ประเภทของงานประติมากรรม
งานประติมากรรมซึ่งมีรูปทรงสามมิติ นิยมสร้างกัน ๓ ลักษณะใหญ่ๆ ได้แก่
๑.รูปแบบนูนต่ำ (bas relief) เป็นประติมากรรมที่มีรูปทรงนูนขึ้นมาจากพื้นหลังเพียงเล็กน้อย สามารถมองเห็นความงามของรูปได้จากด้านหน้าด้านเดียว
![]() |
แผ่นหินของพระเจ้านาร์เมอร์ (Palette of Narmer) ประติมากรรมบนแผ่นหิน ศิลปะอียิปต์ แสดงภาพนูนต่ำฟาโรห์นาร์เมอร์หรือฟาโรห์เมนิส กำลังลงอาญาศัตรู |
![]() |
เหรียญวัตถุมงคล ประติมากรรมโลหะรูปแบบนูนต่ำ |
๒.รูปแบบนูนสูง (high relief) เป็นประติมากรรมที่มีลักษณะคล้ายกับแบบนูนต่ำ แต่จะมีความต่างกันที่ส่วนของรูปจะนูนสูงขึ้นมาจากพื้นหลังมากกว่า ซึ่งสามารถรับรู้ความงามของรูปทรงได้ทั้ง ๓ ด้าน คือ ความงามทางด้านหน้า ความทางด้านข้างของด้านขวา และความทางด้านข้างของด้านขวา
![]() |
Cristo morto ประติมากรรมสลักไม้รูปแบบนูนสูง ผลงานของโดนาเตลโล (Donatello) |
![]() |
ประติมากรรมนูนสูง ตกแต่งสะพานมหาดไทย (สะพานร้องไห้) กรุงเทพมหานคร |
๓.รูปแบบลอยตัว (freestanding sculpture) เป็นประติมากรรมที่สามารถรับรู้ความงามจากการมองเห็นได้รอบด้าน ไม่มีพื้นหลังของภาพ แต่ต้องมีฐานรองรับน้ำหนักเพื่อให้รูปทรงตั้งอยู่ได้ หรือมีที่ยึดน้ำหนักจากด้านบนดดยปล่อยให้รูปทรงนั้นห้อยลงมาจากที่สูง ซึ่งอาจเป็นเพดานหรือราวโลหะ
ประติมากรรมแบบมีฐานรองรับน้ำหนักหรือแบบวางรูปทรงให้น้ำหนักถ่ายเทลงสู่พื้นด้านล่าง
![]() |
เทวรูปพระพฆเนศวร ประติมากรรมรูปแบบลอยตัว ภายในมหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตสารสนเทศเพชรบุรี จังหวัดเพชรบุรี |
![]() |
Horse ประติมากรรมรูปแบบลอยตัว ผลงานของเอดการ์ เดอกาส์ (Edgar Degas) |
![]() |
The Star ประติมากรรมเคลื่อนไหวชนิดแขวน ผลงานของอเล็กซานเดอร์ คาลเดอร์ ( Alexander Calder) ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา |
กระบวนการสร้างสรรค์งานประติมากรรมมีกรรมวิธีสร้างสรรค์อยู่ ๓ ประการ ได้แก่
๑. กระบวนการสร้างสรรค์ทางบวก เป็นกรรมวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรมโดยการเพิ่มวัสดุลงในบริเวณหรือแกนที่สร้างขึ้นให้เกิดเป็นรูปทรงสามมิติ มีความงามตามที่ประติมากรต้องการ ซึ่งได้แก่ผลงานการปั้นและการหล่อ
![]() |
จินตนาการจากรูปทรงงมนุษย์ ผลงานของวาทวิจิตร ภู่ทอง เป็นผลงานประติมากรรมที่ใช้กระบวนการสร้างสรรค์ทางบวก |
![]() |
คิด ผลงานของชลูด นิ่มเสมอ เป็นผลงานประติมากรรมที่ใช้กระบวนการสร้างสรรค์ทางบวก |
๒.กระบวนการสร้างสรรค์ทางลบ เป็นกรรมวิธีการสร้างสรรค์งานประติมากรรม โดยการสกัดเอาส่วนที่ไม่ต้องการออกคงไว้เฉพาะส่วนที่ต้องการ ให้เหลือเป็นรูปทรงสามมิติ ดูงามตา ซึ่งได้แก่ผลงานการแกะสลักต่างๆ
![]() |
Beacchanal ผลงานของโจวันนี ลอร์เรนโซ เบร์นีนี (Giovanni Lorrenzo Bernin) เป็นผลงานประติมากรรมที่ใช้กระบวนการสร้างสรรค์ทางลบ |
![]() |
Slave Young ผลงานของมีเกลันเจโล บูโอนาร์โรตี (Michelangelo Buonarroti) เป็นผลงานประติมากรรมที่ใช้กระบวนการสร้างสรรค์ทางลบ |
๓. กระบวนการสร้างสรรค์ทางผสมผสาน เป็นกรรมวิธีการสร้างสรรค์ที่เกิดจากการผสมผสานกันระหว่างกระบวนการทางบวกและกระบวนการทางลบ เพื่อให้เกิดเป็นรูปทรงตามต้องการ
![]() |
โอบอุ้ม ผลงานของลูกปลิว จันทร์พุดซา เป็นผลงานประติมากรรมที่ใช้กระบวนการวร้างสรรค์ทางผสมผสาน |
![]() |
แม่กับลูก ผลงานของสุวิช สถิตวิทยานันท์ เป็นผลงานประติมากรรมที่ใช้กระบวนการสร้างสรรค์ทางผสมผสาน |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น