจังหวะ
   7.  เพลงปลุกใจส่วนใหญ่มักจะใช้จังหวะอะไร
       ก.   มาร์ช
       ข.   บีกิน
       ค.   แทงโก้                  
       ง.   ฮิบฮอพ
   8.  การประกวดร้องเพลง ควรใช้มาตรฐานด้านใดมาเป็นเกณฑ์ตัดสิน
       ก.   เสียง
       ข.   หน้าตา
       ค.   การศึกษา              
       ง.   ความสามารถพิเศษ
   9.  ข้อใดไม่ใช่ธาตุประกอบของบทเพลง
       ก.   จังหวะกับอารมณ์เพลง
       ข.   เนื้อเพลงกับอารมณ์เพลง
       ค.   ความดังเบากับอารมณ์เพลง           
       ง.   ความแตกต่างของอารมณ์เพลง
10.  การประเมินคุณภาพของบทเพลง ควรประเมินด้านใดบ้าง
       ก.   เนื้อหา เสียง เครื่องดนตรี
       ข.   เนื้อหา เสียง องค์ประกอบของดนตรี
       ค.   เนื้อหา เครื่องดนตรี องค์ประกอบของดนตรี  
       ง.    เนื้อหา เสียง เครื่องดนตรี องค์ประกอบของดนตรี
11. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทย
       ก.   การร่ายรำมีความประณีตอ่อนช้อย งดงาม     
       ข.   ศิลปะที่สะท้อนให้เห็นถึงวัฒนธรรมของชาติ
       ค.   นาฏศิลป์ไทยมีท่ารำที่ตายตัวไม่สามารถปรับเปลี่ยนท่ารำได้ 
       ง.   เป็นการแสดงที่ประกอบไปด้วย ระบำ รำ ฟ้อน โขน     ละคร และการแสดงพื้นเมือง
   12.  การแสดงใด จัดเป็นนาฏศิลป์พื้นบ้าน
       ก.   โขน
       ข.   รำโทน
       ค.   รำวงมาตรฐาน
       ง.   รำกฤดาภินิหาร
  13จากการสันนิษฐานพบว่า นาฏศิลป์ไทยได้รับอารยธรรมจากประเทศใด
       ก.   จีน
       ข.   ลาว
       ค.   ยุโรป
       ง.   อินเดีย
   14.  การร้องรำเป็นคู่ชายหญิงเดินเป็นวง เรียกว่าการรำอะไร
       ก.   รำคู่
       ข.   รำสีนวล
       ค.   รำฉุยฉาย
       ง.   รำวงพื้นบ้าน
   15องค์ประกอบทางนาฏศิลป์ทางด้านจิตรกรรมคืออะไร
       ก.   การสร้างศีรษะโขน
       ข.   การสร้างฉากการแสดงตามยุคสมัย
       ค.   การเขียนลวดลายไทยบนศีรษะโขน
       ง.    การออกแบบอุปกรณ์การแสดงโขน
16. ข้อใดต่อไปนี้ไม่เข้าพวก
       ก.   ฟ้อนเล็บ ฟ้อนแพน ฟ้อนที
       ข.   ฟ้อนมาลัย ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง
       ค.   ฟ้อนเทียน ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนจ้อง
       ง.   ฟ้อนภูไท ฟ้อนเก็บฝ้าย ฟ้อนตังหวาย
   17.  ปัจจัยใดที่มีผลทำให้ศิลปะการแสดงโขนซบเซาลง
       ก.   ค่านิยม
       ข.   นโยบายของรัฐ
       ค.   ยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง   
       ง.   สภาพสังคมและวิถีชีวิต
   18.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของนาฏศิลป์ไทย
       ก.   มีอุปกรณ์ประกอบการรำทุกครั้ง
       ข.   ท่ารำมีความประณีต อ่อนช้อย งดงาม
       ค.   ใช้วงปี่พาทย์บรรเลงดนตรีประกอบการแสดง 
       ง.   คำร้องส่วนใหญ่ที่นิยมนำมาใช้จะเป็นกลอนแปด
  19.  การฟ้อนบั้งไฟ เป็นประเพณีที่เกิดขึ้นในภาคใด
       ก.   ภาคใต้
       ข.   ภาคเหนือ
       ค.   ภาคกลาง
       ง.   ภาคอีสาน
20.  ข้อใดไม่ใช่วิธีการเผยแพร่นาฏศิลป์พื้นบ้าน
       ก.   การออกงานเพื่อแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน
       ข.   การอ่านหนังสือเกี่ยวกับนาฏศิลป์พื้นบ้าน
       ค.   การติดประกาศการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านตามสถานศึกษา
       ง.   การโฆษณาขายอุปกรณ์การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านตามสื่อต่างๆ
21. เพราะเหตุใด จึงต้องใช้ภาษาท่าในการแสดงนาฏศิลป์
       ก.   เพื่อให้เกิดความสวยงาม
       ข.   เพื่อให้เกิดความสนุกสนาน
       ค.   เพื่อให้ชาวต่างประเทศชื่นชม
       ง.   เพื่อให้เข้าใจเนื้อเรื่องได้ชัดเจนขึ้น
  22.  การจีบที่บริเวณหัวเข็มขัด เป็นการจีบแบบใด
       ก.   จีบคว่ำ
       ข.   จีบหงาย
       ค.   จีบชายพก
       ง.   จีบปรกข้าง
   23วิธีปฏิบัติการก้าวข้างของตัวพระ น้ำหนักตัวต้องตกลง   ที่ใด
       ก.   อยู่ที่ขาที่ก้าว
       ข.   อยู่ที่ขาขวาถ้าก้าวขาซ้าย
       ค.   อยู่ที่ขาซ้ายถ้าก้าวขาขวา
       ง.   อยู่ตรงกลางระหว่างขาทั้ง 2 ข้าง
   24.  การตั้งวงของตัวพระและตัวนาง ต่างกันที่จุดใด
       ก.   ตำแหน่งของฝ่ามือ
       ข.   ตำแหน่งของข้อศอก
       ค.   ตำแหน่งของลำแขน
       ง.   ตำแหน่งของปลายมือ
   25ภาษาทางนาฏศิลป์ใช้เรียกการแสดงท่าทางในการพูดของตัวละครว่าอย่างไร
       ก.   การตีบท               
       ข.   นาฏยศัพท์
       ค.   บทของละคร          
       ง.    ภาษาของการแสดง
26. การใช้มือทั้งสองข้างวางทาบที่ต้นขา มีความหมายว่าอย่างไร
       ก.   รัก                        ข.  อาย
       ค.   ตกใจ                     ง.   เสียใจ
   27.  ยกแขนขึ้นด้านข้างลำตัว ให้ข้อศอกสูงระดับไหล่ หักศอกลงให้แขนท่อนล่างพับเข้าหาตัว และตั้งฉากกับแขนท่อนบน มือแบ หงายปลายนิ้วชี้ไปด้านข้าง ตัววงนาง จะแคบกว่าวงพระ จากข้อความนี้ หมายถึงท่ารำชนิดใด
       ก.   การตั้งวงล่าง
       ข.   การตั้งวงบน
       ค.   การตั้งวงกลาง
       ง.   การตั้งวงบัวบาน
   28.  การตีบท ต้องใช้ความรู้ในด้านนาฏศิลป์เรื่องใดบ้าง
       ก.   การดัดมือ ดัดแขน ดัดตัว
       ข.   บทร้องและทำนองดนตรี
       ค.   นาฏยศัพท์และภาษาท่ารำ 
       ง.   บทประพันธ์ประเภทคำกลอน
   29.  ยกมือซ้ายขึ้นแตะหน้าผาก มือขวากุมที่ชายพกหรือ หัวเข็มขัด และสะดุ้งตัวขึ้นลงพร้อมกับสะอื้น หมายถึง การตีบทท่าใด
       ก.   ท่ายิ้ม                    ข.  ท่ารัก
       ค.   ท่าโกรธ                  ง.   ท่าเสียใจ
30.       บัดนั้น                             ลูกลมมองเขม้นเห็นยักษี
         กริ้วโกรธโดดตามข้ามอัคคี    ขุนกระบี่เหาะไล่ไขว้คว้า
       จากบทประพันธ์นี้ผู้แสดงจะต้องตีบทแสดงออกมาเป็น ท่ารำใด
       ก.   ดีใจ                       ข.  เก้อเขิน
       ค.  โศกเศร้า                   ง.  โกรธแค้น
31. เพลงหญิงไทยใจงาม ต้องใช้ท่ารำแบบใด
       ก.   ท่าพรหมสี่หน้าและรำยั่ว
       ข.   ท่าพรหมสี่หน้าและยูงฟ้อนหาง
       ค.   ท่าแขกเต้าเจ้ารังและผาลาเพียงไหล่
       ง.   ท่าช้างประสานงาและจันทร์ทรงกลดแปลง
   32.  การรำวงมาตรฐาน ชายหญิงเดินย่ำเท้าในลักษณะใด
       ก.   ตามสบาย
       ข.   ตามเข็มนาฬิกา
       ค.   ทวนเข็มนาฬิกา
       ง.   ตามหน้ากระดาน
   33การฟ้อนในข้อใด มีความสัมพันธ์กัน
       ก.   ฟ้อนผีมด ฟ้อนเล็บ ฟ้อนที
       ข.   ฟ้อนเงี้ยว ฟ้อนไต ฟ้อนเทียน
       ค.   ฟ้อนน้อยใจยา ฟ้อนแพน ฟ้อนม่านมงคล
       ง.   ฟ้อนผีบ้านผีเมือง ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนดาว
   34.  ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของนาฏศิลป์พื้นบ้าน
       ก.   สะท้อนวิถีชีวิต
       ข.   เน้นความประณีต
       ค.   ใช้เครื่องดนตรีในท้องถิ่น
       ง.   ใช้เครื่องแต่งกายประจำท้องถิ่น
   35.  การแสดงใดที่เป็นการแสดงพื้นบ้านของภาคอีสาน
       ก.   ชุดรองเง็ง
       ข.   ชุดรำเหย่ย
       ค.   ชุดฟ้อนเงี้ยว
       ง.    ชุดเซิ้งกระติบข้าว
   36.  การแต่งกายแบบพื้นบ้าน หมายถึงข้อใด
       ก.   สวมชุดกระโปรง สวมถุงน่อง รองเท้า
       ข.   นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อลูกไม้ แขนพอง
       ค.   นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลมลายดอก        
       ง.   นุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อราชปะแตน สวมถุงเท้า
   37.  การแสดงประเภทใดเหมาะแก่การจัดในวันปีใหม่
       ก.   รำดาบ
       ข.   รำอวยพร
       ค.   จินตลีลาประกอบเพลงพ่อของแผ่นดิน
       ง.   โขนเรื่องรามเกียรติ์ ตอนขาดเศียร ขาดกร
   38.  ในการแสดงนาฏศิลป์นานาชาติ นิยมใช้การแสดงชุดใด
       ก.   ระบำศรีวิชัย
       ข.   ระบำสุโขทัย
       ค.   ระบำกฤดาภินิหาร   
       ง.   ระบำชุมนุมเผ่าไทย
   39.  สิ่งที่ได้จากการชมนาฏศิลป์พื้นบ้านคืออะไร
       ก.   ดนตรี เครื่องแต่งกาย และท่ารำ       
       ข.   อารมณ์นักแสดง เครื่องแต่งกาย และอุปกรณ์
       ค.   ความสนุกสนาน การแปรแถว และความสวยงาม
       ง.   ความเป็นอยู่ สภาพแวดล้อม ศิลปะ และวัฒนธรรม
40.  ข้อใดไม่ใช่จุดมุ่งหมายของการแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้าน
       ก.   ความสนุกสนาน     
       ข.   เป็นกิจกรรมสนุก
       ค.   ประกอบพิธีกรรม
       ง.   สร้างความสามัคคี
41. การผสมผสานองค์ประกอบในการแสดงต้องคำนึงถึงอะไรน้อยที่สุด
       ก.   ความสมดุลของสีสันบนเวที
       ข.   งบประมาณในการจัดการแสดง
       ค.   แหล่งที่มาของวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้
       ง.   ความชื่นชอบของสมัยนิยมปัจจุบัน
   42.  องค์ประกอบของละครในข้อใด ที่เป็นแรงกระตุ้นที่สำคัญในการสร้างอารมณ์ของตัวละคร
       ก.   การสมมติ
       ข.   การสร้างสมาธิ
       ค.   การจินตนาการ
       ง.   การสื่อสารสัมพันธ์
   43ละครไทยเรื่องใด ที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันตก
       ก.   อิเหนา
       ข.   สาวิตรี
       ค.   จันทกินรี
       ง.   รามเกียรติ์
   44.  การแสดงละครของกรีกรุ่นแรกเป็นการแสดงแบบใด
       ก.   ตลกชวนหัว
       ข.   สุขนาฏกรรม
       ค.   โศกนาฏกรรม
       ง.   สุขนาฏกรรมและโศกนาฏกรรม
   45.  ละครสร้างสรรค์ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงเรื่องใด
       ก.   การจัดเวที
       ข.   การแต่งกาย
       ค.   การแสดงบทบาท
       ง.    การแสดงอารมณ์
46. ละครต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
       ก.   เรื่อง ตัวละคร ฉาก อุปกรณ์
       ข.   เรื่อง เนื้อหา ฉาก เครื่องแต่งกาย
       ค.   เรื่อง ฉาก เครื่องแต่งกาย บทเจรจา  
       ง.   เรื่อง เนื้อหาสรุป นิสัยตัวละคร บรรยากาศ
   47.  การแสดงบทบาทสมมติเป็นบุคคลในอาชีพต่างๆ จะต้องปฏิบัติอย่างไรจึงจะสามารถเลียนแบบได้เหมือนจริงที่สุด
       ก.   ศึกษาจากสภาพความเป็นจริง
       ข.   ศึกษาจากรูปภาพและการแต่งกาย
       ค.   สังเกตจากกิริยาท่าทางและการแนะนำตัว
       ง.   ทำความเข้าใจกับเอกลักษณ์เฉพาะของตัวละคร
   48.  ข้อใดกล่าวถึงการแสดงโขนได้ถูกต้องที่สุด
       ก.   ผู้แสดงโขนต้องสวมหัวโขนทั้งหมด
       ข.   การแสดงโขนผู้แสดงจะต้องร้องและเจรจาเอง
       ค.   เราสามารถทราบถึงตัวละครต่างๆ ได้จากการสังเกต      หัวโขน  
       ง.   โขนนิยมนำเรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา และพระอภัยมณี     มาแสดง
   49.  โขนฉาก มีวิธีการเล่นและแสดงแบ่งเป็นฉาก เป็นตอนเหมือนกับละครชนิดใด
       ก.   ละครใน                  ข.  ละครนอก
       ค.   ละครชาตรี              ง.   ละครดึกดำบรรพ์
50.  จากการสันนิษฐาน ละครเรื่องแรกที่นำมาใช้ในการแสดง คือเรื่องใด
       ก.   ฉุยฉาย                  ข.  มโนราห์
       ค.   รามเกียรติ์               ง.   แก้วหน้าม้า
51. ตีบทแตก ในการแสดงละครหมายถึงอะไร
       ก.   การแสดงเกินความเป็นจริง
       ข.   การแสดงความเป็นตัวของตัวเอง
       ค.   การแสดงร่วมกับตัวละครอื่นๆ ในเรื่องได้ผลดี
       ง.   การแสดงตามบทบาท สามารถทำให้คนดูคล้อยตามได้
   52.  ละครเรื่อง เปาปุ้นจิ้น นักเรียนควรเอาแบบอย่างในเรื่องใด
       ก.   การให้อภัย
       ข.   ความเสียสละ
       ค.   ความยุติธรรม
       ง.   ความเห็นแก่ตัว
   53ในบทละครทั่วไป ตอนจบของเรื่องมักจะเป็นอย่างไร
       ก.   พระเอกตาย
       ข.   นางเอกตาย
       ค.   นางเอกและพระเอกแต่งงานกัน
       ง.   นางเอกหรือพระเอกแต่งงานกับตัวร้าย
   54.  ข้อใดไม่ใช่องค์ประกอบในการแสดง
       ก.   สังคม
       ข.   อารมณ์
       ค.   ความเชื่อ
       ง.   จินตนาการ
   55.  ใครใช้จินตนาการในการแสดงออกซึ่งความคิดโดยผ่านการแสดงละครได้อย่างเหมาะสม
       ก.   แต้วทำท่าล้อเลียนเพื่อให้เกิดความอับอาย
       ข.   ติ๊กแสดงท่าทางมั่นใจตลอดเวลาแม้ไม่มีใครมอง
       ค.   น้ำเชื่อมยืนเอามือไพล่หลังเวลาพูดเพื่อไม่ให้ดูเกะกะ
       ง.   พอลล่าเล่าเหตุการณ์ตื่นเต้นที่ตนประสบมาให้เพื่อนๆ   ในห้องฟัง พร้อมกับแสดงท่าทางประกอบเพื่อให้
            เห็นภาพ
56. ถ้าต้องการปรับเปลี่ยนการแสดงควรให้ใครแนะนำ
       ก.   ผู้กำกับเวที             ข.  ผู้เขียนบทละคร
       ค.   ผู้กำกับการแสดง      ง.   ผู้ชมการแสดงทุกคน
   57.  บทละครประเภทใดที่เปิดโอกาสให้ผู้ชมร่วมแสดง    ความคิดเห็น
       ก.   บทละครเพื่อการศึกษา
       ข.   บทละครที่เด็กมีส่วนร่วม
       ค.   บทละครที่เป็นแบบฉบับ
       ง.   บทละครจากการรวบรวมข้อมูลและเทคนิคละครสด
   58.  ผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับนักแสดง ไม่ควรมีคุณสมบัติอย่างไร
       ก.   ความเห็นแก่ตัว
       ข.   ความสามารถเฉพาะตัว
       ค.   ความรับผิดชอบต่อหน้าที่  
       ง.   ความสวยงามของหน้าตาและน้ำเสียง
   59.  เพลงประกอบละครมีความสำคัญในด้านใด
       ก.   ทำให้เห็นภาพชัดเจน
       ข.   เป็นแนวคิดสำคัญของเรื่อง
       ค.   กำหนดอารมณ์ของตัวละคร
       ง.   ทำให้ผู้ชมมีความรู้สึกคล้อยตาม
60.  เอกลักษณ์ของสุนทรียภาพในการชมละครเวทีคืออะไร
       ก.   ความรับผิดชอบต่อหน้าที่
       ข.   ได้รับรู้ถึงความงามที่เกิดจากการชมการเคลื่อนไหว
       ค.   ผู้ชมละครเวทีมีความรู้สึกร่วมกัน และส่งผลต่อการแสดงในรอบนั้นๆ   
       ง.   ผู้ชมได้รับความบันเทิงจากการชมการแสดงสดๆและมีส่วนร่วมในการแสดงนั้นๆ


ข้อเขียน

1.หลักและวิธีการฝึกหัดนาฏศิลป์ มีอะไรบ้าง จงอธิบาย

2.ภาษาท่าที่ใช้สื่อความหมายแทนคำพูดมีอะไรบ้าง จงอธิบาย

3.การเคลื่อนไหวท่าททางตามแบบนาฏศิลป์ คือ อะไร

4.การตีบทมีความสำคัญต่อการแสดงนาฏศิลป์อย่างไร

5.ละครเป็นสื่อที่ช่วยสะท้อนสภาพสังคมได้จริงหรือไม่ อย่างไร

6.นักเรียนคิดว่าสิ่งใดเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงของละครไทยและละครพื้นบ้าน จงอธิบายพร้อมยกตัวอย่าง 1ปัจจัย

7.ให้นักเรียนบอกความหมายของละคร

8.คำว่านาฏศิลป์ มีความหมายว่าอย่างไร

9.นาฏศิลป์ มีที่มาจากแหล่งใด

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)