บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2018

ศ31102 วงเครื่องสายไทย

รูปภาพ
            วงเครื่องสายไทย   จะมีเสียงไม่จัดจ้านและไม่ดังมากนัก จึงเหมาะสมกับการบรรเลงในสถานที่ ที่ไม่กว้างนัก แบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท คือ            1. วงเครื่องสายไทย   คือ วงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก ส่วนเครื่องดนตรีอื่นๆ เป็นเครื่องดนตรีที่มีโครงสร้างของระดับเสียงที่สอดคล้องกัน ในวัฒนธรรมไทยนิยมนำวงเครื่องสายไทยมาใช้บรรเลงในงานมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส  งานเลี้ยงฉลอง หรืองานอื่นๆ การประสมวงแบ่งได้ 2 ขนาดคือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว และวงเครื่องสายเครื่องคู่             1.1 วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว ประกอบด้วย จะเข้ 1 ตัว  ซอด้วง 1 คัน ซออู้ 1 คัน ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา โทน - รำมะนา 1 สำรับ ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบเล็ก 1 คู่ กรับ 1 คู่ และโหม่ง 1 ใบ             1.2 วงเครื่องสายเครื่องคู่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ซอด้วง 2 คัน ซออู้ 2 คัน ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา ขลุ่ยหลีบ 1เลา โทน - รำมะนา 1 สำรับ ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบเล็ก 1 คู่ กรับ 1คู่ และโหม่ง 1 ใบ          2. วงเครื่องสายประสม คือ วงเครื่องสายไทย เครื่องเดี่ยวหรือเครื่องคู่ โดยมีเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนองเพลง 1

เกณฑ์ในการประเมินคุณภาพผลงานดนตรีไทย

รูปภาพ
       การประเมินคุณภาพผลงานด้านศิลปะทุกแขนง  ล้วนเป็นสิ่งที่ค่อนข้างประเมินได้ยาก  ทั้งนี้ผลขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ประเมินแต่ละคน  ไม่สามารถทำให้ทุกคนมีความคิดเห็นตรงกันหรือมีความพอใจเหมือนกันได้  การประเมินคุณภาพผลงานดนตรีไทยก็เช่นเดียวกัน  ผู้ที่จะสามารถประเมินผลงานดนตรีไทยได้ลึกซึ้ง  จำเป็นต้องศึกษาและมีประสบการณ์เกี่ยวกับดนตรีไทยมากพอควร       1.เกณฑ์ทั่วไปในการประเมินคุณภาพผลงานดนตรี        1.1 เสียง  พิจารณาว่าเสียงแต่ละเสียงที่ผู็ประพันธ์ได้นำมาเรียบเรียงเป็นบทเพลงนั้นมีความไพเราะ เหมาะสมกลมกลืนกันหรือไม่เพียงใด  การประพันธ์เพลงเปรียบเสมือนการประพันธ์บทร้อยกรอง ซึ่งผู้ประพันธ์จำเป็นต้องคัดสรรคำที่มีทั้งเสียงสัมผัส และมีความหมายที่สัมพันธ์กัน         1.2 รูปแบบของบทเพลง ควรพิจารณาว่าเพลงนั้นมีรูปแบบเป็นอย่างไร มีความเหมาะสมมีลักษณะใดที่โดเด่นหรือเป็นสิ่งใหม่ที่ปรากฏในวงการดนตรีหรือไม่ เช่น รูปแบบโหมโรงมหาราชมีลักษณะที่ต่างไปจากเพลงโหมโรงของเดิม เนื่องจากผู้ประพันธ์ คือ นายมนตรี  ตราโมท ได้กราบบังคมทูลขอพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อัญเชิญทำนองบทเพลงพระราชนิพนธ์

ดนตรี ม.6 ศ33102

คำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ดนตรีกับวัฒนธรรม ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี ใบงาน เรื่อง ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม (จีนและอินเดีย) ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม (อินโดนีเซีย) ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม (อาหรับ) ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม (แอฟริกา) ใบงาน เรื่อง ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ความรู้เกี่ยวกับดนตรีไทย ดนตรีไทยกับสังคมไทย ใบงาน เรื่อง ดนตรีไทยกับสังคมไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคมไทยต่อดนตรีไทย แนวทางการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีไทย สังคีตกวีไทย คำถามประจำหน่วยการเรียนรู้ แบบทดสอบเก็บคะแนน หน่วย 1-2 ม.6 แนวข้อสอบวัดผลกลางภาค วิชาดนตรี ม.6 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การปฏิบัติดนตรีไทย รูปแบบการบรรเลงดนตรีไทย ใบงาน เรื่องรูปแบบการบรรเลงดนตรีไทย รูปแบบการขับร้องเพลงไทย ศัพท์สังคีตที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติดนตรีไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4  ความรู้ทั่วไปเกี่ยวดนตรีสากล แบบทดสอบก่อนเรียน ดนตรีสากลกับสังคมไทย แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค

ดนตรี ม.5

คำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรีไทย แบบทดสอบก่อนเรียน คุณค่าและความงามของดนตรีไทย ใบงาน เรื่องคุณค่าและความงามของดนตรีไทย ดนตรีไทยกับการประยุกต์ใช้ ใบงาน เรื่อง ดนตรีไทยกับการประยุกต์ใช้ ประเภทของเพลงไทย ใบงาน เรื่อง ประเภทของเพลงไทย แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ดนตรีพื้นบ้านของไทย แบบทดสอบก่อนเรียน ความสำคัญและลักษณะของดนตรีพื้นบ้าน ใบงาน เรื่อง ความสำคัญและลักษณะของดนตรีพื้นบ้าน สังคีตกวีพื้นบ้าน ใบงาน เรื่อง สังคีตกวีพื้นบ้าน แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การปฏิบัติดนตรีไทย แบบทดสอบก่อนเรียน ขนบธรรมเนียมปฏิบัติดนตรีไทย ใบงาน เรื่อง ขนบธรรมเนียมปฏิบัติดนตรีไทย รูปแบบการบรรเลงดนตรีไทย ใบงาน เรื่อง รูปแบบการบรรเลงดนตรีไทย หลักการปฏิบัติเครื่องดนตรีไทย : ระนาดเอก รูปแบบการขับร้องเพลงไทย หลักการขับร้องเพลงไทย เกณฑ์ในการประเมินคุณภาพผลงานดนตรีไทย ใบงาน เรื่องเกณฑ์ในการประเมินคุณภาพผลงานดนตรีไทย แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวดนตรีสากล แบบทดสอบก่อนเรียน คุณค่าและความงามของดนตรีสากล

ดนตรี ม.4 ศ31102

คำอธิบายรายวิชา หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ดนตรีไทย สุนทรียศาสตร์ ใบงาน เรื่อง สุนทรียศาสตร์ ปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีไทย ใบงาน เรื่อง ปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ความรู้พื้นฐานด้านดนตรีไทย ดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย ใบงาน เรื่องดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย ลักษณะเด่นของดนตรีไทย ใบงาน เรื่องลักษณะเด่นของดนตรีไทย (งานกลุ่ม) หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วงดนตรีไทย ประเภท วงดนตรีไทย วงปี่พาทย์ ใบงาน เรื่องวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย ใบงาน เรื่องวงเครื่องสาย วงมโหรี ใบงาน เรื่อง วงมโหรี แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมดนตรีไทย ใบงานเรื่องแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมดนตรีไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การปฏิบัติดนตรีไทย มาตราเสียงของดนตรีไทย ทำนอง จังหวะ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับดนตรีสากล วิวัฒนาการของดนตรีสากล ประเภทของวงดนตรีสากล ใบงาน เรื่อง ประเภทของวงดนตรีสากล

แบบทดสอบเก็บคะแนน หน่วย 1-2 ม.6

แบบทดสอบคะแนนหน่วย 1-2 ม.6

แบบทดสอบเก็บคะแนน หน่วย 1-2 ม.5

แบบทดสอบเก็บคะแนน หน่วย 1-2 ม.5

สอบแก้กลางภาค ม.6

รายงาน เรื่อง วงปี่พาทย์

สอบแก้กลางภาค ม.5

รายงานเรื่อง เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ

สอบแก้กลางภาค ม.4

รายงาน เรื่อง เครื่องดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

แบบทดสอบเก็บคะแนน หน่วย 1-2 ม.4

แบบทดสอบเก็บคะแนน หนาวย 1-2 ม.4

หลักการขับร้องเพลงไทย

รูปภาพ
1. วิธีการเปล่งเสียง -ในการขับร้องเพลง สิ่งแรกที่ทำให้ผู้เกิดความสนใจ คือ เสียง การร้องเพลงผู้ขับร้องต้องรู้จักวิธีการเปล่งเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพออกมา การเปล่งเสียงร้องที่ดีต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นขั้นตอน ดังนี้         1.1 การฝึกออกเสียง เป็นการเริ่มต้นการฝึกหัดร้องเพลง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับระดับเสียงดนตรี โดยเทียบกับเสียงของเครื่องดนตรี         1.2 การฝึกการบังคับเสียง เป็นการบังคับเสียงให้ออกมาโดยถูกทิศทางชึ่งอาจต้องใช้อวัยวะภายในปากเป็นส่วนช่วยในการเปล่งเสียง ได้แก่ คอ ลิ้นปี่ เพดาน ปุ่มเหงือก ไรฟัน ลิ้น คากและปาก เป็นต้น         1.3 การฝึกกล้าเนื้อคอ เพื่อให้เกิดความแข็งแรง สามารถบังคับกล้ามเนื้อให้เปล่งเสียงตามที่ต้องการ มักจะใช้กับการร้องที่ต้องการเสียงที่อ่อนพลิ้ว สั่นระรัว เช่น การครั่นเสียง เป็นต้น        1.4 การฝึกกล้ามเนื้อหน้าท้อง การฝึกกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องเพื่อให้แข็งแรงจะเป็นประโยชน์ในการขับร้องเพลงที่มีเสียงสูง ซึ่งในขณะเปล่งเสียงสูงผู้ร้องต้องเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องแล้วค่อย ๆ เปล่งเสียงออกมา โดยให้ลมบริเวณหน้าท้องเลื่อนขึ้นมา เ

ศ31102 หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 วงดนตรีไทย

รูปภาพ
              1. ประเภทของวงดนตรีไทย                   ดนตรีไทย ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบการบรรเลง มีความเป็นระเบียบแบบแผน  มีมาตรฐานถูกต้องตามหลักการประสมวง  มีการพัฒนารูปแบบการบรรเลงเป็นระยะ ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้                   1.1  วงปี่พาทย์   เป็นชื่อเรียกรวมของวงดนตรีไทยประเภทหนึ่ง ซึ่งถ้าพิจารณาลงไปในรายละเอียด  วงปี่พาทย์แบ่งออกเป็น 6 ชนิด ดังนี้                   1) วงปี่พาทย์ไม้แข็ง   เป็นวงดนตรีที่ประกอบด้วย  เครื่องเป่าและเครื่องตีเป็นหลัก เดิมเรียกว่า "วงพิณพาทย์" ภายหลังสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงพิจารณาว่าในการประสมวงของวงดนตรีประเภทนี้ไม่ปรากฏว่ามีพิณประกอบอยู่ในวง แต่มี ปี่ใน ประสามวงและทำหน้าที่เป็นประธานของวง ดังนั้น จึงทรงให้ใช้ชื่อใหม่ว่า "วงปี่พาทย์"แทน                    นอกจากนี้ เมื่อมีการประสมวงปี่พาทย์ไม้นวมขึ้น วงปี่พาทย์แต่เดิมจึงต้องมีการเรียกให้แตกต่างกันตามลักษณะการบรรเลงว่า  "วงปี่พาทย์ไม้แข็ง"  ดังปรากฏหลักฐานจากกรมศิลปากรที่ใช้คำว่า "วงปี่พาทย์ไม้แข็ง" ในสูจิบัตรการบรรเลงดนตรีต่า

ศ33102 แนวทางการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีไทย

รูปภาพ
                  ดนตรีไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีคุณค่าต่อคนไทยทุกคน ดนตรีไทยมีบทบาทสำคัญในกิจกรรมประเพณีที่ปรากฏในชีวิตประจำวันของคนไทย แม้ว่าในปัจจุบันสังคมและวัฒนธรรมไทยได้มีหลายสิ่งหลายอย่างเปลี่ยนแปลงไป แต่ความสำคัญของดนตรีไทยยังคงอยู่ โดยเฉพาะคุณค่าในความเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม  ซึ่งหลายประเทศในโลกไม่มีดนตรีที่แสดงความเป็นมรดกทางภูมิปัญญาของชาติตน ซึ่งการจะส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีไทยให้คงอยู่คู่สังคมไทยตลอดไปนักเรียนจะต้องเข้าใจความสำคัญของดนตรีไทยจนนำไปสู่แนวทางในการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีไทยไทยต่อไป                 1. ความสำคัญของดนตรีไทย                  ดนตรีไทยมีความสำคัญในฐานะเป็นวัฒนธรรมของชาติ มีความผูกพันกับโครงสร้างทางสังคม และยังเป็นเครื่องหมายแห่งการเผยแพร่สิ่งดีงามของชาติไทยต่อสังคมโลก โดยสามารถสรุปความสำคัญของดนตรีไทยเป็นประเด็นสำคัญได้ ดังนี้                   1.1 ดนตรีไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติไทย    ที่สะท้อนให้เห็นภูมิปัญญาทางความคิดของศิลปินดนตรีที่สร้างสรรค์และนำมาใช้ในกิจกรรมต่างๆของสังคมไทย โดยศิลปินดนตรีได้ปรับปรุงสิ่งที่เคยมีการสร้างสรรค์ไว้ให

แนวม.6

1. ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี คือสิ่งใด ก. เทคโนโลยี ข. ความเชื่อ ค. วิถีชีวิต ง. ศาสนา 2. เทคนิคการบรรเลงดนตรีในข้อใด ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุด ก. กรับพวง และ Timpani ข. ซอสามสาย และ Harp ค. จะเข้ และ Guitar ง. ปี่ใน และ Flute 3. การใช้เพลงประกอบการแสดงทำให้เกิดอรรถรสด้านใดมากที่สุด ก. แนวคิดในการสื่อความหมาย ข.  แสงและสีที่สร้างบรรยากาศ ค.  ความงดงามตระการตา ง. อารมณ์สะเทือนใจ 4. เครื่องดนตรีชนิดใดของจีนที่ไทยได้รับอิทธิพลมาใช้ในการบรรเลง ก. ขิมหยางฉิ่น ข. เอ่อหู ค. กู่ฉิน ง. ดี 5. เครื่องดนตรีชนิดใดของอินเดียที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันออกกลาง ก. ตาบลา ข. เชห์ไน ค. ซีตาร์ ง. วีณา ุ6.Improvisatory เป็นลักษณะเด่นของดนตรีในวัฒนธรรมใด ก. วัฒนธรรมอินโดนีเซีย ข.  วัฒนธรรมแอฟริกา ค. วัฒนธรรมอินเดีย ง. วัฒนธรรมจีน 7. ศิลปะการเชิดหนังที่เก่าแก่ที่สุด เป็นศิลปะประจำชาติใด ก. ประเทศอินโดนีเซีย ข. ประเทศกัมพูชา ค. ประเทศพม่า ง. ประเทศไทย