เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล

  เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีเป็นหัวใจของการสื่อสารในภาษาดนตรี เปรียบได้กับภาษาเขียนที่ใช้ตัวอักษารเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ในที่นี้จะกล่าวถึงการบันทึกโน้ตในระะบปัจจุบันเท่านั้น รวมถึงการใช้สัญลักษณ์ซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับกันโดยทั่วไปในระดับสากล ได้แก่ เครื่องหมายกำหนดจังหวะ เครื่องหมายกำหนดบันไดเสียง และขั้นคู่เสียง
 
      1. เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time signature)
      เครื่องหมายชนิดนนี้บางตำราเรียกว่า "เครื่องหมายประจำจังหวะ" หรือ "มีเตอร์" (Meter) ซึ่งทุกชื่อล้วนสื่อความหมายเดียวกัน มักเป็นเครื่องหมายตัวเลข 2 ตัว วางซ้อนกันคล้ายเลขเศษส่วน ใช้บันทึกไว้หลังเครื่องหมายกุญแจประจำหลัก  เฉพาะที่ห้องแรกของบทเพลงที่จะใช้เครื่องหมายนี้กำกับ  เครื่องหมายนี้เป็นตัวกำหนดจำนวนจังหวะเคาะ หรือ บีตส์ (Beats) ที่จะต้องรวมกลุ่มกันอยู่ในแต่ละห้อง (Bar  หรือ  Measure) ของบทเพลง และยังช่วยสื่อการลงจังหวะ หนัก - เบาในห้องเพลงนั้นๆ อีกด้วย
   
         2. บันไดเสียง (Scale)
         คำว่า บันไดเสียง แปลว่า Scale  ซึ่งมาจากภาษาอิตาเลียนว่า "Scala"  แปลว่า ขั้นบันได ตำราภาษาไทยบางตำราเรียกว่า  มาตราเสียง บางตำราใช้ทับศัพท์ว่า สเกลเสียง เพื่อป้องกันความสับสนกับคำว่า  กุญแจ  (Key) ซึ่งบางตำราก็แปลว่า บันไดเสียง  เช่นเดียวกัน
      บันไดเสียง  คือ เสียงดนตรีที่เรียงไว้ตามลำดับจากเสียงต่ำไปหาเสียงสูง  หรือจากเสียงสูงลงมาหาเสียงต่ำ ระยะความห่างของเสียงแต่ละลำดับขั้นบันไดเสียงแต่ละชุดจะห่างกันครึ่งเสียงหรือห่างกันเต็มเสียงคละกัน  ทั้งนี้ จะขึ้นอยู่กับลักษณะวิธีการเรียงเสียงของบันไดเสียงแต่ละประเภทที่กำหนดไว้ ซึ่งบันไดเสียงมีประโยชน์ดังต่อไปนี้
        2.1 ใช้เป็นพื้นฐานใรนการฝึกหัดเครื่องดนตรีและการร้องเพลง   ตามแบบบันไดเสียงชนิดต่างๆ ซึ่งจะทำให้ผู้ฝึกปฏิบัติเข้าใจเรื่องระดับเสียงของเสียงดนตรีได้รวดเร็วขึ้น  เล่นเครื่องดนตรีหรือร้องเพลงเป็นเร้ว และมีความไพเราะมากยิ่งขึ้น
        2.2 ใช้เป็นพื้นฐานในการสร้างคอร์ด (Chord) ต่างๆ     คอร์ดหมายถึง กลุ่มเสียงดนตรีระดับเสียงต่างๆ ตั้งแต่  3 เสียงขึ้นไป ที่เปล่งออกมาพร้อมๆกัน  ซึ่งมีทั้งที่กลมกลืนและไม่กลมกลืนกัน  คอร์ดจะัทำให้เสียงดนตรีนำ หรือแนวทำนอง หรือเสียงร้องเพลงมีความไพเราะน่าฟังมากยิ่งขึ้น
      2.3 ใช้เป็นพื้นฐานในการแต่งเพลงตามแนวสากล
      บันไดเสียงสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังต่อไปนี้
          2.3.1 บันไดเสียงโครมาติก (Chromatic  Scale)  เป็นบันไดเสียงที่มีระดับขั้นของเสียงห่างกันครึ่งเสียงเรียงลำดับไปทุกขั้น  มีเสียงเรียงกัน 13 ขั้น เป็น 1 ชุด

           2.3.2 บันไดเสียงไดอะทอนิก  (Diatonic Scale)  เป็นบันไดเสียงที่มีระดับขั้นของเสียงห่างกันเต็มเสียงและครึ่งเสียงคละกันอย่างเป็นระบบ มีเสียงเรียงกัน 8 ขั้น เป็น 1 ชุด และแบ่งออกเป็น 2 หมวด คือ
               2.3.2.1 บันไดเสียงไดอะทอนิก หมวดเมเจอร์ (Diatomic Major Scale)  เรียกย่อๆว่า  บันไดเสียงเมเจอร์  (Major  Scale) มีระดับขั้นของเสียงห่างกัน คือ 1 - 2, 2 - 3 , 4 - 5, 5 - 6 , 6 - 7 ห่างกัน 1เสียงเต็ม (Tone) เสียงขั้นที่ 3 - 4 และ 7 - 8 ห่างกันครึ่งเสียง (Semitone) ทั้งขาขึ้นและขาลง 



                  2.3.2.2 บันไดเสียงไดอะทอนิก หมวดไมเนอร์ (Diatonic Minor Scale )  เรียกย่อๆว่า บันไดเสียงไมเนอร์ (Minor Scale) สามารถแบ่งออกเป็น 2 แบบ ดังนี้
                        1) บันไดเสียงฮาร์มอนิกไมเนอร์  (Hamonic  Minor Scale) มีระดับขั้นของเสียงห่างกันดังต่อไปนี้ คือ เสียงขั้นที่ 1 -2 , 3- 4 , 4 - 5 ห่างกันเต็มเสียง  เสียงขั้นที่ 2 - 3, 5 - 6 , 7 - 8 ห่างกันครึ่งเสียง เสียงขั้นที่ 6 - 7 ห่างกันหนึ่งเสียงครึ่งทั้งขาขึ้นและขาลง 


                      2) บันไดเสียงเมโลติกไมเนอร์ (Melodic Minor Scale ) มีระดับขั้นของเสียงห่างกัน คือ ขาขึ้นเสียงขั้นที่ 1 - 2 , 3 - 4 , 4 - 5 , 5 - 6 , 6 - 7 ห่างกันเต็มเสียง  เสียงขั้นที่ 2 - 3 , 7 - 8 ห่างกันครึ่งเสียง  ขาลงเสียงขั้นที่ 8 - 7 , 7 - 6,  5 - 4 , 4 - 3 , 2 - 1 , ห่างกันเต็มเสียง  เสียงขั้นที่ 6 - 5 , 3 - 2 ห่างกันครึ่งเสียง


          3. ขั้นคู่เสียง
          คำว่า ขั้นคู่เสียง  นี้ เรียกตามตำราวิชาดนตรีแบบดั้งเดิม  ถ้าจะเรียกให้สื่อความหมายให้ชัดเจนควรเรียกว่า ระยะระหว่างเสียง  เพราะสาระของคำว่า  อินเทอร์เวิล (Intervals)  นี้ หมายถึง  ระยะทาง  (Distance) หรือระยะห่างระหว่างระดับเสียงคู่หนึ่ง  ซึ่งนับหน่วยเป็นเซมิโทน  (Semitone) หรือครึ่งเสียงที่นำมาใช้ร่วมกัน  ซึ่งอาจใช้บรรเลงพร้อมกันเพื่อประสานเสียงในแนวตั้ง
               3.1 วิธีการเรียกขั้นคู่เสียง   การเรียกชื่อขั้นคู่เสียงสามารถเรียกได้ 2 ลักษณะ คือ เรียกชื่อเป็นตัวเลข (Numberical Names) และเรียกชื่อบอกคุณภาพเสียง (Qualitying  Names) 
                  1) เรียกชื่อเป็นตัวเลข (Numberical Names) ให้เริ่มนับจากเส้นหรือช่องที่โน้ตตัวแรกอยู่ แล้วนับต่อไปจนถึงเส้น หรือช่องที่โน้ตตัวที่ 2 อยู่ จะได้ชื่อนั้นเป็นจำนวนตัวเลข เช่น เมื่อใช้เสียง C เป็นหลัก และใช้เสียงอื่นในอนุกรมของระดับเสียงในบันไดเสียงซี เมเจอร์ (C Major) มาเป็นเสียงที่ 2 ก็จะได้ขั้นคู่เสียงที่มีชื่อเฉพาะเป็นตัวเลข 

               2) เรียกชื่อบอกคุณภาพเสียง ฺ  (Qualifying  Names) คู่เสียงหมายเลขต่างๆล้วนมีคุณภาพเสียงที่มีความแตกต่างกันออกไปและมีชื่อเรียกเฉพาะ  ดังต่อไปนี้
ขั้นคู่เสียง
1
2
3
4
5
6
7
8
ชื่อบอก
คุณภาพ
Perfect
Major
Major
Perfect
Perfect
Major
Major
Perfect
ระยะห่างเป็นครึ่งเสียง
0
2
4
5
7
9
11
12
    ทั้งนี้ การเรียกชื่อขั้นคู่เสียงต้องเรียกพร้อมกันทั้ง 2 ชื่อเสมอ ทั้งชื่อที่เป็นจำนวนเลขและชื่อคุณภาพเสียง เช่น

ขั้นคู่เสียง
ระยะห่าง
ชื่อเรียก
C – C
ระดับเดียวกัน
คู่ 1 ยูนิซั่น
C – D
2 โน้ต
คู่ 2 เมเจอร์
C – E
3 โน้ต
คู่ 3 เมเจอร์
C – F
4 โน้ต
คู่ 4 เพอร์เฟกต์
C – G
5 โน้ต
คู่ 5 เพอร์เฟกต์
C – A
6 โน้ต
คู่ 6 เมเจอร์
C – B
7 โน้ต
คู่ 7 เมเจอร์
C - C
8 โน้ต
คู่ 8 เพอร์เฟกต์


             3.2 คุณภาพเสียง   ขั้นคู่เสียงแต่ละชื่อให้คุณภาพเสียงที่แตกต่างกัน  ซึ่งคุณภาพของคู่เสียงมีส่วนสำคัญในการถ่ายทอดอารมณ์เพลง  ดดยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
                 1) คู่เสียงกลมกลืน (Consonance) เป็นคู่เสียงที่ให้ความรืื่นหูและไพเราะ น่าฟัง มีความเป็นอิสระ นำไปใช้กับคู่เสียงอื่่นได้ดี ได้แก่ ขั้นคู่ 1  ขั้นคู่ 8  ขั้นคู่ 4  ขั้นคู่ 5 ขั้นคู 3 และขั้นคู่ 6 ทั้งที่เป็นคู่เพอร์เฟกต์ (Perfect)  คู่เมเจอร์ (Major) และคู่ไมเนอร์ (Minor) 
                 2) คู่เสียงกระด้าง   (Dissonance)  เป็นขั้นคู่เสียงที่เสียงกระด้าง  ไม่ชวนฟัง  เมื่อฟังแล้วจะรู้สึกอึดอัด  ไม่สบายใจ  ขาดความไพเราะ  ได้แก่ ขั้นคู่ 2 ขั้นคู่ 7 ทุกชนิด และขั้นคู่ที่เป็นออกเมนเทด (Augmented) และ ดิมินิชต์ ( Diminished) ทั้งหมด 



          4. ทรัยแอด 
           ทรัยแอด คือ ขั้นคู่ 3 ที่สร้างซ้อนกัน 2 ครั้ง บนโน้ตที่เป็นบาน หรือโน้ตพื้นต้น (Root) ทรัยแอดจะประกอบด้วยเสียง 3 เสียง และจัดเป็นคอร์ดที่มีความซับซ้อนน้อยที่สุด  ทรัยแอดสามารถแบ่ง 4 ชนิด คือ
             4.1 เมเจอร์ทรัยแอด (Major Triad)  มีโครงสร้างดังต่อไปนี้



ขั้นที่ 1 - 3 เป็นขั้นคู่ 3 เมเจอร์  ( M3)
ขั้นคู่ 1 - 5 เป็นขั้นคู่ 5 เพอร์เฟกต์ (P5)






             4.2 ไมเนอร์ทรัยแอด  (Minor Triad)  มีโครงสร้างดังนี้

ขั้นที่ 1 - 3 เป็นขั้นคู่ไมเนอร์ (m3)
ขั้นที่ 1 - 5 เป็นขั้นคู่เพอร์เฟกต์ (P5)



                      

              4.3 ออกเมนเทดทรัยแอด  (Augmented  Triad)  มีโครงสร้า่งดังต่อไปนี้
                                                        
    ขั้นที่ 1 - 3 เป็นขั้นคู่ 3 เมเจอร์  (M3)
    ขั้นที่ 1 - 5 เป็นขั้นคู่ 5 ออกเมนเทด (A5)



                     4.4 ดิมินิชด์ทรัยแอด  (Diminished  Triad ) มีโครงสร้างดังต่อไปนี้
                                              
     
ขั้นที่ 1 - 3 เป็นขั้นคู่ 3 ไมเนอร์ (m3)
ขั้นที่ 1 - 5 เป็นขั้นคู่ 5 ดิมินิชด์  (D5)







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล