องค์ประกอบ แลพประเภทของดนตรีสากล

        1. องค์ประกอบของดนตรีสากล
            องค์ประกอบที่สำคัญในการศึกษาดนตรีสากล มีดังนี้
            1. จังหวะ (Time or Rhythm)   จังหวะ คือ การเคลื่อนไหวที่กระทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำำำำำำำเสมอ สามารถสังเกตได้คล้ายกับการเต้นของหัวใจ  จังหวะของเพลงจะดำเนินอยู่เรื่อยไปไม่มีการหยุด  ในทางดนตรีสากลอาจ หมายถึง จังหวะเ้นในแต่ละเพลง ซึ้งนิยมแบ่งกว้างๆ ได้  แบบ คือ เพลง 2 จังหวะ เพลง 3 จังหวะ  และเพลง 4 จังหวะ

              2. ทำนอง (Melody)  ทำนอง คือ การนำเอาระดับเสียงสูง - ต่ำ ทางดนตรี และความสั้น - ยาวของเสียงเหล่านั้นมาร้อยเรียงให้เกิดความไพเราะตามหลักการทางดนตรี  อาจจำแนกทำนองได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ทำนองที่แสดงออกถึงความร่าเริง  สดใสและทำนองที่ถ่ายทอดความรู้สึกที่ซึมเศร้า สิ่งที่ทำให้ได้ผลแตกต่างกันเช่นนี้  เนื่องจากการเลือกที่แตกต่างกันนั่นเอง


                 3. เสียงประสาน  (Harmony)  เสียงประสาน คือ เสียงตั้งแต่  2 เสียงขึ้นไป เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน  และมีความกลมกลืนกันในแนวตั้งหรือแนวดิ่ง  เสียงประสานเปรียบเสมือนพื้นหลังของภาพ เป็นส่วนประกอบที่เน้นให้จังหวะ และทำนองให้มีความโดเด่นขึ้นในบางขณะเสียงประสานจะทำหน้าที่บีบคั้นและผ่อนคลายความรู้สึกของผู้ฟังเพลงด้วย



          2. การแบ่งประเภทของดนตรีตามหลักสากล
              ดนตรีที่ขับร้อง และบรรเลงอยู่ในปัจจุบันสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ ดังนี้
              1.ดนตรีพื้นเมือง หรือดนตรีพื้นบ้าน (Folk  Music)   
                 ดนตรีพื้นเมืองหรือดนตรีพื้นบ้าน  มีลักษณะเป็นของท้องถิ่นนั้นๆ เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสิ่งนี้เป็นเครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ที่ทำให้เราได้ทราบว่า ดนตรีพื้นบ้านที่ได้ยินได้ชมเป็นดนตรีของทิ้งถิ่นใด หรือชนเผ่าใด ภาษาใด


               2. ดนตรีแบบฉบับ (Classical  Music)  
                   ดนตรีแบบฉบับ เป็นดนตรีของชนชาติใดก็ตามที่ได้รับการพัฒนามาจนเป็นดนตรีชั้นสูงเป็นดนตรีที่มีความโดเด่นถึงขั้นเป็นแบบฉบับของชนชาตินั้นได้ ได้แก่ ดนตรีไทย ซึ่งเดิมเป็นดนตรีพื้นเมืองของภาคกลางที่ได้รับการพัฒนา  และนำไปเล่นในราชสำนัก  ต่อมาได้รับการปรับปรุงจากครูดนตรีหลายท่าน  จนเป็นทีี่ยอมรับว่าเป็นดนตรีชั้นสูง   มีความไพเราะ  ดนตรีประเภทนี้  นิยมเรียกทับศัพท์ว่า  ดนตรีคลาสสิก
              อาจารย์สุกรีื  เจริญสุข ได้อธิบายความหมายของดนตรีคลาสสิก ไว้ว่า  ดนตรีคลาสสิก หมายถึง ดนตรีที่มีความงาม  ความไพเราะในเรื่องของเสียง  โดยที่ผู้ประพันธ์เพลงได้ประพันธ์ขึ้นอย่างวิจิตรพิสดาร  มุ่งเน้นในเรื่องความไพเราะ  มีคุณค่าในความงามของศิลปะ  บรรเลงโดยนักดนตรีที่มีความสามารถที่ผ่านการฝึกมาโดยเฮพาะ  และมีความสามารถสูงพอที่จะถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของเพลงออกสู่ผู้ฟังได้  สำหรับผู้ฟังนั้นต้องอาศัยสมาธิ หรือความตั้งใจที่จะฟัง


             3. ดนตรีสมัยนิยม หรือดนตรีชนนิยม  (Popular  Music)
                ดนตรีสมัยนิยมหรือดนตรีชนนิยม  เป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมจากประชาชนทั่วไป  เช่น ดนตรีไทยสากล  เพลงลูกทุ่ง เพลงลูกกรุง  วงดนตรีทั้งหลายในปัจจุบัน เป็นต้น  ดนตรีประเภทนี้จะมีเพลงซึ่งได้รับความรับอยู่ระยะเวลาหนึ่ง  จากนั้นเพลงดังกล่าวก็จะเสื่อมความนิยมลงแล้วก็จะมีเพลงใหม่ๆ ที่ได้รับความนิยมเข้ามาแทนที่  บทเพลงของดนตรีสมัยนิยมถูกสร้างขึ้นด้วยวิธีที่ต่างกัน

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล