การศึกษาค้นคว้า IS

              การศึกษาค้นคว้า  หมายถึง  การหาข้อมูลความรู้เพิ่มเติมเพื่อหาคำตอบจากปัญหาใดปัญหาหนึ่ง  โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้รับความรู้ในเรื่องนั้นๆ  การศึกษาค้นคว้าจึงเป็นการเเสวงหาความรู้เพื่อให้ได้รับคำตอบ  หรือเพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ในการเเก้ไขปัญหาหรือประกอบการตัดสินใจการศึกษาค้นคว้าจึงมีความสำคัญที่ช่วยให้นักเรียนมีความเข้าใจในเรื่องที่เรียนมากขึ้นเเละชัดเจนขึ้นจากการบันทึกเเละเผยเเพร่ไว้ในสื่อต่างๆ  เช่น  สื่อสิ่งพิมพ์สื่อโสตทัศนูปกรณ์  เเละสื่ออิเล็กทรอนิกส์  โดยใช้วิธีค้นหาในรูปแบบต่างๆ  ดังนี้

            1.การอ่าน เป็นวิธีการศึกษาค้นคว้าที่ใช้กันมากที่สุด  เพราะสามารถทำได้ทุกที่ทุกเวลาที่มีหนังสือหรือเคื่องคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อเคลือค่ายอินเทอร์เน็ตนักอ่านที่ดีจะต้องเข้าใจเนื้อหาได้มากที่สุดโดนใช้เวลาในการอ่านน้อยที่สุด
            2.การฟัง  เป็นทักษะสำคัญในการศึกษาเล่าเรียนของนักเรียนเเละนักศึกษา  รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจหาความรู้จากการฟัง  เช่น  การฟังคำบรรยายในชั้นเรียน  การฟังวิทยุเพื่อการศึกษา  การฟังการสัมมนา  การฟังเทศน์เเละการบรรยานธรรมมะ  เป็นต้น
            3.การดู  เป็นการศึกษาเรียนรู้อีกวิธีหนึ่งที่ทำให้ผู้ดูมีความรู้ในเรื่องที่ชอบเเละสนใจซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้  เช่น  การดูวิธีการปลูกต้นไม้  การดูสื่อวีดีทัศน์เกี่ยวกับการศึกษา
            4.การสอบถาม  เป็นการศึกษาเรียนรู้ด้วยการสอบถามจากผู้รู้  เป็นวิธีการเรียนรู้ที่ชาญฉลาดเพราะการสอบถามจากผู้รู้โดยตรงจะช่วยให้เข้าใจสิ่งที่อยากรู้ได้เเจ่มเเจ้งเเละชัดเจน
            5.การลงมือปฏิบัติจริง  เป็นการศึกษาเพื่อเรียนรู้จากการลงมือปฏิบัติจริง  เช่น  การปลูกพืช  การเลี้ยงสัตว์  การจัดสวน  การซ่อมเเซมของใช้ในบ้าน  การจำหน่ายสินค้า

              กระบวนการศึกษาค้นคว้า
           การเรียนรู้หรือกระบวนการศึกษาค้นคว้า เริ่มจากการศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตนสนใจ เพื่อให้ได้รับข้อมูล สารสนเทศและความรู้  เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถ การรู้วิธีค้นหาสารสนเทศ และความรู้จึงมีความสำคัญที่ช่วยให้เรามีความรู้กว้างขวางขึ้น ดังนั้นความรู้จึงมี   2 ลักษณะ  คือ  ความรู้ในเนื้อหาวิชานั้น ๆ กับความรู้ว่าจะค้นหาความรู้ได้จากที่ใด 
         ขั้นตอนการศึกษาค้นคว้า
           ในการศึกษาค้นคว้า มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
     1.เลือกเรื่อง หรือหัวข้อที่จะศึกษา
     2.สำรวจแหล่งสารสนเทศ  ค้นหาสารสนเทศ อ่านและบันทึกอย่างสังเขป
     3.วางโครงเรื่องขั้นตอน
     4. คัดเลือกแหล่งสารสนเทศ
     5. อ่านและจดบันทึก
     6. วางโครงเรื่องขั้นสุดท้าย
     7. เรียบเรียง
     8. จัดทำบรรณานุกรม
     9. จัดทำส่วนอื่นๆ
     10. ตรวจสอบความถูกต้อง
        

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล