บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2023

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของไทยในแต่ละท้องถิ่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้)

รูปภาพ
          3. การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ          การแสดงมีหลายชนิดแตกต่างกันไปตามวัธนธรรมท้องถิ่น โดยหลักใหญ่แล้วภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะแบ่งกลุ่มวัฒนธรรมออกเป็น 3 กลุ่มวัฒนธรรม คือ 1.กลุ่มวัฒนธรรมหมอลำ ได้แก่จังหวัด ร้อยเอ็ด มหาสารคาม  กาฬสินธ์  ขอนแก่น  อุดรธานี  หนองบัวลำภู เลย หนองคาย ชัยภูมิ  นครพนม  บึงกาฬ  มุกดาหาร  ยโสธร  อำนาจเจริญ   อุบลราชธานี  ซึ่งจะเป็นหมอลำในทำนองหรือสังวาสต่างๆ  เช่น ลำกลอน  ลำหมู่ ทำนองขอนแก่น  ลำหมู่ทำนองสารคาม  ลำหมู่ทำนองกาฬสินธ์  ลำหมู่ทำนองอุบล  ลำหมู่ทำนองลำเพลิน  ลำผีฟ้า  ลำภูไท  ลำตังหวาย  ลำผญา  เป็นต้น และในกลุ่มนี้ก็จะมีการละเล่นอื่นๆอีก เช่น เซิ้งบั้งไฟ  เซิ้งสวิง  เซิ้งกระติบข้าว  เซิ้งแหย่ไข่มดแดง เซิ้งโปงลาง  ฟ้อนตังหวาย  ฟ้อนโหวด  รำภูไทสามเผ่า รำแพรวากาฬสินธ์  ฟ้อนลำเพลิน เป็นต้น  ซึ่งการละเล่นเหล่าจะบรรเลงโดยวงดนตรีพื้นบ้านอีสาน หรือที่เรียกกันในชื่อ   วงโปงลาง           2.กลุ่มวัฒนธรรมกันตรึม ได้แก่ จังหวัดสุรินทร์   บุรีรัมย์ และศรีษะเกษ  ซึ่งจะมีการแสดงพื้นเมืองได้แก่ เรือมอัปสรา  เรือมอันเร  ใช้วงกันตรีมในการบรรเล

การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของไทยในแต่ละท้องถิ่น (ภาคเหนือและภาคกลาง)

รูปภาพ
        การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง เป็นการแสดงที่เน้นความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น  ท่ารำ  เพลงร้องและดนตรีได้รับการสั่งสมสืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษ   ซึ่งคิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้นจากพื้นฐานความเป็นอยู่ของชาวบ้าน  การแต่งกายจะแต่งตามลักษณะของท้องถิ่น         สังคมชาวบ้าน  เป็นสังคมเกษตรกรรมอาศัยธรรมชาติเลี้ยงชีพ    จึงมีพิธีกรรมการละเล่นเพื่อขอพรให้พืชผลอุดมสมบูรณ์  สะท้อนออกมาเป็นศิลปะพื้นบ้าน  เช่น ภาคเหนือ ลักษณะการแสดงจะเชื่องช้า  ได้แก่ ฟ้อนต่างๆ ภาคกลางจะเน้นที่ลำนำการขับกลอน  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีจังหวะคึกคัก   กระฉับกระเฉง  แสดงออกให้เห็นความสนุกสนานร่าเริง   ภาคใต้จะเน้นที่จังหวะเป็นสำคัญ เป็นต้น      การแสดงพื้นเมืองของไทยแต่ละท้องถิ่น  จะสะท้อนให้เห็นศิลปะ  วัฒนธรรม  ประเพณี  เอกลักษณ์ประจำท้องถิ่น  ตลอดจนจิตวิญญาณของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่นมีลักษณะอย่างไร   ดังนั้น  การแสดงพื้นเมืองแต่ละภาค  จึงมีลีลาการแสดงที่แตกต่างกัน  ซึ่งการแสดงพื้นเมืองในแต่ละ  สามารถสรุปได้ ดังนี้         1. การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ            การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองภาคเหนือ  เรียกว่า ฟ้อน   ภาคเหนือมี