งานทัศนศิลป์ของชาติ หมายถึง ศิลปะที่ถูกถ่ายทอดและสร้างขึ้นโดยช่างจากราชสำนักหรือช่างหลวง โดยมีรูปแบบที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของการใช้สื่อ วัสดุ กรรมวิธี ช่วงเวลา และพัฒนาการทางศิลปะในแต่ละยุคสมัย ที่มีลักษณะและรูปแบบในอุดมคติ ล้วนสะท้อนให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของความเป็นไทย ซึ่งสามารถวิเคราะห์ได้จากผลงานทัศนศิลป์แต่ละประเภท ดังนี้
1.จิตรกรรม คือ การแสดงออกด้วยการใช้สี โดยทั่วไปมีลักษณะทางกายภาพเป็น 2 มิติ การแสดงออกของผลงานจะใช้สีหรือทำด้วยกรรมวิธีอื่นๆ ให้เกิดภาพลนแผ่นวัสดุหรือบนพื้นผิวของวัสดุ อาคารสถานที่ มิติลึกหรือระยะของภาพที่ปรากฏในงานจิตรกรรมมักจะเป็นมิติลวง
1.1) ลักษณะของจิตรกรรมไทย ในสมัยโบราณงานจิตรกรรมหรือภาพเขียนสีของไทยจะนิยมเขียนขึ้น เพื่อเป็นพุทธบูชาตามผนังโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ในคูหาองค์พระปรางค์ พระสถูปเจดีย์ และที่ผนังถ้ำ มีจุดประสงค์เพื่อต้องการเล่าเรื่องพุทธประวัติหรือเรื่องราวทางศาสนาด้วยภาพ
1.2) ประเภทของจิตรกรรมไทย แสดงภาพด้วยการวาดเส้นและระบายสี ลงบนแผ่นผิวเรียบ รูปทรงที่ประกอบจากเส้นสีบนแผ่นผิวเรียบ ซึ่งมีเนื้อที่เพียงความกว้างและความยาว เช่น เขียนไว้บนผนัง เรียกว่า จิตรกรรมฝาผนัง เขียนบนผิวผืนผ้า เรียกว่า พระบฏ เขียนบนกระดาษทับซ้อน เรียกว่า จิตรกรรมสมุดภาพ เป็นต้น
2.ประติมากรรม คือ งานทัศนศิลป์ที่แสดงด้วยรูปทรงที่มีลักษณะทางความงาม มีคุณสมบัติในการสะเทือนอารมณ์หรือกระตุ้นความคิด โดยทั่วไปเป็นภาพแบบ 3 มิติ คือ มีความกว้าง ความยาว และความหนา อาจผลิตด้วยวิธีการปั้น การหล่อ การแกะสลัก ซึ่งรู้จักกันในชื่อของรูปปั้น รูปหล่อ รูปแกะสลัก เป็นต้น
2.1) ลักษณะของประติกรรมไทย เป็นทัศนศิลป์แขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องทั้งทางตรงและทางอ้อมกับงานสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวข้องโดยตรง ได้แก่ ประติมากรรมที่สร้างขึ้นเพื่อการตกแต่งสถาปัตยกรรม เช่น ลวดลายประดับต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทางอ้อม ได้แก่ ประติมากรรมที่มีคุณสมบัติเฉพาะที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ทั้งด้านเนื้อหา รูปทรง และการแสดงออก เช่น พระพุทธรูปที่ประดิษฐานอยู่ภายในพระอุโบสถ วิหาร เป็นต้น
2.2) ประเภทของประติกรรมไทย เป็นผลงานศิลปกรรมแขนงหนึ่งที่เกิดขึ้นที่เกิดขึ้นจากฝีมือ ความคิด และความสามารถของคนไทย สร้างขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ต่างกัน เช่น ความศรัทธาต่อศาสนา ความเชื่อทางไสยศาสตร์ ขนบธรรมเนียมประเพณี ตลอดจนสร้างขึ้นตามคตินิยมของชุมชนหรือท้องถิ่น
ประติมากรรมแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามมิติสัมผัส คือ รูปทรงนูนขึ้นจากแผ่นหลังเล็กน้อย เรียกว่า ประติมากรรมนูนต่ำ หากรูปทรงนูนขึ้นจากแผ่นหลังมาก แต่ยังติดอยู่บนแผ่นหลัง เรียกว่า ประติมากรรมนูนสูง ชนิดสุดท้าย คือ ประติมากรรมที่ไม่ติดอยู่กับแผ่นหลัง สามารถดุประติมากรรมชนิดนี้ได้โดยรอบ เรียกว่า ประติมากรรมแบบลอยตัว
 |
นูนต่ำ |
 |
นูนสูง |
.jpg) |
ลอยตัว |
3.สถาปัตยกรรม คืองานทัศนศิลป์การก่อสร้างซึ่งความงามเกิดจากลักษณะรูปทรง การจัดที่ว่างทั้งภายนอกและภายในเป็นงานประเภท 3 มิติ เช่นเดียวกับประติมากรรม แต่ต่างกันตรงที่สถาปัตยกรรมเป็นสิ่งสร้างขึ้นด้วยวิธีการก่อสร้าง และไม่นิยมสร้างรูปทรงเลียนแบบสิ่งมีชีวิต จุดประสงค์ในการสร้างเพื่อการใช้สอยเป็นหลัก สถาปัตยกรรมที่ถึงพร้อมด้วยคุณลักษณะทางทัศนศิลป์จะเป็นงานศิลปะแท้ที่สร้างความประทับใจแก่ผู้ชมได้ เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เป็นต้น
 |
วัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
 |
พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท |
3.1) ลักษณะของสถาปัตยกรรมไทย ไทยเป็นชาติที่มีวัฒนธรรมในการสร้างอาคารที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะมาตั้งแต่โบราณ ดังจะเห็นได้จากสิ่งก่อสร้างต่างๆ เช่น ปราสาท สถูป เจดีย์ ปรางค์ โบสถ์ วิหาร บ้านเรือน เป็นต้น ซึ่งอิทธิพลที่ทำให้เกิดลักษณะเฉพาะทางสถาปัตยกรรมไทยนั้น ได้แก่ อิทธิพลทางด้านศาสนาและวัฒนธรรมตลอดจนอิทธิพลทางด้านสภาพดิน ฟ้า อากาศ และวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง นอกจากนี้ จะเห็นได้ว่าลักษณะรูปแบบของสถาปัตยกรรมไทยประเภทที่ได้รับอิทธิพลทางศาสนาและวัฒนธรรม ได้แก่ สถูป เจดีย์ พระปรางค์ เป็นต้น รูปแบบจะมีการเปลี่ยนแปลงมากกว่าสถาปัตยกรรมที่สร้างให้สอดคล้องกับสภาพดิน ฟ้า อากาศ เช่น อาคาร บ้านเรือน ทั้งนี้เนื่องจากอิทธิพลทางศาสนาและวัฒนธรรม ประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากหลายแหล่งจึงทำให้รูปแบบสถาปัตยกรรมทางศาสนา มีลักษณะหลากหลายตามแหล่งที่มาด้วย
3.2) ประเภทของสถาปัตยกรรม สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการใช้พื้นที่ ได้แก่
- สถาปัตยกรรมแบบเปิด ซึ่งหมายถึง สิ่งก่อสร้างที่ใช้ประโยชน์จากพื้นที่ภายใน สามารถเข้าไปอยู่อาศัยในตัวอาคารได้ เช่น โบสถ์ วิหาร บ้านเรือน เป็นต้น
 |
โบสถ์ |
 |
วิหาร วัดภูก้อน |
 |
บ้านทรงไทย |
- สถาปัตยกรรมแบบปิด เป็นสิ่งก่อสร้างที่ไม่ได้เว้นที่ว่างภายในตัวอาคารสำหรับเข้าไปอยู่อาศัย ส่วนใหญ่จะมีรูปทรงเป็นแท่ง เป็นก้อนทึบตัน เช่น เจดีย์ พระปรางค์ อนุสาวรีย์
 |
เจดีย์ |
 |
พระปรางค์ |
 |
อนุสาวรีย์ |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น