บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก ธันวาคม, 2017

รูปแบบการขับร้องเพลงไทย

รูปภาพ
              การขับร้อง เป็นศิลปะทางดนตรีที่ใช้การเปล่งเสียงร้องของผู้ขับร้อง ออกมาเป็นเสียง สูง ต่ำ สั้น ยาว ตามทำนอง จังหวะ และบทร้องที่ผู้ประพันธ์ได้เรียบเรียงหรือกำหนดไว้              1. ประเภทการขับร้องเพลงไทย   สามารถแบ่งออกได้  3 ประเภท               1.1 การร้องอิสระ  คือการโดยทั่วไป ที่ไม่มีดนตรีบรรเลงหรือบรรเลงประกอบแต่อย่างใด ผู้ขับร้องสามารถร้องได้ตามใจชอบ จะยึดเสียงมาตรฐานของเครื่องดนตรีหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องรักษาระดับเสียงของตนเอง ให้ถูกต้อง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นเพียงเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง กรับ เป็นต้น               1.2 การขับร้องประกอบการแสดง  คือ การร้องร้องประกอบท่ารำ เป็นการแสดงละคร หรือ รีวิวที่เป็นชุดเป็นตอนก็ได้  การร้องประเภทนี้จะต้องเน้นในเรื่องการใส่อารมณ์ จังหวะช้า หรือ เร็วขึ้นอยู่กับผู้แสดงเป็นสำคัญ  ผู้ขับร้องต้องเรียนรู้เกี่ยวกับลีลา ท่าทางของผู็แสดง ตลอดจนอารมณ์เพลง จึงจะสามารถขับร้องสอดแทรกอารมณ์ประกอบกิริยาอาการของผู้แสดงได้อย่างเหมาะสม และช่วยให้ผู้ชมได้รับอรรถรสครบถ้วน  เช่น การขับร้องประกอบการแสดงโขน  หุ่นกระบอก หนังใหญ่ ละคร ระบำ ฟ้อนต

ศ32102 ใบงาน เรื่องรูปแบบการบรรเลงดนตรีไทย

รูปภาพ
1. รูปแบบการบรรเลงดนตรีไทยมีกี่ลักษณะ  จงอธิบายมาพอสังเขป 2.การบรรเลงเดี่ยวและการบรรเลงหมู่มีรูปแบบการบรรเลงดนตรีแตกต่างกันอย่างไร 3.ไม้ตีระนาดสามารถแบ่งออกเป็นกี่ประเภทและมีหน้าที่ต่างกันอย่างไร 4. เพราะเหตุใดการนั่งตีระนาดจึงต้องเป็นท่านั่งขัดสมาธิ 5. เสียงของระนาดมีลักษณะเด่นที่แตกต่างจากเครื่องดนตรีอื่นอย่างไร

รูปแบบการบรรเลงดนตรีไทย

รูปภาพ
                  การบรรเลงดนตรีไทย แบ่งเป็น 2 รูปแบบ  ได้แก่ การบรรเลงเดี่ยว และการบรรเลงหมู่             1. การบรรเลงเดี่ยว              1.1 การบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งตามลำพังคนเดียว ไม่มีเครื่องดนตรีใดๆมาร่วม การบรรเลงลักษณะนี้  ผู้บรรเลงสามารถกำหนดระดับเสียงได้ตามต้องการ ส่วนใหญ่ใช้บรรเลงเพื่อฝึกซ้อม หรือการบรรเลงที่ไม่เป็นพิธีการ ทำนองเพลงเป็นทำนองปกติ  ไม่มีลีลาพิเศษ              1.2 การบรรเลงคนเดียวที่ผู้บรรเลงต้องแสดงความสามารถ หรือฝีมือในการแสดงโดยคำนึงถึงความสมบูรณ์แบบของการบรรเลง ทั้งเสียง ทำนอง จังหวะ  ตลอดจนเทคนิคการบรรเลง  การบรรเลงประเภทนี้จะมีเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง  กลอง  ประกอบการบรรเลงด้วย              2. การบรรเลงหมู่                  การบรรเลงหมู่ หมายถึง การบรรเลงโดยผู้บรรเลงมากกว่า 1 คนขึ้นไป มีลักษณะ ดังนี้               2.1 การบรรเลงเฉพาะเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งพร้อมกันมากกว่า 1 คนขึ้นไป  มีแต่การบรรเลงไม่เกี่ยวข้องกับการขับร้อง เช่น การบรรเลงขิมหมู่ จะเข้หมู่  ระนาดเอกหมู่  เป็นต้น  การบรรเลงลักษณะนี้ผู้บรรเลงทุกคนต้องตรวจสอบเสี

ศ31102 ใบงาน เรื่อง ลักษณะเด่นของดนตรีไทย

รูปภาพ
1. นักเรียนรู้จักดนตรีประเภทใดบ้าง พร้อมบอกชื่อเครื่องดนตรี 2. เมื่อนักเรียนได้ฟังเพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรีไทยแล้วเกิดความรู้สึกอย่างไร 3. ไม้ไผ่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องชนิดใดได้บ้าง 4. คุณลักษณะเฉพาะของความเป็นดนตรีไทย คือสิ่งใด 5.ลักษณะพิเศษของวงเครื่องสายคือสิ่งใด 6.เพลงภาษาหมายถึงเพลงที่มีลักษณะอย่างไร 7. บทเพลงไทยประกอบด้วยองค์ประกอบใดบ้าง 8. คำว่า "ทาง" หมายถึงสิ่งใด

ศ31102 ลักษณะเด่นของดนตรีไทย

รูปภาพ
               ดนตรีไทย   เป็นดนตรีที่มีพัฒนาการมาเป็นช่วงระยะเวลายาวนานจนดำรงเป็นมาตรฐานร่วมกันของงานด้านศิลปวัฒนธรรม  และได้รับการยอมรับว่าเป็นตัวแทนของความเป็นดนตรีที่สามารถสะท้อนความเป็นชาติไทยอย่างมีอัตลักษณ์ การบรรเลงดนตรีไทย ซึ่งมีบทบาทต่อสังคมและวัฒนธรรมไทยหลายลักษณะ เช่น การบรรเลงเพื่อประกอบพิธีกรรมต่างๆเป็นเสริมสร้างงานให้บังเกิดความสมบูรณ์                1. เครื่องดนตรี                 ประเทศไทยมีพันธุ์ไม้ชนิดดีหลายพันธุ์ที่เอื้อต่อการนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องดนตรี เช่น ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง ไม้มะริด ไม้สัก ไม้ไผ่ หวาย ไม้ขนุน มะพร้าว ผลน้ำเต้า ฯลฯ ไม้ดังกล่าวนี้ นำมาประดิษฐ์เป็น ปี่  ขลุ่ย อังกะลุง ผืนระนาด รางระนาด ร้านฆ้อง  กระบอกซอ กะโหลกซอ  คันซอ แคน พิณ หุ่นกลอง กรับ และเครื่องดนตรีอื่นๆ ได้อีกหลายอย่าง               นอกจากไม้ชนิดต่างๆแล้ว วัสดุที่ได้จากสัตว์ก็มีความเหมาะสมสำหรับการนำมาเป็นส่วนประกอบของเครื่องดนตรีด้วย เช่น หนังงูเหลือมสำหรับหน้าซอ  หนังแพะ หนังวัว สำหรับหน้ากลอง  งาช้าง กระดูกสัตว์สำหรับทำไม้ดีดจะเข้ เป็นต้น  หรือบางชนิดก็นำมาประดับและตกแต่งเครื่องดนต

ศ33101 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคมไทยต่อดนตรีไทย

รูปภาพ
โลกปัจจุบันมีพัฒนาการทั้งทางด้านสังคม  วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองการปกครองอย่างรวดเร็ว มีการรวมกลุ่มประเทศเข้าเป็นระบบเดียวกัน  มีความเจริญก้าวหหน้าทางด้านการผลิต การค้า ด้านวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ มีการสื่อสารผ่านระบบดาวเทียม ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่าส่งผลทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำรงชีวิตของคนทั่วโลก และอาจส่งผลต่อค่านิยมของสังคมไทยที่มีต่อดนตรีได้ โดยในที่นี้จะกล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่อาจส่งผลให้ค่านิยมของสังคมไทยต่อดนตรีไทยเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้       1. กระแสความนิยมวัฒนธรรมตะวันตก กระแสวัฒนธรรมตะวันตก เป็นค่านิยมในสังคมไทยที่ปรากฏชัดเจนตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อคนไทยได้มีโอกาสไปศึกษาต่อยังประเทศในแถบยุโรปและอเมริกา กลุ่มคนดังกล่าวได้มีโแอกาสเรียนรู้และดำเนินชีวิตตามแนววัฒนธรรมที่แตกต่างไปจากประเพณีและวัฒนธรรมไทย เมื่อกลุ่มคนเหล่านี้กลับมาประเทศไทยก้ได้นำแนวคิด รูปแบบการดำเนินชีวิต และค่านิยมตะวันตกมาสู่สังคมไทยด้วย ซึ่งค่านิยมบางประการก็ได้สืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะรสนิยมในด้านความบันเทิงของคนไทยในด้านการชม การฟัง และบรรเลงดนตรีก็ได้เปลี่ยนแปลงไป 

ศ32102 ใบงานเรื่อง ขนบธรรมเนียมการปฏิบัติของดนตรีไทย

รูปภาพ
1.อะไรเป็นสาเหตุให้วัฒนธรรมประเพณีแบบโบราณกำลังเลือนหายไป 2.พิธีกรรมตามพจนานุกรม มีความหมายว่าอย่างไร 3.ประเพณีมีความหมายว่าอย่างไร 4.พิธีกรรมและประเพณี คือ อะไร 5.ทำไมถึงต้องรักษา ขนบธรรมเนียม ประเพณีเอาไว้

ขนบธรรมเนียมปฏิบัติของดนตรีไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

รูปภาพ
ขนบธรรมเนียมปฏิบัติของดนตรีไทย ประเทศไทยมีวัฒนธรรมและประเพณี ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เช่น พิธีกรรมทาง ศาสนา พุทธ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์อย่างแยกแยะไม่ได้ ผู้นำในการประกอบ พิธีกรรมต่างๆ ของท้องถิ่นตามภาคต่างๆ ของประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ชุมชนให้ความนับถือ  เมื่อมีการจัดพิธีดังกล่าวขึ้น คนในชุมชนที่มาร่วมพิธีจะเกิดความรักความสามัคคี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างความเจริญรุ่งเรืองและสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชุมนุมอย่างดียิ่ง ปัจจุบันวัฒนธรรมและประเพณีแบบโบราณกำลังเลือนหายไป ซึ่งคนสมัยใหม่มักจะละเลย แม้จะมีการ นำมาปฏิบัติอยู่บ้าง แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจขั้นตอนในเรื่องพิธีกรรมต่างๆ จึงทำให้มีการปฏิบัติ อย่างไม่ถูกต้อง ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย หากหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลรับผิด- ชอบ ไม่เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง อาจทำให้วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามมีความเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ  จนในที่สุดจะเลือนหายไปตามกาลเวลา วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น  ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต

สังคีตกวีดนตรีพื้นบ้าน

รูปภาพ
สังคีตกวีดนตรีพื้นบ้าน บทเพลงพื้นบ้านที่เราได้ฟังในทุกวันนี้มีอยู่มากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานอันทรงคุณค่าที่เกิดจากการ สร้างสรรค์ของ นักดนตรีพื้นบ้านไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังจะขอยกตัวอย่างประวัติและผลงาน ของสังคีตกวีดนตรีพื้นบ้านบางท่าน นำเสนอโดยสังเขป                                ตัวอย่าง  สังคีตกวีดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ                                           เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่                                                       ประวัติ    เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ เป็นศิลปินที่มีความรู้ ความสามารถในด้านการขับร้องเพลงไทย และเพลงพื้นบ้านล้านนา  ท่านเกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรีของเจ้า มรกตกับเจ้าเกี๋ยงคำ ณ เชียงใหม่ สามีชื่อร้อยตำรวจเอกเจ้าพรหมา ณเชียงใหม่ เติบโตอยู่ในวัง พระราชชายาเจ้าดารารัศมีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชการที่ 5 )  ฝึกหัดขับร้อง เพลงไทย เพลงพื้นเมืองและฟ้อนรำมาตั้งแต่เยาว์วัย การได้เป็นนางข้าหลวงในพระราชชายาเจ้า ดารัศมี ทำให้ได้เรียนรู้ ฝึกฝน สืบสานเพลงพื้นเมืองแ

ศ33102 ใบงานเรื่อง ดนตรีไทยกับสังคมไทย

รูปภาพ
1. ดนตรีไทยสะท้อนสังคมได้อย่างไร 2.สังคมไทยได้นำดนตรีมาใช้ในความเป็นอยู่ด้านใดบ้าง 3.อะไรคือสิ่งที่ทำให้ชาติอื่นได้รับรู้ถึงความเป็นไทย จงยกตัวอย่าง 4.นักเรียนมีแนวทางในการอนุรักษ์ดนตรีไทยอย่างไรบ้าง

ศ33101 ดนตรีไทยกับสังคมไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ค วามรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสังคมไทย

รูปภาพ
                    ดนตรีไทยเป็นสิ่งที่สะท้อนสังคมไทย เพราะดนตรีไทยเกิดจากจิตวิญญาณของคนไทยที่สร้าง สั่งสม และถ่ายทอดสือบต่อกันมาเป็นเวลานาน คนไทยใช้ดนตรีไทยสะท้อนความเบิกบาน ความสุข ความทุกข์โศก ทั้งในด้านการสนองอารมณ์ตนเองและความต้องการของสังคม การบรรเลงดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งเพื่อระบายความรู้สึกภายในของตนออกมาโดยไม่ปราถนาผู้รับฟังเป็นการถ่ายทอดโลกส่วนตัวอันล่ำลึกและทรงคุณค่าแก่ชีวิตมนุษย์ ในอันที่จะผ่อนคลายความหนักหน่วงของชีวิต และเพิ่มพละพลังให้ลุกขึ้นมาต่อสู้อีกครั้ง                                       เสียงดนตรีเป็นสื่อแห่งความสุข ทั้งแก่บรรดาผู้บรรเลงและผู้รับฟังยิ่งเมื่อมีการนำเสียงดนตรีแต่ละชนิดมาผสมผสานกันด้วยทำนองที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น เสียงดนตรีเหล่านั้นมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อสังคมไทย และสังคมไทยได้นำเสียงดนตรีมาใช้ในความเป็นอยู่ ประเพณีวัฒนธรรม การอบรมสั้งสอน ความสง่างาม ความเจริญรุ่งเรื่อง ความมีเกียรติยศ รวมไปถึงความเป็นชาติไทย                   การเลือกดนตรีไทยเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมประจำชาติเป็นสิ่งยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า นับเนื่องจากวันเวลา