บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก เมษายน, 2024

1.2 การแบ่งโครงสร้างโลก

รูปภาพ
         จากการศึกษาในเนื้อหาที่ 1.1 พบว่า   ความเร็วของคลื่นไหวสะเทือนเปลี่ยนไปในแต่ละระดับความลึก นักวิทยาศาสตร์จึงได้วิเคราะห์ว่า องค์ประกอบต่างๆ ภายในโลกไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันตลอด  แต่สามารถแบ่งออกเป็นชั้น คือ ฐานธรณีภาค  มีโซสเฟียร์  แก่นโลกชั้นนอก  และแก่นโลกชั้นใน   การแบ่งโครงสร้างโลกดดยใช้สมบัติของคลื่นไหวสะเทือน                   ธรณีภาค (lithosphere) เป็นชั้นนอกสุดของโลก  พบว่าคลื่นปฐมภูมิ และคลื่นทุติยภูมิจะคลื่นที่ผ่านธรณีภาคด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ในช่วง 6.4 - 8.4 กิโลเมตรต่อวินาที และ 3.7 - 4.8 กิโลเมตรต่อวินาที ตามลำดับ  โดยทั่วไปชั้นนี้มีความลึกประมาณ 100 กิโลเมตร  จากผิวโลก ประกอบด้วยหินที่มีสมบัติเป็นของแข็ง  ความเร็วของคลื่นปฐมภูมิและทุติยภูมิ ในธรณีภาค                    ฐานธรณีภาค  (asthenospere)   เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วไม่สม่ำเสมอ แบ่งออกเป็น 2 บริเวณ คือ          1) เขตคลื่นไหวสะเทือนมีความเร็วลดลง (low velocity zone) เป็นบริเวณที่คลื่นไหวสะเทือนคลื่นปฐมภูมิและทุติยภูมิมีความเร็วลดลง  ืเกิดขึ้นในระดับความลึกประมาณ 100 - 400 กิโลเมตร

1.1 การศึกษาโครงสร้างโลก

รูปภาพ
             นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามหาวิธีการต่างๆ ในการศึกษาโครงสร้างโลกทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยพยายามใช้หลักฐานต่างๆ ที่จะสมารถค้นพบได้ รวมทั้งใช้ทฤษฎี หลักการทางวิทยาศาสตร์แขนงต่างๆ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย เพื่อที่จะตอบข้อสงสัยดังกล่าว            เมื่อ 300 ปีที่ผ่านมา เซอร์ไอแซก นิวตัน ได้ค้นพบวิธีการคำนวนความหนาแน่นเฉลี่ยของโลกซึ่งมีค่าประมาณเป็น 2 เท่าของความหนาแน่นของหินบนผิวโลก แสดงว่าภายในโลกต้องประกอบด้วยสารที่มีความหนาแน่นมากกว่าผิวโลก          ถัดจากนั้นอีก 100 ปี นักวิทยาศาสตร์หลากหลายสาขาวิชาพยายามวิจัย  และสำรวจเพื่อหาความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างโลกจากสิ่งต่างๆ ที่ระเบิดออกมาจากภูเขาไฟ ซึ่งเป็นหลักฐานที่บ่งบอกว่าบางบริเวณภายในโลกมีความร้อน และมีความดันที่เหมาะสมต่อการหลอมเหลวหินได้        ช่วงเวลาต่อจากนั้นจนถึงปัจจุบัน  มีการวัดอุณหภูมิในบริเวณเหมืองลึกและภายในหลุมเจาะ  ซึ่งพบว่าอุณหภูมิภายในโลกสูงขึ้นตามระดับความลึกจากพื้นผิวโลก หลุมเจาะเพื่อการศึกษาส่วนประกอบและโครงสร้างภายในโลก เจาะได้ลึก 12.3 กิโลเมตร (ลึกมากสุดที่มนุษย์เจาะได้ในปัจจุบัน ที่บริเวณคาบสมุทรโคลา (Kola Penin

โลก ดาราศาสตร์และอวกาศ

1.โครงสร้างโลก          1.1 การศึกษาโครงสร้างโลก          1.2 การแบ่งโครงสร้างโลก

โครงสร้างโลก

       ทุกคนเคยสงสัยหรือไม่ว่า โลกที่เราอาศัยอยู่ทุกวันนี้กำเนิดมาอย่างไร  มีโครงสร้างเป็นอย่างไรและจะมีวิธีใดบ้างที่จะศึกษาโครงสร้างโลกได้       หลายคนคงเคยอธิบายลักษณะของโลกอย่างง่าย  โดยการเปรียบโลกเหมือนกับวัตถุที่มีลักษณะโครงสร้างภายในคล้ายกับโครงสร้างโลก เช่น ลำไยหรือไข่ต้ม เป็นต้น ซึ่งคนส่วนใหญ่ทราบดีว่าลักษณะภายในของวัตถุดังกล่าวหลักถูกผ่าครึ่งจะเป็นอย่างไร  แต่สำหรับโลกของเราไม่ได้ศึกษาได้ง่ายเช่นนั้น  ดังนั้นนักวิทยาศาสตร์จึงพยายามหาวิธีการต่างๆที่จะศึกษาโครงสร้างโลก  เพื่อทราบลักษณะแลัสมบัติต่างๆภายในโลก       โลกเป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 4,600 ล้านปี มาแล้ว  นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่สันนิษฐานว่า  ระบบสุริยะเกิดจากการหมุนเวียนของฝุ่นและแก๊สในอวกาศ (เนบิวลา) แรงโน้มถ่วงระหว่างมวลทำให้ฝุ่นและแก๊สในอวกาศเกิดการยุบตัวและรวมกันจนในที่สุดกลายเป็นระบบสุริยะ  ซึ่งประกอบด้วยดวงอาทิตย์และดาวเคราะห์ต่างๆ กังที่ทุกคนจะได้ศึกษาต่อไป อ้างอิง : หนังสือเรียนรายวิชา โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ  โดยสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  สสวท.