บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2019

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

รูปภาพ
 เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ทางดนตรีสากลที่ประดิษฐ์ขึ้น  เพื่อใช้ในการบันทึกบทเพลงต่างๆมิให้สูญหาย และเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล มีดังนี้       1.  บรรทัด 5 เส้น  (Staff)             บรรทัด 5 เส้น เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ผู้เรียนดนตรีสากลควรทราบต่อจากตัวโน้ตและตัวหยุด  เป็นสิ่งที่แสดงว่าตัวโน้ตที่บันทึกลงในบรรทัด  5 เส้นนี้มีระดับใด เสียงสูง  หรือต่ำ กว่าตัวโน้ตตัวอื่นๆ  หรือไม่        ลักษณะของบรรทัด 5 เส้น หรือเส้นบันทึกโน้ต เป็นเส้นตรงแนวนอน  5 เส้น ที่ขนานกันและมีระยะห่างเท่าๆกัน ใช้สำหรับบันทึกตัวโน้ตและตัวหยุด       วิธีการนับเส้นและช่อง จะนับจากเส้นข้างล่างขึ้นไปหาเส้นข้างบน ดังนี้         นอกจากบรรทัด 5 เส้น ซึ่งใช้เป็นหลักในการบันทึกตัวโน้ต  และตัวหยุดแล้ว  ยังมีเส้นที่ใช้ขีดใต้ บรรทัด 5 เส้น หรือ เหนือบรรทัด 5 เส้น เป็นเส้นสั้นๆ ที่ใช้ขีดเฉพาะตัวโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำกว่า หรือมีระดับเสียงสูงกว่าเส้นที่ปรากฏในบรรทัด 5 เส้น เรียกเส้นสั้นๆนี้ว่า   เส้นน้อย  (Ledger Line)           2. ลักษณะตัวโน้ต และตัวหยุด               1) ตัวโน้ต   คือ เครื่องหมายที่ใช้บันทึกแสด

ดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ

ดนตรีในวัฒนธรรมจีนและอินเดีย ดนตรีในวัฒนธรรมกัมพูชาและเวียดนาม ดนตรีในวัฒนธรรมพม่าและอินโดนีเซีย

องค์ประกอบ แลพประเภทของดนตรีสากล

รูปภาพ
        1. องค์ประกอบของดนตรีสากล             องค์ประกอบที่สำคัญในการศึกษาดนตรีสากล มีดังนี้             1. จังหวะ (Time or Rhythm)   จังหวะ คือ การเคลื่อนไหวที่กระทำอย่างต่อเนื่อง สม่ำำำำำำำเสมอ สามารถสังเกตได้คล้ายกับการเต้นของหัวใจ  จังหวะของเพลงจะดำเนินอยู่เรื่อยไปไม่มีการหยุด  ในทางดนตรีสากลอาจ หมายถึง จังหวะเ้นในแต่ละเพลง ซึ้งนิยมแบ่งกว้างๆ ได้  แบบ คือ เพลง 2 จังหวะ เพลง 3 จังหวะ  และเพลง 4 จังหวะ               2. ทำนอง (Melody)  ทำนอง คือ การนำเอาระดับเสียงสูง - ต่ำ ทางดนตรี และความสั้น - ยาวของเสียงเหล่านั้นมาร้อยเรียงให้เกิดความไพเราะตามหลักการทางดนตรี  อาจจำแนกทำนองได้เป็น 2 ลักษณะ คือ ทำนองที่แสดงออกถึงความร่าเริง  สดใสและทำนองที่ถ่ายทอดความรู้สึกที่ซึมเศร้า สิ่งที่ทำให้ได้ผลแตกต่างกันเช่นนี้  เนื่องจากการเลือกที่แตกต่างกันนั่นเอง                  3. เสียงประสาน  (Harmony)  เสียงประสาน คือ เสียงตั้งแต่  2 เสียงขึ้นไป เกิดขึ้นในเวลาเดียวกัน  และมีความกลมกลืนกันในแนวตั้งหรือแนวดิ่ง  เสียงประสานเปรียบเสมือนพื้นหลังของภาพ เป็นส่วนประกอบที่เน้นให้จังหวะ และทำนองใ

ความหมาย และประเภทของการขับร้อง

        การขับร้อง   หมายถึง การเปล่งเสียงออกมาเป็นถ้อยคำ  เสียงสูง - ต่ำตามทำนองที่มีจังหวะกำหนดแน่นอน โดยคำว่า "ขับ" กับคำว่า "ร้อง"       การขับ หมายถึง การเปล่งเสียงสูง - ต่ำ เป็นทำนองตามบทเพลง  หรือบทกวีนิพนธ์โดยเน้นคำเป็นสำคัญ ไม่มีการกำหนดความสั้น - ยาวของเสียง  หรือจังหวะที่แน่นอน  เช่น การแหล่ การขับกล่อม ขับเสภา  ขับลำนำ การแอ่ว เป็นต้น     การร้อง   หมายถึง การเปล่งเสียงออกมาเป็นทำนองเพลงที่มีจังหวะแน่นอน     การขับร้องเพลงไทย แบ่งเป็น ๔ ประเภท ดังนี้     ๑. การขับร้องอิสระ          การขับร้องอิสระ หมายถึง การขับร้องที่ไมีการบรรเลงดนตรีมาเกี่ยวข้อง  โดยที่ผู้ขับร้องสามารถกำหนดเสียงสูง - ต่ำ ได้ตามความพอใจ  ไม่ต้องคำนึงถึงระดับเสียงของเครื่องดนตรี แต่ต้องรักษาระดับเสียงให้คงที่ ไม่เพี้ยน อีกทั้งต้องระมัดระวังบทร้องให้ถูกต้องตามแบบฉบับ เช่น การฝึกหัดขับร้องในห้องเรียน เป็นต้น    ๒. การขับร้องประกอบดนตรี         การขับร้องประกอบดนตรี  หมายถึง การขับร้องประกอบการบรรเลงเครื่องดนตรีอาจจะบรรเลงรวมเป็นวงหรือไม่เป็นวงก็ได้  การขับร้องประเภทนี้ผู้ขับร้องต