บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2022

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

           นาฏศิลป์ไทยมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานและได้พัฬนาปรับปรุงจนเป็นรูปแบบที่เห็นในปัจจุบัน การที่ศิลปะแขนงต่างๆคงอยู่จนถึงปัจจุบัน จะต้องมีการอนุรักษ์และสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมิให้สูญหาย ซึ่งการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทยมีหลายวิธีด้วยกัน  ได้แก่             1.รู้จักและเห็นคุณค่า        รู้จักและเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ไทยที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย  ที่ใช้อากัปกิริยาจากท่าทางธรรมชาติประดิษฐ์เป็นท่านาฏศิลป์ มีความประณีตงดงาม มีทั้งที่เป็นแบบแผนและถ่ายทอดความเป็นวัฒนธรรม ประเพณีประจำท้องถิ่นที่ไม่มีชาติใดเหมือน ซึ่งนักเรียนจะต้องศึกษาหาความรู้ และสร้างแรงจูงใจให้เห็นถึงความสำคัญของนาฏศิลป์  เช่น  พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนณีพันปีหลวง  ถึงการอนุรักษ์และส่งเสริมการแสดงโขน และรู้จักสร้างสรรค์ผลงานโดยนำกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นมาบูรณาการได้อย่างเหมาะสม     เช่น การนำบทกลอนต่างๆ ในวรรณคดีไทย มาประดิษฐ์เป็นท่ารำประกอบการแสดงนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์   ตลอดจนนำความรู้และทักษะที่ได้ไปประกอบอาชีพในอนาคต             2.การฝึกหัดนาฏศิลป์            ในการฝึกหัดน

ความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์กับวรรณคดีไทย

     การแสดงนาฏศิลป์ไทยแต่ละประเภทมีความแตกต่างกันการแสดงบางชุดจะมีหรือไม่มีบทร้องก็ได้ ซึ่งบทร้องนั้นอาจเป็นบทที่แต่งขึ้นใหม่หรือนำมากวรรณคดี โดยเฉพาะการแสดงโขนและละครซึ่งเป็นการที่เป็นเรื่องราว ดังนั้นการแสดงโขนและละครจึงมีความสัมพันธ์กับวรรณคดี  เช่น  เรื่องรามเกียรติ์  อิเหนา พระอภัยมณี ขุนช้างขุนแผนและพระลอ               การแต่งบทประพันธ์ในเรื่องต่างๆยังแสดงถึงภูมิปัญญา ความเป็นเจ้าบทเจ้ากลอนในการพรรณนาของผู้ประพันธ์  ทำให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน เช่นในเรื่องอิเหนา  ได้บรรยายสภาพบ้านเมืองของกรุงเทพมหานครไว้ดังนี้                                   ท่ามกลางทางท้องสถลมาศ              ลำดับดาดอิฐแผ่นแน่นหนา                      บ้านช่องสองข้างมรรคา                                  ล้วนเคหาหน้าถั่งนั่งร้าน                     เหล่าพวกกรมท่าเจ้าภาษี                                มั่งมีสมบัติพัสถาน                      เรือนริมรัถยาฝากกระดาน                              ตึกกว้างบ้านขุนนางนองเนือง                     สุเหร่าเรียงเคียงคั่นปั้นหยา                             ก่อผนังหลังคามุง