ประเภทของวงดนตรีสากล

1. วงแชมเบอร์
 ลักษณะการประสมวงแชมเบอร์มิวสิก จำแนกตามจำนวนนักดนตรี และเครื่องดนตรี ที่ใช้ประสมวงมีชื่อเรียกวง ดังนี้
  1.1 วงดูโอ หรือ ดูเอ็ด  แปลว่า สอง มีผู้บรรเลง 2 คน ประกอบด้วยเครื่องสายหรือเครื่องลม 1 ชิ้น กับเปียโน หรือจะใช้เครื่องสายหรือเครื่องลม 2 ชิ้นก็ได้
  1.2 วงทรีโอ แปลว่า สาม มีผู้บรรเลง 3 คน ประสมวงสามแบบ
      - วงเปียโนทริโอ ประสมวงด้วย ไวโอลีน เชลโล่ และเปียโน อย่างละ 1 ตัว
      - วงสตริงทริโอ ประสมวงด้วย ไวโอลีน  วิโอลา  และเชลโล  อย่างละ 1 ตัว
      - วงวูดวินทรีโอ ประสมวงด้วยเครื่องลม 2 ตัว กับเปียโน หรือใช้เครื่องลมประสมกบไวโอลีน  และเปียโน
  1.3 วงควอเต็ต แปลว่า สี่ มีผู้บรรเลง 4 คน ประสม 3 แบบ คือ
     - วงสตริงควอเต็ต ประสมวงด้วยไวโอลีน 2 คัน วิโอลาและเชลโลอย่างละ 1 คัน
     - วงเปียโนควอเต็ต ประสมวงด้วยไวโอลีน วิโอลา และเชลโล อย่างละ 1 คัน กับเปียโน 1 หลัง
     - วงวินด์ควอเต็ต ประสมวงด้วย ฟลูต  โอโบ  คลาริเน็ต และบาสซูน อย่างละ 1 ตัว
  1.4 วงควินเต็ต  แปลว่า ห้า มีผู้บรรเลง 5 คน ประสมวงได้ 5 แบบ
     - นำวงสตริงควอเต็ตมาเพิ่มวิโอลา หรือเชลโล เพื่อเล่นแนวที่ 2 อีก 1 คันแต่ยังเรียกว่า วงสตริงควอเต็ต
     - วงสตริงควอเต็ตมาเพิ่มเปียโน 1 หลัง เรียกชื่อใหม่ว่า วงเปียโนควินเต็ต
     - นำวงสตริงควอเต็ตมาเพิ่มเครื่องลมอีก 1 ชิ้น เรียกชื่อวงขึ้นต้นด้วยชื่อของเครื่องดนตรีที่นำมาประสม
     - นำฟลูต โอโบ คลาริเน็ต ฮอร์น และบาสซูน ประสมวงกันเรียกชื่อว่า วงวูดวินควินเต็ต
     - นำทรัมเป็ต 2 ตัว ประสมวงกับเฟรนซ์ฮอร์น ทรอมโบน และทูบา อย่างละ 1 ตัว เรียกว่า วงบราสควินเต็ต
  1.5 วงแชมเบอร์มิวสิก  อาจใช้จำนวนเครื่องดนตรีมากกว่านี้ก็ได้ ซึ่งการเรียกชื่อของวงก็จะเปลี่ยนไปตามจำนวนเครื่องดนตรี ดังนี้
     - ถ้าใช้เครื่องดนตรี 6 ชิ้น เรียกว่า วงเซกเต็ต
     - ถ้าใช้เครื่องดนตรี 7 ชิ้น เรียกว่า วงเซพเต็ต
     - ถ้าใช้เครื่องดนตรี 8 ชิ้น เรียกว่า วงออคเต็ต
     - ถ้าใช้เครื่องดนตรี 9 ชิ้น เรียกว่า วงโนเน็ท



2. วงออร์เคสตรา (The Orchestra) เป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ หรือเรียกว่า  วงดุริยางค์ และ มหาดุริยางค์ ตามขนาดของวง แต่คนไทยมักนำเอาคำว่าดุริยางค์ไปเรียก วงดนตรีของกองทัพ ด้วยความเข้าใจสับสน ซึ่งดนตรีของกองทัพต้องเรียกว่า  วงโยธวาทิต จึงจะถูกต้อง เพราะเป็นวงดนตรีประกอบการเดินแถวตามแบบฉบับของทหาร  วงดุริยางค์เป็นวงดนตรีที่นำเอาเครื่องดนตรีทุกประเภทมาประสมวงกันอย่างสมดุล โดยเครื่องดนตรีที่ใช้มากที่สุด ได้แก่ เครื่องสายประเภทเครื่องสี เครื่องดนตรีทุกชนิดมีความสำคัญเท่ากันทำให้เสียงบรรเลงเกิดสีสันครบถ้วน และมีไดนามิกหรือความหนาแน่นของเสียงอย่างหลากหลาย จัดขนาดวง ได้ 3 ขนาด คือ
 2.1 วงดุริยางค์ซิมโฟนี่ (Symphony Orchestra) เป็นวงดุริยางค์ขนาดใหญ่มากที่จัดขึ้นสำหรับบรรเลงสังคีตนิพนธ์ที่มีความยาวและมีแบบแผนซับซ้อน โดยใช้อัตรากำลังและเครื่องดนตรีทั้งสิ้น 60-100ชิ้น

 2.2 วงดุริยางค์สำหรับบรรเลงเพลงป๊อปปูลาร์หรือเพลงเต้นรำ (Small Orchestra) ใช้เครื่องดนตรีประมาณ 12 - 24 ชิ้น

 2.3 วงดุริยางค์สำหรับประกอบโอเปรา (Orchestra for Opera) ใช้เครื่องดนตรีจาก 4 ประเภท เหมือนกับวงดุริยางค์ซิมโฟนี ได้แก่ เครื่องสาย  เครื่องเป่าลมไม้   เครื่องเป่าลมทองเหลือง  และ เครื่องกระทบ แต่จะมีขนาดเล็กกว่า มีนักดนตรีประมาณ 60 คน เนื่องจากที่นั่ง สำหรับนักดนตรีซึ่งจัดไว้ด้านหน้าเวทีโอเปรามีจำนวนจำกัด

    เนื่องจากวงออร์เคสตราเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่และมีสมชิกจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมี บุคคล ทำหน้าที่ควบคุมวงอยู่บนแท่นเตี้ยๆ หน้าวง  เรียก บุคคลนั้นว่า   คอนดักเตอร์ (Conductor) หรือ ผู้อำนวยเพลง หรือเรียกเป็นคำศัพท์สังคีตว่า  วาทยากร    มีหน้าที่ควบคุมการบรรเลงให้เป็นไปอย่างถูกต้อง แต่ไม่ใช่หัวหน้าวง




3. วงเครื่องสาย (String Band)
    วงดนตรีในลักษณะนี้ มีเครื่องดนตรี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ เครื่องดนตรีที่ใช้ดีด ได้แก่ กีตาร์ แบนโจ แมนโดลีน  เบส  และเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่นำเอาเครื่องตีหลายๆชิ้นมารวมเป็นชุด เรียกว่า  กลองชุด หรือกลองแจ๊ส  วงดนตรีชนิดนี้ใช้ผู้บรรเลงไม่มากนัก และไม่เปลืองพื้นที่



4. แตรวง (Brass Band)
    วงดนตรีประเภทนี้มีเครื่องดนตรีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เครื่องเป่าลมทองเหลือง เครื่องเป่าลมไม้ และเครื่องดนตรีประเภทตี
    เครื่องเป่าลมทองเหลือง ได้แก่  ทรัมเป็ท  ทรอมโบน  และทูบา
    เครื่องเป่าลมไม้  ได้แก่ แซ็กโซโฟน และคลาริเน็ต
   เครื่องดนตรีประเภทตี  ได้แก่ กลองใหญ่  กลองสแนร์   ฉาบ และไซโลโฟน
    วงดนตรีในลักษณะนี้เหมาะสำหรับการเดินขบวน เช่น การเดินสวนสนามของตำรวจ ทหาร และในประเทศไทยนำไปบรรเลงในงานบุญ เป็นต้น สร้างบรรยายกาศให้สดใส เกิดความฮึกเหิม  กล้าหาญ  ผู้ตีกลองใหญ่จะต้องรักษาจังหวะให้สม่ำเสมอ



5. วงโยธวาทิต  (Military  Band)
    วงโยธวาทิต มีลักษณะคล้ายกับแตรวง เหมาะสำหรับการบรรเลงกลางแจ้ง  วงดนตรีประเภทนี้มีเครื่องดนตรีอยู่ 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ เครื่องเป่าลมทองเหลือง  เครื่องเป่าลมไม้  ได้แก่ ฟลูต   คลาริเน็ต  โอโบ  บาสซูน  และเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี
   วงโยธวาทิตจะมีคนนำหน้า (Drum Major) คอยกำกับจังหวะ และให้สัญญาณต่างๆ

5. วงคอมโบ (Combo Band) เป็นวงขนาดเล็ก ประสมตามความเหมาะสม ใช้สำหรับแสดงในพื้นที่แคบๆ เครื่องดนตรีที่นิยมใช้ประสมวงได้แก่  ทรัมเป็ต แซกโซโฟน เปียโน ดับเบิ้ลเบส หรือกีตาร์ เบสไฟฟ้า กลองชุด และเครื่องกระทบทำจังหวะอื่นๆ เช่น กลอง ฉิ่ง หรือ แทมบูริน กลองบองโก้ กลองทอมบา เป็นต้น  และอาจเติมทรอมโบน กีตาร์ไฟฟ้าเล่นคอร์ด หรือจะใช้คีย์บอร์ดไฟฟ้าแทนเปียโนก็ได้
     วงคอมโบนิยมใช้บรรเลงเพลงป๊อบปูลาร์ทั้งเพลงบรรเลง และเพลงขับร้องเพื่อการฟัง  และเพื่อประกอบการเต้นรำ

 6. วงสตริงคอมโบ (String Combo)  เป็นวงลักษณะเดียวกันกับวงชาร์โดแต่เพื่อหลีกเลี่ยงการเรียกชื่อทับกับชื่อวงของคณะชาร์โดว์ จึงเลี่ยงมาเรียกชนิดของวงว่า  วงสตริงคอมโบ เพราะใช้เครื่องสาย 3 ชนิดประสมวง คือ กีตาร์ไฟฟ้าสำหรับเล่นทำนองหลักและเล่นสอดประสาน กีตาร์ไฟฟ้าสำหรับเล่นคอร์ดประสานใรแนวดิ่ง และกีตาร์เบสไฟฟ้าสำหรับเล่นลักษณะจังหวะและการประสานเสียงเบส






WINKWHITE

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)