บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤศจิกายน, 2021

ศิลปะประยุกต์ (applied art)

รูปภาพ
       ศิลปะประยุกต์  (applied art)   หมายถึง  งานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ขึ้นโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อแสดงความงามร่วมกับประโยชน์ใช้สอย  โดยใช้หลักทฤษฎีของทัศนศิลป์แขนงต่างๆ  เพื่อให้ผลงานสอดประสานกลมกลืนเข้ากับวิถีชีวิตประจำวัน  จนเกิดความพอดีทั้งในด้านคุณภาพและความสวยงามควบคู่กันไป    การสร้างสรรค์ผลงานในลักษณะนี้ผู้บริโภคคือโจทย์สำคัญในการสร้างสรรค์  เนื่องจากตัวผลงานจะต้องเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค  ซึ่งศิลปินต้องมีความเชี่ยวชาญในทางทฤษฎีและการปฏิบัติผลงาน  จึงจะผนวกเอาความงามทางทัศนศิลป์และจุดประสงค์ในผลงานให้เป็นหนึ่งเดียวกัน  ผลงานในลักษณะนี้สามารถซื้อขายกันอย่างถูกต้องเป็นธุรกิจศิลป์  สร้างอาชีพได้อย่างมั่นคง     ผลงานศิลปะประยุกต์แบ่งเป็น ๔ ประเภท  ดังนี้     ๑) มัณฑนศิลป์  (decorative art)   หมายถึง งานทัศนศิลป์ที่เกี่ยวข้องกับการตกแต่งภายในและภายนอกอาคาร  ให้เกิดความสวยงามควบคู่กับประโยชน์ใช้สอยมากขึ้น  มัณฑนศิลป์ เป็นส่วนหนึ่งของงานสถาปัตยกรรม  ช่วยส่งเสริมให้งานก่อสร้างมีความสวยงามและน่าอยู่อาศัยผู้สร้างสรรค์ผลงานลักษณะนี้ เรียกว่า  มัณฑนากร  (decorator)         ผลงานมัณฑศิลป์แบ

สถาปัตยกรรม (architecture)

รูปภาพ
     สถาปัตยกรรม  (architecture)  หมายถึง  ผลงานศิลปะที่เกิดจากการออกแบบโครงสร้างและการก่อสร้างด้วยกรรมวิธีการสร้างสรรค์แบบต่างๆ  ให้เป็นรูปทรงทางความงามและทางประโยชน์ใช้สอย   มีลักษณะสามมิติ  เพื่อไว้เป็นที่อยู่อาศัย  และเป็นปูชนียสถานหรือเป็นอนุสาวรีย์ ผู้ออกแบบสร้างสรรค์งานสถาปัตยกรรม  เรียกว่า    สถาปนิก        กรรมวิธีการก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมมีอยู่หลายลักษณะ  เช่น   โครงสร้างแบบวางพาด  โครงสร้างแบบยึดโยง โครงสร้างแบบแขวน เป็นต้น         ประเภทของงานสถาปัตยกรรม        งานสถ่าปัตยกรรมแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท  ได้         ๑.สถาปัตยกรรมแบบเปิด   เป็นสถาปัตยกรรมที่สร้างขึ้น โดยมีจุดประสงค์สำหรับไว้ใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง  เช่น อาคารบ้านเรือนใช้เป็นสถานที่พักอาศัย  อาคารเรียนใช้เป็นสถานศึกษา  อาคารในโรงพยาบาลใช้เป็นสถานที่ดูแลรักษาผู้ป่วย  โบสถ์ใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา เป็นต้น  พระอุโบสถวัดนิเวศธรรมประวัติราชวรวิหาร อำเภอบางปะอิน  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นสถาปัตยกรรมแบบเปิด  สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา        ในการออกแบบงานสถาปัตยกรรมแบบเปิดนี้  ผู้ออก

IS2

ใบความรู้ที่ 1 ฟอร์มการเขียนรายงาน ตัวอย่างสารบัญ ตัวอย่างสารบัญตาราง ตัวอย่างบทคัดย่อ ตัวอย่างบทที่ 1 บทนำ ตัวอย่างบทที่ 2 แบบทดสอบวัดผลกลางภาค

ประเภทของงานประติมากรรม

รูปภาพ
       งานประติมากรรมซึ่งมีรูปทรงสามมิติ  นิยมสร้างกัน  ๓ ลักษณะใหญ่ๆ  ได้แก่       ๑.รูปแบบนูนต่ำ (bas  relief)   เป็นประติมากรรมที่มีรูปทรงนูนขึ้นมาจากพื้นหลังเพียงเล็กน้อย  สามารถมองเห็นความงามของรูปได้จากด้านหน้าด้านเดียว  แผ่นหินของพระเจ้านาร์เมอร์  (Palette  of  Narmer) ประติมากรรมบนแผ่นหิน  ศิลปะอียิปต์ แสดงภาพนูนต่ำฟาโรห์นาร์เมอร์หรือฟาโรห์เมนิส กำลังลงอาญาศัตรู เหรียญวัตถุมงคล ประติมากรรมโลหะรูปแบบนูนต่ำ         ๒.รูปแบบนูนสูง (high  relief)    เป็นประติมากรรมที่มีลักษณะคล้ายกับแบบนูนต่ำ  แต่จะมีความต่างกันที่ส่วนของรูปจะนูนสูงขึ้นมาจากพื้นหลังมากกว่า  ซึ่งสามารถรับรู้ความงามของรูปทรงได้ทั้ง   ๓ ด้าน  คือ ความงามทางด้านหน้า  ความทางด้านข้างของด้านขวา  และความทางด้านข้างของด้านขวา Cristo  morto ประติมากรรมสลักไม้รูปแบบนูนสูง ผลงานของโดนาเตลโล (Donatello) ประติมากรรมนูนสูง ตกแต่งสะพานมหาดไทย   (สะพานร้องไห้) กรุงเทพมหานคร         ๓.รูปแบบลอยตัว (freestanding  sculpture)  เป็นประติมากรรมที่สามารถรับรู้ความงามจากการมองเห็นได้รอบด้าน  ไม่มีพื้นหลังของภาพ  แต่ต้องมีฐานรองรับน้ำหนักเ

ประติมากรรม

        ประติมากรรม (sculpture)    หมายถึง ผลงานศิลปะที่เกิดจากการสร้างสรรค์ด้วยวิธีการปั้น   การแกะสลัก  การหล่อแบบ  การเชื่อม  ปะ  ติด   การทุบ  ตี  เคาะ  โดยอาศัยดิน  ไม้  หิน  โลหะ  แก้ว   พลาสติก   น้ำแข็ง   และวัสดุอื่นๆ  เป็นสื่อแสดงทางความงามของรูปทรง  ทางสาระ  และทางอารมณ์ความรู้สึก   มีลักษณะเป็นรูปสามมิติ       คำที่ใช้เรียกชื่อผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยกลวิธีเหล่านี้  ในภาษาไทยมีอยู่  ๒ คำ คือ  ประติมากรรม   และ ปฏิมากรรม   คำว่า ประติมากรรม   เป็นคำที่ใช้เรียกผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นรูปผลงานโดยรวมทั่วไป  เช่น รูปคน  รูปสัตว์  รูปสิ่งของ  รูปทรงตามความคิดสร้างสรรค์   เป็นต้น          ส่วนคำว่า  ปฏิมากรรม    เป็นคำที่ใช้เรียกผลงานที่สร้างสรรค์ขึ้นเป็นรูปเคารพในศาสนา  เช่น พระพุทธรูป    ดังที่เราจะเคยพบเห็นการใช้ภาษาเขียนว่า    องค์พระปฏิมา   เป็นต้น   สำหรับผู้สร้างสรรค์งานประติมากรรม  เรียกว่า  ประติมากร  และ  ปฏิมากร

ประเภทของงานจิตรกรรม

รูปภาพ
                 งานจิตรกรรมหรืองานที่แสดงบนพื้นระนาบในลักษณะสองมิติ  โดยใช้วิธีการวาดเส้น (drowing) และระบายสี (painting) เป็นหลัก  แบ่งตามลักษณะของผลงานได้ดังนี้         ๑. ภาพคนเหมือน (portrait)   เป็นภาพเขียนคนตั้งแต่บริเวณศรีษะถึงเอว  มีจุดมุ่งหมายเพื่อบันทึกให้เหมือนบุคคลนั้นๆ  ช่วง  มูลพินิจ เทคนิคสีชอล์ก ผลงานของวัชระ  กล้าค้าขาย     ๒.ภาพคน  (human  figure)    เป็นภาพเขียนคนเต็มตัว  เพื่อแสดงความงามของสัดส่วนทางกายวิภาคในอิริยาบถต่างๆ  ถ้าเป็นภาพเปลือย  เรียกว่า   ภาพนู้ด  (nude) The  Bather เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ ผลงานของวิลเลียม  อโดล์ฟ  บูเกอโร (William  Adolphe  Bouguereau) Madam  Recamie เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ ผลงานของฟรองซัว  ปาสกาล ซีมอน เกราร์ด (Francois Pascal   Simon  Ge'rard)     ๓.ภาพสัตว์  (animal) เป็นภาพเขียนถ่ายทอดความงามของสัตว์ชนิดต่างๆ  ทั้งสัตว์ปีก  สัตว์บก และสัตว์น้ำ Lilac  Breasted  Roller เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ ผลงานของเดวิด   วิลเลค  (David  Villec)     ๔.ภาพทิวทัศน์ (Landscape)   เป็นภาพเขียนบันทึกความงามของภูมิประเทศและบรรยากาศเพื่อเก็บไว้ชื่นชม  ภา

วิจิตรศิลป์

รูปภาพ
        วิจิตรศิลป์  (fine  art)    หมายถึง งานทัศนศิลป์ที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อความงาม  แสดงสุนทรียภาพมากกว่าประโยชน์ใช้สอย  ผลงานจะเน้นอารมณ์ความรู้สึก  ความละเอียดอ่อน ซึ่งอาจเรียกทัศนศิลป์ประเภทนี้ว่า    ศิลปะบริสุทธิ์  (pure art)   เนื่องจากศิลปินสร้างสรรค์ผลงานด้วยจินตนาการที่ลึกซึ้ง  มีจุดประสงค์เพื่อถ่ายทอดคุณค่าความงามเป็นหลัก           ทัศนศิลป์ เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจิตรศิลป์  ซึ่งเป็นศิลปะที่เน้นคุณค่าทางด้านจิตใจและอารมณ์เป็นสำคัญ          ทัศนศิลป์  มีความหมายตรงกับภาษาอังกฤษว่า   visual art  หมายถึง  ศิลปะที่มองเห็นหรือศิลปะที่สามารถสัมผัส   รับรู้  ชื่นชมด้วยประสาทตา  และสัมผัสจับต้องได้  ทัศนศิลป์แบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ  เช่น  จิตรกรรม  ประติมากรรม  สถาปัตยกรรม  เป็นต้น         1) จิตรกรรม  (painting) หมายถึง ผลงานศิลปะที่เกิดจากการขีดเขียน  ระบายสี  โดยถ่ายทอดความงาม  อารมณ์ความรู้สึก  และความคิดสร้างสรรค์ลงบนพื้นระนาบรองรับ  เช่น กระดาษ  แผ่นไม้  ผ้าใบ  ฝาผนัง  เป็นต้น  ลักษณะของจิตรกรรมเป็นงานแบบสองมิติ  คือ มีความกว้างและความยาว  ส่วนความรู้สึกว่าภาพมีความตื้นลึก  ร

วิชาทัศนศิลป์ ม.๕

รูปภาพ
  หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ การสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ จุดประสงค์ของงานทัศนศิลป์ วิจิตรศิลป์ ประเภทของงานจิตรกรรม ใบงานเรื่อง จิตรกรรม ประติมากรรม ประเภทของประติมากรรม ใบงาน เรื่องประติมากรรม สถาปัตยกรรม ศิลปะประยุกต์ ใบงาน เรื่อง สถาปัตยกรรมและศิลปะประยุกต์ เนื้อหาของงานทัศนศิลป์ ใบงาน เรื่องเนื้อหาของงานทัศนศิลป์ แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ เทคโนโลยีและการออกแบบสร้างสรรค์งานทัศนศิลป์ หลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์ ใบงาน เรื่อง หลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์ (เอกภาพและความสมดุล) ใบงาน เรื่อง หลักการออกแบบและการจัดองค์ประกอบศิลป์ (จุดเด่น ความกลมกลืนและความขัดแย้ง) ภาพล้อเลียน (caricature) และ ภาพการ์ตูน (cartoon) แบบทดสอบวัดผลปลายภาค

จุดประสงค์ของงานทัศนศิลป์

รูปภาพ
           จุดประสงค์ของงานทัศนศิลป์  คือ  การถ่ายทอดความงามของสิ่งต่างๆ จากประสบการณ์ ความคิด และจินตนาการให้ผู้ชมได้รับรู้               ศิลปินถือเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์  ศิลปินจึงเป็นผู้กำหนดจุดประสงค์ของผลงาน  หากศิลปินไม่มีจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ผลงานก็เท่ากับว่าศิลปินยังไม่ได้ลงมือปฏิบัติงาน ฉะนั้นการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ย่อมต้องมีจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ทั้งสิ้น            จุดประสงค์ของงานทัศนศิลป์เพื่อ       - การสร้างคุณค่าทางความรู้สึกนึกคิด  อารมณ์  ซึ่งนำเสนอในรูปแบบของศิลปะบริสุทธิ์ หรือ วิจิตรศิลป์      - การแสดงความงามร่วมกับการใช้สอย  หรือ การดัดแปลง หรือ เรียกว่า ศิลปะประยุกต์ vase of chrysanthemums เทคนิคสีน้ำมันบนผ้าใบ ผลงานของปีแยร์ โอกูสต์ เรอนัวร์ (Pierre  Auguste  Renior) ศิลปินมีจุดประสงค์ในการสร้างสรรค์ เพื่อถ่ายทอดความประทับใจในความงามของดอกไม้และแจกัน