บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2023

หลักการประเมินคุณภาพของการแสดงนาฏศิลป์และละคร

      1. คุณภาพด้านการแสดง           คุณภาพของการแสดงเป็นสิ่งที่สำคัญมาก  ในการผลิตผลงานด้านศิลปะการแสดงออกสู่สายตาประชาชน  นอกจากประชาชนจะติชม วิพากษ์  วิจารณ์  ผลงานแล้ว ผู้สร้าง ผู้ร่วมงานและผู้ชมควรมีส่วนร่วมในการประเมินผลงานเพื่อเป้นการตรวจสอบความถูกต้อง  ชัดเจน   ในด้านเนื้อหาสาระด้วย        การประเมินคุณภาพของการแสดง เป็นการประเมินสิ่งที่สะท้อนความคิดในเรื่องต่างๆของผู้นำเสนอผลงานการแสดง  เพื่อเป็นการตัดสินว่าคุณภาพของการแสดงมีมาตรฐานในระดับใด สมควรแก่การยกย่องหรือไม่       หลักเกณฑ์ที่ควรนำมาใช้ในการประเมินคุณภาพของการแสดง ประกอบด้วย       1. การนำเสนอการแสดงต้องชัดเจนในเรื่องประเภท  กล่าวคือ ชนิดของการแสดงเป็นแนวอนุรักษ์ หรือสร้างสรรค์      2.นักแสดงมีเอกลักษณ์ในการเคลื่อนไหวร่างกาย  มีการจัดระเบียบของร่างกาย จัดกระบวนท่าทาง  ถูกต้องตามแบบแผนของการแสดงชุดที่นำเสนอมากน้อยเพียงใด      3. ลักษณะการแสดงมีความงาม ทั้งในระดับพื้นฐาน และมาตรฐาน         - ความงามระดับพื้นฐาน  ได้แก่  ความประณีตบรรจุ  ความเป็นระเบียบ  เรียบร้อย ความถูกต้องชัดเจน ผสมกลมกลืนกันอย่างเหมาะสม        - ความง

หลักการวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์และละคร

    การวิจารณ์   เป็นเรื่องของการใช้ภาษาในการสื่อสารถึงความคิด  วิเคราะห์  วิพากษ์  วิจารณ์  ต่อสิ่งที่ได้ดู ได้ฟัง  เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ชมการแสดงได้แสดงความคิดเห็นต่อการแสดงที่ได้ชม  ซึ่งผู้วิจารณ์ควรมีหลักเกณฑ์ในการวิจารณ์การแสดงอย่างเป็นระบบ  สามารถแยกแยะและประเมินคุณค่าตามชนิดและประเภทของการแสดงด้วยความเป็นธรรม  รู้จักวิพากษ์  วิจารณ์อย่างสร้างสรรค์ เพื่อให้ผู้สร้างงานสามารถผลิตผลงานการแสดงใหม่ๆ  ออกมาได้อย่างมีคุณภาพ  และเกิดแนวคิดที่จะปรับปรุงพัฒนา   สร้างสรรค์งานที่มีคุณค่าได้มาตรฐาน     1. คุณสมบัติของผู้วิจารณ์         ผู้วิจารณ์งานศิลปะที่ดีจะต้องเป็นผู้มีความศรัทธา มีความรักในศิลปะแขนงนี้  มีความเข้าใจ มีความซาบซึ้ง เข้าถึงศิลปะอย่างแท้จริง สามารถสื่อสารด้วยการใช้ถ้อยคำที่คมคาย  สามารถเปรียบเทียบ  วิเคราะห์  วิจารณ์  นำเสนอข้อดีและข้อเสียของการแสดงอย่างเป็นธรรม  ปราศจากอคติใดๆ ทั้งสิ้น  โดยผู้วิจารณ์ควรมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้      1. มีความรู้เป็นอย่างดีในศิลปะการแสดงสาขาที่วิจารณ์  ผู้วิจารณ์จะต้องมีความรู้เกี่ยวกับลักษณะ  ประเภท และรูปแบบในการแสดงแต่ละประเภทเป็นอย่างดี 

หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร

      การชมการแสดงนาฏศิลป์ และละครให้ออกรส เพื่อให้เกิดความซาบซึ้งหรือที่เรียกว่า  ดูเป็น  นั้น ผู้ชมจะต้องมีความรู้และเข้าใจวิชาการละครเป็นอย่างดี  ดูแล้วจะเกิดสติปัญญา  รู้จักที่จะหาแง่มุม   วิพากษ์  วิจารณ์  การแสดงนาฏศิลป์และละครได้อย่างสร้างสรรค์ปราศจากอคติใดๆ  ทั้งสิ้น    ผู้ชมการแสดงย่อมมีเป้าหมายที่แตกต่างกัน  เพราะบางคนไปชมการแสดงเพื่อผ่อนคลายความเครียด  บางคนไปชมการแสดงเพราะต้องการศึกาาหาความรู้ การแสดงจึงให้ทั้งความบันเทิงกระตุ้นความคิดให้เกิดการศึกษาเรียนรู้  และสร้างความฝันที่คนดูปราถนา  เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ดังกล่าว ผู้ชมจึงควรมีหลักในการชมละคร  ดังต่อไปนี้      1. ศึกษาหาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับรูปแบบ  ประเภท  และชนิดของการแสดงที่ชม      2. ศึกษาเอกสารและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวกับการแสดง ตลอดจนสถานภาพของผู้มาชม     3. มีความสามารถในการรับสาร คือ เป็นผู้ชมที่ดูเป็น ฟังเป็น  สามารถวิเคราะห์ วิจารณ์เรื่องที่ชมได้อย่างสร้างสรรค์      4. มีจิตใจผ่อนคลาย  มีสมาธิในการชมการแสดงไม่กังวลต่อสิงใดๆทั้งสิ้น     5. มีปฏิกิริยาโต้ตอบด้วยการแสดงออกทางอารมณ์ เช่น ผู้แสดงละครแสดงบทตลก ผู้ช

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

รูปภาพ
         กระบวนการสืบทอดในสมัยโบราณ  เป็นการถ่ายทอดจากครูตัวต่อตัว  โดยวิธีการจำ  ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร  องค์ความรู้ทั้งหมดจะอยู่ในครู  ศิษย์ที่จะได้รับการถ่ายทอดวิชานาฏศิลป์ไทยจะต้องปฏิบัติรับใช้ครู  จนครูเห็นเห็นว่าศิษย์ผู้นี้มีความกตัญญู มีศรัทธาแน่วแน่ที่จะรับการถ่ายทอดวิชาจริงๆ  ครูจึงถ่ายทอดวิชาให้  สำหรับปรมาจารย์ที่มีบทบาทในการสร้างสรรค์และสืบทอดนาฏศิลป์ไทยมีอยู่หลายท่านด้วยกัน  ดังจะยกมาเป็นตัวอย่าง ดังนี้       1. ท่านผู้หญิงแผ้ว   สนิทวงศ์เสนี       ท่านผู้หญิงแผ้ว  สนิทวงศ์เสนี  ศิลปินแห่งชาติ สาขานาฏศิลป์ พ.ศ.2528 เกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2446  เป็นธิดาของนายเฮง  และนางสุทธิ  สุทธิสมบูรณ์  เป็นชาวจังหวัดฉะเชิงเทรา ฝึกหัดนาฏศิลป์ตั้งแต่อายุ 8 ขวบ ในวังสวนกุหลาบ     ผลงานด้านการแสดง  ท่านแสดงเป็นตัวอิเหนา  นางดรสา  พระพิราพ  นางเมขลา  ไชยเชษฐ์  พระไวย   ไกรทอง    มีฝีมือการรำเป็นเลิศ  เชี่ยวชาญเพลงอาวุธทุกชนิด เช่น กระบี่  ทวน  และกริช ท่านได้นำนาฏศิลป์นานาชาติมาพัฒนาเป็นนาฏศิลป์ไทย  เช่น เป็นผู้ปรับปรุงวางรากฐานทางด้านนาฏศิลป์ให้แก่กรมศิลปากรหลายแขนง  นั