บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2018

หลักการและวิธีการจัดแสดงดนตรีไทยในวาระต่างๆ

รูปภาพ
       หลักการจัดแสดงดนตรีไทย      การบรรเลงดนตรีไทยมีบทบาทต่อสังคมและวัฒนธรรมไทยในหลายลักษณะ  ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึงลักษณะการจัดแสดงดนตรีไทยที่พบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน   ดังต่อไปนี้       ๑) การจัดแสดงดนตรีไทยเพื่อประกอบพิธีกรรม   เป็นสารเสริมสร้างงานให้บังเกิดความสมบูรณ์ เพราะความหมายของดนตรีพิธีกรรมนั้นมีขั้นตอนและขนบธรรมเนียมปฏิบัติต่อกันมา เช่น การบรรเลงเพลงโหมโรง  เพื่อบูชาพระรัตนตรัยและอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธฺ์ให้มาอำนวยพรแก่พิธีที่กำหนดขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการประกาศให้รับรู้ว่างานที่กำหนดจัดได้เริ่้มต้นแล้วเป็นต้น  การบรรเลงดนตรีพิธีกรรมพบได้ในงานบุญ  งานพิธีกรรมต่างๆ ที่วัด  บุคคล หรือหน่วยงานต่างๆจัดขึ้น  นอกจากนี้ ก็มีงานพิธีไหว้ครู  พิธีทำขวัญนาค  เป็นต้น       ๒) การจัดแสดงดนตรีไทยเพื่อประกอบการแสดง   ซึ่งจะขึ้นอยู่กับรูปแบบของการแสดง  เช่น ละครใน  ละครนอก หุ่นกระบอก ลิเก ละครแนวประยุกต์ เป็นต้น เพราะเพลงที่ใช้ในการแสดงแต่ละประเภทจะมีลักษณะของเพลงที่แตกต่างกัน เช่น ระบบทางนอก ทางใน การประสมวง การเลือกเพลงหน้าพาทย์  เป็นต้น       ๓) การจัดแสดงดนตรีไทยเพื่อการแข่งขัน

ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี

รูปภาพ
    การสร้างสรรค์บทเพลง  หรือประพันธ์เพลงไทยแต่ละเพลง  เปรียบได้กับการประพันธืบทร้อยกรองในลักษณะต่างๆ เช่น  โคลง  ฉันท์  กาพย์   กลอน เป็นต้น เพราะการสร้งสรรค์บทเพลงไทยจะต้องพิจารณษนำเสียงแต่ละเสียงมาเรียบเรียงให้สอดประสานกลมกลืนกันอย่างเหมาะสมสามารถสื่ออารมณ์ความรู้สึกต่างๆ ตามที่ตนต้องการถ่ายทอดให้แก่ผู้ฟังได้  ขณะเดียวกันต้องคำนึงถึงรูปแบบของเพลงแต่ละประเภทให้เป็นไปตามแบบแผนที่กำหนดไว้ด้วย เช่นเดียวกับการประพันธ์บทร้อยกรองต่างๆ ที่ผู้ประพันธ์ต้องคัดสรรคำแต่ละให้มีทั้งเสียงและความหมาที่สัมผัสคล้องจองกัน  มีสัมผัสใน  สัมผัสนอก  แบ่งวรรคตอนให้ครบถ้วนตามแบบแผนที่กำหนดไว้ โดยปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี มีดังนี้         ๑) ธรรมชาติ   เป็นสิ่งหนึ่งที่มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อจินตนาการของผู้ประพันธ์บทเพลงไทย  การได้เห็นธรรมชาติที่สวยงามไม่ว่าจะเป็นภูเขา  นำ้ตก ทะเล ต้นไม้ ดอกไม้ หรือได้ยินได้ฟังเสียงของสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น เสียงคลื่น   ลม น้ำตก ฝน ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เสียงร้องของสัตว์ต่างๆ เป็นต้น ย่อมทำให้ศิลปิน  หรือผู้ที่ได้สัมผัสสิ่งต่างๆเหล่า่นั้น  เกิดจิน

ทักษะพื้นฐานทางดนตรีไทย

รูปภาพ
        หลักการขับร้องเพลงไทย         การขับร้องเดี่ยว   คือการขับร้องคนเดียว  ผู้ขับร้องต้องมีความมั่นใจ มีความสามารถในการสอดแทรกเทคนิคต่างๆ ในการขับร้องอย่างเหมาะสม โดยมีข้อปฏิบัติ ดังต่ไปนี้        ๑. ดูแลและควบคุมระดับเสียงให้แจ่มใส คงที่ ตรงตามระดับเสียงดนตรี ไม่เพี้ยน หรือปีบเสียงสูงเกินไป ทำนองและจังหวะถูกต้องครบถ้วน        ๒. การออกเสียงคำ  การแบ่งวรรคตอนคำร้องถูกต้อง เหมาะสม ตรงตามความหมายที่ผู้ประพันธ์กำหนด        ๓. การผ่อนลมหายใจ  ต้องแบ่งให้สม่ำเสมอ  เหมาะสมกับคำร้องและทำนอง เพราะถ้าผ่อนลมหายใจไม่ถูกต้อง  จะทำให้คำร้องและทำนองไม่ชัดเจน  หรือไม่ต่อเนื่อง       ๔. ไม่ควรแสดงท่าทาง หรือสีหน้าขณะขับร้อง  มีสมาธิ ไม่วอกแวกขณะขับร้อง บทเพลงที่นิยมใช้ขับร้องเดี่ยวจะมีเนื้อหาที่ไม่ยาวจนเกินไป  ส่วนใหญ่จะเป็นเพลงอัตราจังหวะสามชั้นและเพลงเถา เช่น เพลงราโคสามชั้น เพลงราตรีประดับดาวเถา  เป็นต้น           การขับร้องหมู่   คือการขับร้องตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป  เน้นความพร้อมเพรียงเป็นหนี่งเดียว   ผู้ขับร้อง จะปฏิบัติเช่นเดียวกับการขับร้องเดี่ยว  เพียงแต่มีเพิ่มเติมบางประการ ดังต่อไ

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีไทย

          ๑. โน้ตเพลงไทย            โน้ตเพลงไทย มีหลายลักษณะทั้งงที่ใช้ตัวเลขแทนเสียงและใช้ตัวอักษรไทยแทนเสียง ในปัจจุบันนิยมใช้ตัวอักษรแทนเสียง เสียงของดนตรีไทยมีทั้งหมด ๗ เสียง  แต่ละช่วงเสียงห่างกัน ๑ เสียงเต็มเท่ากันทุกเสียง  ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงตัวโน้ตของไทย  ได้แก่  ด ใช้แทนเสียง  โด  ตัว ร   ใช้แทนเสียง  เร   ตัว  ม ใช้แทนเสียง มี  ตัว ฟ ใช้แทนเสียง ฟา  ตัว  ซ ใช้แทนเสียง ซอล  ตัว ล ใช้แทนเสียง ลา และ ตัว ท   ใช้แทนเสียง  ที         ในการบันทึกโน้ต  ถ้าโน้ตระดับเสียงขึ้นเป็นคู่ ๘ กำหนดให้ใช้เครื่องหมาย  ํ โดยเขียนไว้บนตัวโน้ต เช่น ดํ   รํ   มํ เป็นต้น           ๒. รูปแบบการบันทึกโน้ตเพลงไทย          การบันทึกโน้ตเพลงไทยโดยทั่วไป  บรรทัดหนึ่งจะแบ่งเป็น ๘ ห้อง เท่าๆกัน ดังนี้         ในแต่ละห้องเพลงจะประกอบไปด้วยตัวอักษณที่ใช้แทนเสียงตัวโน้ต ๔ ตัว เสียงตัวโน้ตมีทั้งสั้นและยาว ในการบันทึกโน้ตเสียงยาวจะใช้สัญลักษณ์ - แทนความยาวของจังหวะ - มีค่าเท่ากับความยาวของโน้ต ๑ ตัว ถ้ายาวมากก็ให้เพิ่มจำนวนสัญลักษณ์ตามขนาดความยาวของ

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)

รูปภาพ
   สมัยรัตนโกสินธ์    ดนตรีในสมัยรัตนโกสินทร์มีการพัฒนาต่อเนื่องมาจากดนตรีไทยในสมัยอยุธยา สามารถกล่าวในแต่ละช่วงของรัชกาลได้  ดังต่อไปนี้   1. สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก มหาราช   (รัชกาลที่ 1 )   พระองค์ได้ทรงฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมขึ้น  โดยทรงพระราชนิพนธ์เรื่องรามเกียรติ์และเรื่องดาหลังให้สมบูรณ์  ซึ่งเป็นวรรณคดีที่มีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา  โดยวรรณคดีทั้ง 2 เรื่อง ใช้ในการแสดงโขนและการแสดงละคร จึงนับเป็นรากฐานสำคัญที่ทำให้บทเพลงต่างๆ ในอดีตถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้ง  เพราะละครไทยต้องอาศัยเพลงบรรเลงประกอบ     นอกจากนี้  ครูดนตรีได้เพิ่มกลองทัดขึ้นในวงปี่พาทย์อีกลูกหนึ่ง  ซึ่งแต่เดิมวงปี่พาทย์จะมีกลองทัดเพียงลูกเดียว ลูกที่เพิ่มขึ้นเสียงต่างออกไป   ทำให้เกิดเสียง 2 เสียงขึ้น  คือ เสียงสูงตีดัง  ต้อม  ดดยจะเรียกลูกที่มีเสียงสูงว่า  ตัวผู้  และลูกเสียงที่มีเสียงต่ำจะเรียกว่า  ตัวเมีย     2. สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  (รัชกาลที่ 2 )   ในสมัยนี้ดนตรีไทยได้เจริญรุ่งเรืองขึ้น  โยยพระองค์ทรงส่งเสริมด้านวรรณคดีและการละคร  ทรงพระราชนิพนธ์เรื่อง อิเหนาและเรื่องรามเกียรติ์ขึ้นอี

ลักษณะของบทเพลงไทย

รูปภาพ
     ลักษณะของบทเพลงไทยมีหลากหลายลักษณะคล้ายบทร้อง  โดยเริ่มจากวรรคหลายวรรคเป็ยบาท และหลายบาทเป็นบท  โดยลักษณะของบทเพลงไทยสามารถจำแนกได้ดังนี้     1. วรรค ส่วนหนึ่งของทำนองเพลงที่กำหนดโดยความยาวของจังหวะหน้าทับ ทำนองเพลง 1วรรค มีความยาวเท่ากับ 1 จังหวะหน้าทับ       2. ท่อน   ทำนองเพลงที่มีความยาวตั้งแต่ 2 วรรค ขึ้นไป ที่นำมาเรียบเรียงติดต่อกันเป็นส่วนหนึ่งของบทเพลง       3. จับ   มีความหมายเดียวกันกับ  ท่อน แต่ใช้เรียกทำนองเพลงเชิดนอกที่ใช้ปี่นอกบรรเลงประกอบการแสดงหนังใหญ่  โดยการแสดงแต่ละครั้งคนเชิดจะเชิดหนังจับออกมา 3 คู่ ในแต่ละคู่ ผู้บรรเลงปี่นอกจะต้องบรรเลงเพลงเชิดนอก 1จับ  ดังนั้น ในการบรรเลงเพลงเชิดนอกที่ถูกต้อง จึงต้องบรรเลงให้ครบทั้ง 3 จับ       4. ตัว   มีความหมายเดียวกับ ท่อน และ จับ ต่างกันเพียง   ตัว  ใช้สำหรับเรียกสัดส่วนของเพลงบางประเภท  ได้แก่ เพลงตระ และเพลงเชิดต่างๆ  ยกเว้นเพลงเชิดนอกที่เรียกเป็น  จับ อีกทั้งเพลงที่นับเป็นตัวจะมีลักษณะพิเศษ  คือ ทำนองตอนท้ายของทุกตัวนั้นจะลงท้ายเหมือนกัน     5. เพลง   ทำนองที่ดุริยกวีได้ประพันธ์ขึ้นจากจินตนาการของตนหรือแรงบันดา

องค์ประกอบของดนตรีไทย

   องค์ประกอบของดนตรีไทย ดนตรีไทยที่มีความไพเราะน่าฟัง  จะประกอบไปด้วยส่วนสำคัญต่างๆ ดังนี้    1. เสียงดนตรี    เสียงที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นมา  โดยนำเสียงต่างๆ มาจัดระบบให้ได้สัดส่วน มีความกลมกลืนกัน  โดยทั่วไปแล้วเสียงดนตรีเกิดจากเสียงของเครื่องดนตรี  และเสียงร้องเพลงของมนุษย์ เสียงของดนตรีจะมีความไพเราะน่าฟังเพียงใดขึ้นอยู่กับทักษะการเรียบเรียงเสียงประสานของศิลปิน        2. ทำนอง    เสียงต่ำ  เสียงสูง  เสียงสั้น  เสียงยาว เสียงทุ้ม เสียงแหลมของดนตรีหรือบทเพลง ทำนองของดนตรีหรือทำนองของบทเพลงแต่ละเพลงนั้น มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของผู้ประพันธ์เพลง  ว่าต้องการสร้างสรรค์ให้บทเพลงนั้นๆ มีทำนองเป็นไปในรูปแบบใด เช่น ทำนองที่ฟังแล้วเศร้าสร้อย  โหยหวน  คึกคัก เข้มแข็ง  ฮึกเหิม เป็นต้น โดยทั่วไปแล้วผู้ประพันธ์นิยมประพันธ์แนวทำนองหลัหรือแนวเนื้อทำนองนำของบทเพลงก่อนเพิ่มเติมรายละเอียดของบทเพลง       3. จังหวะ   การเคลื่อนไหวที่สม่ำเสมอ  อาจกำหนดไว้เป็นควาช้า - เร็วต่างกัน  เช่น เพลงจังหวะช้า เพลงจังหวะเร็ว  ในทางดนตรีการกำหนดความสั้น - ยาวของเสียงที่มีส่วนส