บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2019

แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมดนตรีไทย

รูปภาพ
             ดนตรีไทย      เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญต่อคนไทย  บ่งบอกให้ทราบถึงความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมที่บรรพชนไทยได้พัฒนาและสร้างสรรค์จนเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นคุณค่า   ควรค่าแก่การอนุรักษ์และส่งเสริมดนตรีไทย  โดยแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมดนตรีไทย  เพื่อความคงอยู่ของดนตรีไทยอย่างมีคุณค่า มีดังนี้             บทบาทหน้าที่ของเยาวชนไทย               เยาวชนไทยทุกคนเป็นผู้สืบทอดมรดกวัฒนธรรมที่บรรพชนได้สร้างสมไว้  ด้วยสติปัญญาของเยาวชน ซึ่งเป็นผู้ที่พร้อมด้วยข้อมูล  ข่าวสาร  ทำให้สามารถรับรู้ได้อย่างรวดเร็ว ภารกิจนี้เป็นบทบาทหน้าที่ของเยาวชนที่ต้องแสวงหารูปแบบ  วิธีการที่เหมาะสมในการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมดนตรีของไทย     สำหรับเยาวชนไทย แนวคิดที่ควรนำมาเป็นแนวทาง  และวิธีการสำหรับการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมดนตรี มีดังนี้เ             ๑. ศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของมรดกวัฒนธรรมทางดนตรี เพื่อให้ รู้จริง  รู้แจ้ง และให้เข้าใจดนตรีอย่างถ่องแท้             ๒. ฟังและเผยแพร่ โดยพยายามหมั่นรับฟังดนตรีไทยบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง แล้วเรา

วงมโหรี

วงมโหรี  เป็นวงดนตรีที่ใช้สำหรับขับกล่อมนิยมใช้บรรเลงในงานมงคล โดยเฉพาะงานมงคลสมรส แต่โบราณใช้บรรเลงกล่อมพระบรรทมสำหรับพระมหากษัตริย์ เครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงในวงนี้ประกอบด้วยเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์และวงเครื่องสาย หากแต่เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ที่นำเข้ามาผสมในมโหรีนี้ได้ลดขนาดให้เล็กลง เพื่อให้มีเสียงพอเหมาะกับเครื่องดนตรีในวงเครื่องสาย และใช้ซอสามสายเข้ามาร่วมบรรเลงด้วย         วงมโหรีนี้มีมาแต่โบราณและได้มีการพัฒนาในเรื่องการผสมวง แต่เดิมมีวงมโหรีเครื่องสี่ วงมโหรีเครื่องหก ปัจจุบันวงมโหรีได้มีพัฒนาและเพิ่มเครื่องดนตรีเป็นวงมาตรฐานแบ่งได้ ๓ ขนาด ดังนี ๑. วงมโหรีเครื่องเล็ก เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย ๑.ซอสามสาย, ๒.ซอด้วง,๓.ซออู้, ๔.จะเข้, ๕.ขลุ่ยเพียงออ, ๖.ระนาดเอกมโหรีฒ ๗.ฆ้องกลาง, ๘.โทน- รำมะนา, ๙.ฉิ่ง ๒. วงมโหรีเครื่องคู่ เครื่องดนตรีในวงบรรเลงประกอบด้วย ๑.ซอสามสาย, ๒.ซอสามสายหลิบ, ๓.ซอด้วง ๒ คัน, ๔.ซออู้ ๒ คัน, ๕.จะเข้ ๒ ตัว, ๖.ขลุ่ยเพียงออ, ๗.ขลุ่ยหลิบ, ๘.ระนาดเอกมโหรี, ๙.ระนาดทุ้มไม้มโหรี, ๑๐.ฆ้องกลาง, ๑๑.ฆ้องวงเล็กมโหรี, ๑๒.โทน- รำมะนา, ๑๓.ฉิ่ง, ๑๔. ฉา