หลักการปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย : ระนาดเอก

 ระนาดระนาดเอก เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี สันนิษฐานว่าแต่เดิมคงนำไม้ทำอย่างกรับหลายๆอันวางเรียงตีให้เกิดเสียงอย่างหยาบๆขึ้นก่อน แล้วคิดทำไม้รองเป็นรางวางเรียงไป ต่อมาจึงประดิษฐ์ดัดแปลงให้มีขนาดลดหลั่นกันวางบนรางเพื่อให้อุ้มเสียงได้ จากนั้นจึงใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่างๆนั้นให้ติดกันขึงแขวนไว้บนราง ใช้ไม้ตีเกิดเสียงกังวานไพเราะลดหลั่นกันตามต้องการ และใช้ขี้ผึ้งกับตะกั่วผสมกันติดหัวท้ายลูกระนาดเพื่อถ่วงเสียงให้ไพเราะยิ่งขึ้น ให้ชื่อว่า "ระนาด"

         ต่อมามีผู้คิดประดิษฐ์ระนาดอีกชนิดหนึ่งให้มีเสียงทุ้มฟังนุ่มไม่แกร่งกร้าวเหมือนอย่างเก่า จึงเรียกระนาดอย่างใหม่นั้นว่า "ระนาดทุ้ม" และเรียกระนาดอย่างเก่าว่า "ระนาดเอก" ระนาดเอกถ้าต้องการเสียงไพเราะนุ่มนวลมักนิยมทำด้วยไม้ไผ่บง ถ้าต้องการให้เสียงเกรียวกราวมักนิยมทำด้วยไม้แก่นเช่น ไม้มะค่า ไม้ชิงชัน ลูกระนาดมีจำนวน 21 ลูก ลูกต้น (อยู่ซ้ายมือของผู้ตี) ขนาดยาวประมาณ 39 ซม. กว้างประมาณ ซม.หนา 1.5 ซม. ลูกต่อมาก็ลดหลั่นกันลงไปจนถึงลูกที่ 21 หรือลูกยอด (ขวามือของผู้ตี) มีขนาดยาว 29 ซม. ลูกระนาดเหล่านั้นร้อยเชือกติดกันเป็นผืนแขวนบนรางซึ่งทำด้วยไม้เนื้อแข็งมีรูปร่างคล้ายลำเรือ ด้านหัวและท้ายโค้งขึ้นเพื่อให้อุ้มเสียงมีแผ่นไม้ปิดหัวและท้ายรางระนาดเรียกว่า"โขน" วัดจากโขนหัวรางข้างหนึ่งถึงโขนอีกข้างหนึ่งยาวประมาณ 120 ซม. มีฐานรูปทรง สี่เหลี่ยมรองตรงส่วนโค้งตรงกลางเรียกว่า "เท้า"
         ระนาดเอกใช้ไม้ตี คู่ ตอนที่ใช้มือถือเหลาเล็กเป็นก้านไม้กลม หัวไม้ตีทำเป็น ชนิด ชนิดหนึ่งทำด้วยวัสดุแข็งตอนปลายพอกด้วยผ้าชุบยางรักบรรเลงให้เสียงดังเกรียว กราว เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า "ปี่พาทย์ไม้แข็ง" ไม้ตีอีกชนิดหนึ่งคิดทำกันขึ้นในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจุล
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวฯทำด้วยวัสดุซึ่งนุ่มกว่า ใช้ผ้าพันแล้วถักด้าย สลับจนนุ่มบรรเลงให้เสียงนุ่มนวล เมื่อผสมเข้าวงเรียกว่า
 "ปี่พาทย์ไม้นวม" ผู้ตีนั่งหัน หน้าเข้าหาเครื่องดนตรีจับไม้ข้างละมือตีคู่แปดพร้อมกัน
         ระนาดเอกเป็นเครื่องดนตรีชิ้นนำของวงปี่พาทย์เพราะไม่ว่าจะเริ่มเล่นเพลงหรือ เปลี่ยนเพลงทั้งวงจะยึดแนวของระนาดเอกเป็นหลัก นอกจากนี้ระนาดเอกยังเป็นเครื่อง ดนตรีหลักในการผสมวงเช่น ปี่พาทย์เครื่องห้า ปี่พาทย์เครื่องคู่ ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ปี่พาทย์มอญ ปี่พาทย์นางหงส์ หรือแม้แต่ในวงมโหรีไม่ว่าจะเป็นมโหรีเครื่องเล็ก มโหรี เครื่องคู่ หรือ มโหรีเครื่องใหญ่ ต่างก็ใช้ระนาดเอกเป็นหลักทั้งสิ้น

ส่วนประกอบของระนาดเอก
         ลักษณะงานดนตรีหรืองานดุริยางคศิลป์นั้นเป็นงานสาขาหนึ่งในงานศิลปะบริสุทธิ์ จะเห็นได้ว่างานดนตรีกับงานศิลปะนั้นมีความสัมพันธ์และอาศัยซึ่งกันและกัน มีพื้นฐานในด้านความคิดที่สอดคล้องคล้ายคลึงกัน และกล่อมเกลาจิตใจคนให้มีความอ่อนโยนขึ้น
         ศิลปะที่เกี่ยวข้องกับดนตรีดูได้จากการออกแบบสร้างเครื่องดนตรี โดยทั่วไปนักดนตรีมักจะเลือกซื้อเครื่องดนตรีชิ้นที่ตนเองชอบ และเลือกเครื่องดนตรีที่มีเสียงดีไว้ก่อน เมื่อได้เครื่องดนตรีที่มีเสียงดีตามต้องการแล้วจึงจะดูลักษณะเครื่องดนตรีว่าสวยงามหรือไม่ รูปร่างหรือส่วนสัดของเครื่องดนตรีมีความสวยงามเหมาะสมเพียงใด ดังนั้นเครื่องดนตรีไทยทุกชนิดจะมีการประดับด้วยวัสดุที่งดงามและออกแบบลวดลายให้เกิดความสวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจจากผู้ซื้อ ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงงานศิลปะที่ปรากฏบนระนาดเอกไว้พอเป็นสังเขปดังนี้
ส่วนประกอบของระนาดเอกนั้นแบ่งเป็น ส่วน คือ
   
1. รางระนาดเอก
   2. 
ผืนระนาดเอก
   3. 
ไม้ตระนาดี
รางระนาดเอก
         รางระนาดเอกแบ่งเป็นส่วนประกอบย่อยๆดังนี้คือ
รางระนาดเอก
         ตัวรางทำด้วยไม้เนื้อแข็งเช่น ไม้สัก ไม้มะริด ไม้มะเกลือ ไม้ประดู่ เป็นต้น รูปร่างคล้ายเรือสมัยโบราณ คือตอนกลางป่องเป็นกระพุ้งเล็กน้อยเพื่อให้เสียงก้องกังวาน ตอนหัวและท้ายโค้งงอนขึ้นเรียกว่า "ฝาประกบมี แผ่น บนขอบรางด้านบนทั้งสองข้างของฝาประกบจะใช้หวายเส้นซึ่งมีผ้าพันโดยรอบ ติดเป็นแนวยาวไว้ตลอด เพื่อรองรับผืนระนาดขณะที่ลดลงจากตะขอเกี่ยว ป้องกันบริเวณใต้ท้องของผืนระนาดมิให้ถูกครูดเป็นรอยได้ง่าย ที่ขอบของฝาประกบด้านนอกจะเซาะร่องเดินเป็นคิ้วไว้เพื่อความสวยงาม นอกจากทาสีที่คิ้วขอบรางแล้ว ที่ไม้ฝาประกบยังเดินเส้นดำหรือขาวไปตามขอบคิ้วรางทั้งด้านล่างและด้านบนรวมไปถึงโขนระนาดด้วย บางรางเดินเส้นเดียวบางรางเดินคู่สองเส้นแล้วแต่รสนิยมของช่างผู้ประดิษฐ์ ต่อมาการสร้างรางระนาดได้มีการพัฒนาให้สวยงามขึ้นอีกโดยทำขอบคิ้ว ซึ่งประกอบด้วยงาช้างหรือตัวรางทั้งหมดแกะเป็นลวดลายต่างๆ บางทีก็ประดับลวดลายด้วยมุกหรือแกะลวดลายลงรักปิดทองเป็นต้น
โขนระนาด
      โขนระนาด          
         โขนระนาด เป็นไม้ แผ่นรูปทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ติดประกบไว้ที่หัวและท้ายของไม้ฝาประกบโดยเฉพาะด้านในตอนบนจะติด "ตะขอระนาดซึ่งทำด้วยโลหะโค้งงอ สำหรับสอดคล้องเชือกขึงผืนระนาดให้ลอยอยู่บนราง ด้านล่างของรางมีแผ่นไม้บางๆปิดไว้ยาวโดยตลอดเพื่อยึดฝาประกบและโขนให้ติดเข้าด้วยกันเรียกว่า "ไม้ปิดใต้ท้องระนาด" ทำให้อุ้มเสียงและระนาดมีเสียงดังกังวานมากขึ้น

เท้าระนาด
          เท้าระนาด     
         เท้าระนาด (บางทีเรียกฐานระนาด) ทำด้วยไม้หนามีลักษณะรูปทรงสี่เหลี่ยมคล้ายฐานของพานรอง ตรงกลางเป็นคอคอดส่วนตอนบนโค้งเว้าไปตามท้องราง เท้าระนาดยึดติดอยู่ที่กลางลำตัวของรางระนาดเพื่อให้หัวและท้ายของรางลอยตัวสูงขึ้น ฐานด้านล่างนิยมแกะสลักเป็น"ลายฐานแข้งสิงห์" ทั้ง ด้าน ที่ฝาไม้ประกบตอนบนและตอนล่างจะใช้ไม้ติดประกบโดยตลอดเรียกว่า "คิ้วขอบราง" นิยมทาสีขาวหรือดำเพื่อตัดกับสีของแล็คเกอร์ซึ่งทาไว้ที่ตัวรางระนาด

ผืนระนาด
ผืนระนาดเอก
         ผืนระนาด เดิมทำด้วยไม้ไผ่ตง(นักดนตรีเรียก ไผ่บง) นำมาตัดเหลาด้วยความประณีตเป็นลูกๆ มี 21 ลูก ขนาดลดหลั่นกันตามลำดับเรียกว่า " ผืนระนาด" ใช้แขวนที่ตะขอทั้ง บนโขนระนาด ใต้ลูกระนาดทั้ง 21 ลูกจะติดตะกั่วซึ่งทำด้วย ตะกั่วและขี้ผึ้งผสมกัน เพื่อถ่วงเสียงให้ได้เสียงสูง  เสียงต่ำตามต้องการโดยติดไว้ที่ใต้ลูกระนาดตรงด้านล่างของปลายลูกระนาดทั้งสองข้างๆละ 1 ก้อน จำนวนที่ติดจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับระดับเสียงที่ต้องการ ถ้าติดมากเสียงจะต่ำลง ถ้าติดน้อยเสียงจะสูงขึ้น ต่อมาภายหลังนิยมนำ ไม้ชิงชัน หรือ ไม้มะหาด มาเหลาเป็นผืนระนาดได้เสียงเล็ก แหลมกว่าผืนระนาดที่ทำด้วยไม้ไผ่ นอกจากนั้นในสมัยปัจจุบันได้เพิ่มลูกระนาดเอกให้มี 22 ลูก เพื่อให้บรรเลงกับวงปี่พาทย์มอญได้สะดวก แต่ในวงปี่พาทย์เสภาเดิมไม่นิยม เพิ่มลูกระนาดคงใช้เพียง 21 ลูกเท่านั้น
         
เมื่อเกิดวงมโหรีขึ้น เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ต้องย่อสัดส่วนให้เล็กลงกว่าเดิม เรียกรางชนิดนี้ว่า "รางระนาดมโหรี" ซึ่งมีส่วนประกอบเช่นเดียวกับรางระนาดเดิมทุก อย่างเพียงแต่มีขนาดเล็กกว่า

ไม้ตีระนาด
ไม้ตีระนาดเอก
ไม้นวม                                                      ไม้แข็ง
         ไม้ตีระนาดเอกทำด้วยไม้ไผ่เหลาเป็นท่อนกลมเล็กๆ อัน หัวไม้ตีทำด้วย ด้ายพันด้วยผ้าชุบรัก ลักษณะเป็นปื้นกลมเวลาตีมีเสียงดังแข็งกร้าวเรียกว่า "ไม้แข็ง" อีกแบบทำด้วยผ้าติดตะกั่วเล็กน้อยทาแป้งเปียกแล้วพันด้วยด้ายสีเส้นเล็กๆโดยรอบอย่างสวยงาม เวลาตีมีเสียงทุ้มนุ่มนวลเรียกว่า "ไม้นวม" ใช้ตีกับระนาดเอกในวงปี่พาทย์ไม้ นวมหรือวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

การฝึกระนาดเอกขั้นพื้นฐาน
การตีฉาก
          
มีวิธีตีระนาดเอกขั้นพื้นฐานที่สำคัญวิธีหนึ่งเรียกว่า "การตีเก็บ" เป็นวิธีตีซึ่งใช้อยู่เสมอในการบรรเลงระนาดเอก การตีเก็บคือการตีไม้ระนาดในมือทั้งสองข้างลงไปกระทบลูกระนาด ลูกพร้อมกัน โดยตีลงบนลูกระนาดซึ่งมีเสียงตัวโน้ตเดียวกันแต่อยู่ห่างกันคน ละระดับเสียง เช่น เสียง ซอล (ต่ำ) กับเสียง ซอล (สูง) และเนื่องจากตำแหน่งของคู่เสียงดังกล่าวอยู่ห่างกันแปดลูกจึงเรียกวิธีตีแบบนี้ว่า "ตีคู่แปด"
         
         การที่จะตีเก็บคู่แปดให้ได้เสียงระนาดเอกที่ไพเราะน่าฟังนั้นมีพื้นฐานสำคัญมาจากการฝึกตีระนาดที่เรียกกันว่า "ตีฉาก" คือการกำหนดรู้การใช้กำลังกล้ามเนื้อแขนเพื่อให้ได้เสียงระนาดที่ดังเท่ากันทั้งสองมือ ผู้ที่เรียนระนาดเอกทุกคนจะต้องฝึกการตีฉากเพื่อปรับน้ำหนักมือทั้งสองข้างให้เสมอกันเสียงระนาดเอกจึงจะคมชัดเจน
         
ลักษณะการตีฉากคือ มือทั้งสองข้างจับไม้ระนาดเอกในลักษณะการจับแบบปากกา ระยะห่างจากหัวไม้ประมาณ นิ้ว โดยใช้นิ้วกลาง,นิ้วนาง และ นิ้วก้อย จับก้านไม้ระนาดให้แน่น แขนและไม้ตีอยู่ในแนวเส้นตรงเดียวกัน วางหัวไม้ระนาดเอกไว้ตรงกลางของลูกระนาด จากนั้นยกไม้ตีระนาดขึ้นช้าๆให้สูงจากผืนระนาดประมาณ ฟุต แล้วตีหรือทุบลงบนลูกระนาดอย่างรวดเร็ว โดยการเกร็งกล้ามเนื้อแขนและข้อมือให้ไม้ตีและท่อนแขนอยู่ในแนวเดียวกัน หัวไม้ตีจะต้องสัมผัสลูกระนาดเต็มหน้าไม้และตั้งฉากกับผิวหน้าของลูกระนาด การตีฉากแต่ละครั้ง น้ำหนักของทั้งสองมือที่ตีลงไปต้องเท่ากัน เพื่อให้เสียงที่เกิดจากการตีมีคุณภาพ เสียงต้องโปร่งใส เวลาตีต้องใช้กำลังประคองไม้ระนาดในการยกขึ้นให้สูงเท่า
กัน และใช้น้ำหนักมือในการตีโดยให้หัวไม้ระนาดทั้งสองสัมผัสกับผิวลูกระนาดพร้อมกัน และรีบยกหัวไม้ระนาดขึ้นระดับสูงสุดทันทีโดยใช้ข้อศอกเป็นจุดหมุน ซึ่งจะทำให้ข้อมือและแขนไม่มีการขยับหรืองอและยังคงเป็นแนวเส้นตรงเดียวกัน

การตีสงมือหรือการตีสิม
          
คือการตีเก็บสองมือพร้อมกันโดยยกไม้ระนาดให้มีความสูง ใน ของการตีฉาก ให้เสียงลงเท่ากัน แล้วรีบยกมือขึ้นโดยเร็ว และต้องรู้จักการประคองน้ำหนักให้เหมาะสมการตีลักษณะนี้เหมาะกับการตีระนาดเอกมโหรี ซึ่งเป็นการประดิษฐ์เสียงระนาดให้มีความคมชัดไพเราะ ผู้ที่จะทำเสียงนี้ได้ต้องผ่านการฝึกการตีฉากมาแล้ว

การตีครึ่งข้อครึ่งแขน 
          
คือการตีโดยใช้กล้ามเนื้อแขนสลับกับกล้ามเนื้อข้อมือโดยการผ่อนแขนและข้อมือให้มีการเกร็งน้อยลง (เกร็งไหล่ ผ่อนแขน) ทำให้เกิดเสียงที่นุ่มนวล และยังเป็นพื้นฐานในการประดิษฐ์เสียงระนาดเอกแบบต่างๆอีกมากมาย

การตีสับ
          
คือการตีระนาดโดยการสลับมือตามแบบวิธีตีฆ้อง

การตีกรอ
          
การตีกรอเป็นวิธีตีระนาดเพื่อให้ได้พยางค์เสียงยาว ตามปกติเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีเช่น ระนาดเอกนั้น มีพยางค์เสียงสั้นเพราะเสียงที่ตีเกิดจากการกระทบกันของไม้ระนาดและลูกระนาดเป็นครั้งๆไป เมื่อจะบรรเลงเพลงที่ต้องการพยางค์เสียงยาวจึงต้องใช้ วิธีตีกรอคือการตีลูกระนาด ลูกสลับมือกันเร็วๆ ด้วยน้ำหนักมือทั้งสองข้างที่เท่ากันโดยให้มือซ้าย (เสียงต่ำ) ลงก่อนมือขวา แต่ทั้งสองมือไม่ได้ตีอยู่ที่เดียวกัน มักจะตีเป็นคู่ 2, 3, 4, 5, 6, หรือ เป็นต้น
          
วีธีฝึกควรเริ่มต้นจากการ กรอหยาบ ก่อน คือการตีมือซ้ายสลับมือขวาช้าๆ (ลงมือ ซ้ายก่อน) แล้วค่อยๆเร่งความเร็วขึ้นนจนสุดกำลังโดยรักษาความชัดเจนและน้ำหนักมือให้เท่ากัน ส่วนในการบรรเลงจริงจะใช้การกรอที่ละเอียดที่สุดทันทีไม่ต้องเริ่มจากการกรอหยาบก่อน

การตีเก็บ
          
คือการตีระนาดที่เพิ่มเสียงสอดแทรกให้มีทำนองถี่ขึ้นมากกว่าเนื้อเพลงธรรมดา ซึ่งถ้าเขียนเป็นโน้ตสากลตัวเขบ็ต ชั้นในจังหวะ 2/4 ก็จะเป็นจังหวะละ ตัว ห้องละ ตัว
          
การบรรเลงทางเก็บในเพลงที่เป็น ทางเดี่ยว จะมีความพลิกแพลงโลดโผนกว่าการตีเก็บแบบธรรมดาแต่ก็เรียกว่า "ทางเก็บ" เช่นเดียวกัน| หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ทางพัน"

การตีทดมือ,ทดเสียง
          
คือการบรรเลงแบบเสี้ยวมือ เมื่อต้องการให้ได้เสียงสูงขึ้น

การตีเสี้ยวมือ
          
คือการตีระนาดโดยใช้มือหนึ่งตียืนอยู่กับที่ ในขณะที่อีกมือหนึ่งตีดำเนินทำนองไปตามลูกระนาดอื่นๆ ทำให้เกิดเสียงประสานที่ไพเราะน่าฟัง


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล