บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2022

ประวัติความเป็นมาของละครไทย สมัยรัตนโกสินทร์

    สมัยรัตนโกสินทร์     ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 4 การแสดงนาฏศิลป์มีวิวัฒนาการออกมาในรูปโขน ละคร โดยมีองค์พระมหากษัตริย์เป็นองค์อุปถัมภ์และได้มีการรวบรวมข้อมูลไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อใช้ประโยชน์ในการอ้างอิง      สมัยรัตนโกสินทร์ตอนปลาย  ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบัน ด้วยเหตุที่วัฒนธรรมตะวันตกหลั่งไหลมาสู่ทวีปเอเชีย ลักษณะการแสดงละครไทยก็เปลี่ยนแปลงไปตามวิถีชีวิตของคนไทยในแต่ละสมัย  มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาผสมผสานกับการแสดง  รวมทั้งเกิดมีหน่วยงานและสถาบันการศึกษาแห่งชาติ คือ วิทยาลัยนาฏศิลป์  กรมศิลปากร ที่ทำหน้าที่โดยตรงในการอนุรักษ์เผยแพร่ศิลปะสาขานี้  ผลิตศิลปินและครูนาฏศิลป์  โขน ละคร ดนตรี ปี่พาทย์         1.สมัยรัชกาลที่ 1    พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯให้รวบรวมตำราฟ้อนรำ พัฒนาโขนในรูปแบบละครใน  และได้ไปเผยแพร่การแสดงที่ประเทศกัมพูชา       2.สมัยรัชกาลที่ 2   ศิลปะการละครในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นศิลปะที่ประณีตงดงาม พระองค์ทรงอุตสาหะในการปรับปรุงศิลปะละครฟ้อนรำของไทยให้มีความประณีต  รวบรัดทันใจผ

ความเป็นมาและวิวัฒนาการของละครไทย (สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี)

รูปภาพ
  1.ความเป็นมาของละครไทย ละครไทย   มีคุณค่ามากในฐานะที่เป็นที่รวมศิลปะสาขาต่างๆ  โดยเฉพาะศิลปะแขนงวิจิตรศิลป์และประณีตศิลป์  ซึ่งเป็นศิลปะแห่งความงาม  ที่มุ่งหมายเพื่อสนองความต้องการทางอารมณ์  สติ ปัญญา ก่อให้เกิดอารมณ์และสะเทือนใจ  ซึ่งแนวทางในการศึกษาละครไทยประเภทละครรำ  ผู้เรียนต้องเข้าใจบทบัญญัติของการแสดงแต่ละประเภท  ตลอดจนขนบธรรมเนียม  คติความเชื่อการบูชาเทพเจ้า ครู ผี ในการละครไว้ด้วย     จากหลักฐานที่ปรากฏในศิลาจารึก  ภาพเขียน  ภาพจำหลักในโบราณสถาน ภาพถ่าย  ตำราและเอกสารสิ่งพิมพ์ต่างๆ  สรุปได้ว่า  ทุกชาติทุกภาษามีการละครมาตั้งแต่สมัยดึกดำบรรพ์คู่กับมนุษยชาติ  ชนชาติไทยเป็นชนชาติที่มีอารยธรรม  ขนบธรรมเนียมประเพณีมาแต่โบราณ  ซึ่งมีตำนานที่แสดงถึงประวัติความเป็นมาของการละครไทยเกี่ยวกับละครรำ ทั้งที่เป็นละครพื้นบ้านและละครของราชสำนักบันทึกไว้      ตามตำราหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่า  ละครไทยมีมาตั้งแต่ครั้งสมัยโบราณแล้ว  โดยคนไทยมีนิทานเรื่องมโนราห์  ที่มีการนำมาแสดง และเล่าเป็นนิทานสืบต่อกันมาเป็นเวลาพันๆปี  แต่ในบางช่วงก็อาจสูญหาย  เสื่อมโทรมลงไปบ้าง  ครั้นเมื่อบ้านเมืองสงบ  มีกา

ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย

            นาฏศิลป์ไทยเป็นศิลปะการแสดงประจำชาติ เป็นสมบัติของชาติที่มีคุณค่าสูง เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์ไว้และได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งยังเป็นแบบแผนที่ยึดถือปฏิบัติแสดงถึงความเป็นเอกลักษณ์ของชาติ สืบทอดตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน การแสดงนาฏศิลป์เป็นการแสดงที่ใช้ท่ารำประกอบ เพื่อสื่อให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราวของการแสดง ให้ได้รับความเพลิดเพลินมีความสุขที่ได้ชมได้ฟัง เป็นการแสดงที่มีความวิจิตรงดงามมีลีลาอ่อนช้อยตามแบบอย่างไทย ทำให้เป็นที่ชื่นชอบของผู้ชม ความประณีตงดงามในศิลปวัฒนธรรมแขนงนี้ คนไทยทุกคนควรจะตระหนัก เห็นคุณค่า ร่วมกันอนุรักษ์ สืบทอดสืบสานและร่วมส่งเสริม เพื่อให้ศิลปะการแสดงนาฏศิลป์ไทยคงอยู่คู่ชาติไทยตลอดไป       ความหมายของ “นาฏศิลป์ไทย” คำว่า “นาฏศิลป์” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 มีความหมายว่า ศิลปะแห่งการละคร หรือการฟ้อนรำ        ประทิน พวงสำลี (2541, 1) กล่าวไว้ว่า นาฏศิลป์ หมายถึง การร้องรำทำเพลง การให้ความบันเทิงใจอันร่วมด้วยความโน้มเอียงของอารมณ์และความรู้สึก ส่วนสำคัญส่วนใหญ่ ของนาฏศิลป์ อยู่ที่การละครเป็นเอก หากแต่ศ

วิชานาฏศิลป์ ม.๔

 หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑  นาฏยวิเคราะห์ คุณค่าและประโยชน์ของนาฏศิลป์ ใบงาน เรื่องคุณค่าแลัประโยชน์ของนาฏศิลป์ ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์ไทย ความเป็นมาและวิวัฒนาการของละครไทย (สมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา สมัยธนบุรี) ประวัติความเป็นมาของละครไทย สมัยรัตนโกสินทร์ ใบงาน เรื่อง ประวัติความเป็นมาของนาฏศิลป์และละครไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ นาฏยรูปแบบการแสดง ประเภทของนาฏศิลป์ไทย ใบงาน เรื่อง ประเภทนาฏศิลป์ไทย การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของไทยในแต่ละท้องถิ่น (ภาคเหนือและภาคกลาง) การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของไทยในแต่ละท้องถิ่น (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้) ใบงาน เรื่องการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ ใบงาน เรื่องบุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 นาฏยวิจารณ์ หลักการชมการแสดงนาฏศิลป์และละคร หลักการวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์และละคร หลักการประเมินคุณภาพของการแสดงนาฏศิลป์และละคร ใบงาน เรื่องนาฏยวิจารณ์