บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กุมภาพันธ์, 2018

แบบทดสอบวัดผลปลายภาค ม.5

แบบทดสอบวัดผลปลายภาค ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี

รูปภาพ
WINKWHITE

ศัพท์สังคีตในดนตรีสากล

รูปภาพ
              ศัพท์สังคีตหรือศัพท์ทางดนตรี  นอกจากโน้ตสากลและเครื่องหมายทางดนตรีที่เห็นโดยทั่วไปแล้วยังมีคำศัพท์ที่ใช้ในวงการดนตรีเพื่อให้เกิดลีลาและอารมณ์เพลงตรงตามความต้องการของผู้ประพันธ์ที่นักร้องและนักดนตรีต้องเข้าใจความหมายศัพท์สังคีต หรือ คำศัพท์ทางดนตรีนั้น ส่วนมากภาษาที่ใช้เป็นจะเป็นภาษาอังกฤษ  ภาษาอิตาลี ภาษาฝรั่งเศส   ภาษาเยอรมัน ภาษาสเปน เป็นต้น  แต่คำศัพท์ทั้งหลายในแต่ละภาษานั้น  มีรากศัพท์มาจากที่เดียวกันคือภาษากรีก ภาษาละติน  ซึ่งนักเรียน ไม่จำเป็นต้องท่องจำให้ได้  เพียงแค่นักเรียนพยายามอ่านบ่อยๆ จึงจะทำให้นักเรียนสามารถรู้ความหมายของคำเหล่านั้นได้เอง ในที่นี้ขอยกตัวอย่างศัพท์สังคีตในดนตรีสากลที่ควรศึกษา ดังนี้ WINKWHITE

ประเภทของเพลงสากล

รูปภาพ
                เพลงสากลจัดหมวดหมู่ได้หลายแนวคิด ในบทเรียนนี้เป็นอีกแนวคิดหนึ่ง คือจัดเป็นกลุ่มใหญ่ 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มเพลงบรรเลงด้วยเครื่องดนตรี กลุ่มเพลงขับร้องและกลุ่มเพลงขับร้องประสานเสียง  ซึ่งในแต่ละกลุ่มใหญ่สามารถจำแนกเป็นกลุ่มย่อยได้อีกหลายกลุ่ม ดังนี้                 1.เพลงคลาสสิก                เพลงคลาสสิก หมายถึง เพลงที่มีคุณค่าด้านสังคีตศิลป์ชั้นสูงที่มีแบบแผน หลักไวยากรณ์และมีกระบวนแบบเป็นเลิศ ซึ่งสังคีตกวีนิพนธ์ขึ้นด้วยวิธีบันทึกทุกส่วนประกอบของบทเพลง ได้แก่ จังหวะ ทำนอง เสียงประสาน ลีลาสอดประสาน ตลอดจนองศาความดังเบา ลงเป็นตัวโน้ตบนกระดาษ เพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานให้นักดนตรีทำการบรรเลงหรือขับร้องตามที่โน้ตกำหนดอย่างเคร่งครัดและไม่ผิดเพี้ยนจากต้นฉบับ โน้ตทุกตัวทำให้เกิดเสียงดนตรีทุกเสียงที่มีเสน่ห์ดึงดูดอารมณ์ของผู้ฟัง ยิ่งฟังซ้ำยิ่งไพเราะ เพราะสังคีตกวีผู้นิพนธ์ได้ออกแบบร้อยเรียงเสียงทุกเสียง และแนวเสียงทุกแนวเข้าด้วยกันโดยใช้สังคีตศิลป์ชั้นสูง   เพลงคลาสสิกจำแนกได้เป็น 5 กลุ่มใหญ่ดังนี้               1.1 กลุ่มบรรเลงด้วยวงออร์เคสตรา (Orchestral music) คือเพลงคลาสสิกที่บร

ศ33101 สังคีตกวีสากล

รูปภาพ
           ดนตรีสากลที่บรรเลงและขับร้องให้เราได้ฟังกันอยู่ในทุกวันนี้  ล้วนเป็นผลงานอันทรงคุณค่าที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของสังคีตกวีด้านดนตรีสากลตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน  ซึ่งสังคีตกวีแต่ละท่านมีลักษณะการประพันธ์เพลงที่แตกต่างกันออกไป ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะขอนำเสนอประวติและผลงานของสังคีตกวีสากลที่มีผลงานอันโดเด่นและทรงคุณค่าบางท่านมาอธิบายโดยสังเขป ดังนี้                  1. โยฮันเนส บรามส์ บรามส์เกิดเมื่อวันที่  7 พฤษภาคม   พ.ศ. 2376  (ค.ศ. 1833) ที่นคร ฮัมบูร์ก ประเทศเยอรมนี บิดาของบรามส์เป็นนักเล่น ดับเบิลเบส และยังเป็นครูดนตรีคนแรกของเขาอีกด้วย บรามส์ได้แสดงให้เห็นถึงความสามารถมากอันโดดเด่นเกินวัย สนใจเครื่องดนตรีทุกประเภท ครูดนตรีคนสำคัญของเขาได้แก่เอด๊วด มาร์กเซ็น ได้สอนเขาอย่างตั้งอกตั้งใจ ด้วยความหวังที่ว่าเขาจะกลายเป็นนักเปียโนเอกในอนาคต โดยได้สอนเทคนิคการเล่นของ  บาค   โมซาร์ท  และ  เบโธเฟน  ซึ่งกลายเป็นที่จดจำของบรามส์ไปตลอด โดยมิได้ทำลายพรสวรรค์ทางการสร้างสรรค์ของศิษย์ ความสามารถทางการเล่นเปียโนของเขา ทำให้เขาได้เป็นนักดนตรีอาชีพครั้งแรกที่ผับแห่งหนึ่งในนค

ศ33102 แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงค่านิยมของสังคมไทยต่อดนตรีสากล

รูปภาพ
            หากวิเคราะห์จากค่านิยมและความเชื่อของคนไทยต่อดนตรีสากลที่ได้เคยอธิบายไว้ จะเห็นได้ว่า  ค่านิยมและความเชื่อที่คนไทยมีต่อดนตรีสากลได้ฝังรากลึกจนเป็นส่วนสำคัญของวัฒนธรรมดนตรีของคนไทยไปเสียแล้ว และมีแนวโน้มที่จะเผยแพร่ขยายครอบคลุมไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศไทย  เนื่องจากในวิถีชีวิตประจำวันของคนเราในสมัยปัจจุบัน เราไม่้อาจพ้นจากอิทธิพลของเสียงดนตรีได้ ไม่ว่าจะทำอะไร อยู่ที่ไหน และเมื่อไหร่ เรามักจะได้ยินเสียงดนตรีสากลสอดแทรกเข้ามาแวดล้อมเราอยู่เกือบทุกที่และทุกเวลา  ซึ่งอาจเป็นทั้งเสียงดนตรีที่เราชื่นชอบและเสียงดนตรีที่เราไม่ใส่ใจฟัง แต่เสียงดนตรีเหล่านั้นก็ล้วนมีอิทธิพลต่อเราทั้งสิ้น              แม้ดนตรีสากลจะเป็นดนตรีของชาวตะวันตก แต่ดนตรีสากลก็ได้เผยแพร่ไปทั่วโลก รวมทั้งประเทศไทยด้วย และปัจจุบันดนตรีสากลได้เป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไปตามกระแสนิยมของคนในสังคม และกระแสของการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ผ่านทางสื่อวิทยุกระจายเสียง โทรทัศน์ และระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ซึ่งเป็นการสนับสนุนให้ผู้คนในสังคมไทยได้รับฟัง และซึมซับดนตรีสากลตลอด  24 ชั่วโมง จึงอาจกล่าวได้ว่า การดำรงอยู่ของดนตรีส

ศ33102 ดนตรีสากลกับสังคมไทย

รูปภาพ
            ดนตรีสากลเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของชาติตะวันตก  มีแบบแผนที่ยอมรับของนานาชาติ  ในระยะเริ่มแรกมีการนำดนตรีสากลมาใช้ในกิจกรรมทางศาสนา  เพื่อสร้างความศรัทธา  ความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้า  ก่อให้เกิดความร่วมมือร่วมใจกันในหมู่ศาสนิกชน  ต่อมาดนตรีสากลถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันของคนในสังคมไทยและสังคมโลกมากขึ้น             1. ค่านิยมของสังคมไทยต่อดนตรีสากล              คำว่า "ค่านิยม" นักปราชญ์ไทยเอามาจากคำภาษาอังกฤษว่า "value" หมายถึง ความนิยมชมชอบ การยกย่องนับถือและสรรเสริญในคุณประโยชน์ที่สังคมหรือกลุ่มคนโดยรวมเห็นพ้องต้องกัน  ซึ่งสังคมไทยมีค่านิยมต่อดนตรีสากล 3 ประการดังนี้             1.1 ค่านิยมดนตรีสากลในพิธีกรรม   ค่านิยมการนำดนตรีสากลมาใช้ในพิธีกรรมของคนไทยเกิดจากการที่คนไทยได้ปฏิสัมพันธ์กับชาวต่างชาติที่เป็นศาสนิกชนของศาสนาต่างๆ โดยเฉพาะศานาคริสต์ คนไทยได้เรียนรู้และได้เห็นการจัดพิธีกรรมและพิธีการอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาเหล่านั้นด้วยการเอาเครื่องดนตรีสากลและการขับร้องมาเป็นส่วนสำคัญของพิธีกรรม การได้เรียนรู้และได้ร่วมพิธีนั่นเอง ทำให้สังคมไทยค่อยๆ ซึมซับและซ

ศ33102 ศัพท์สังคีตที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติดนตรีไทย

รูปภาพ
             1. ลูกล้อ เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรีออกเป็น 2 พวก พวกหนึ่งเรียกว่า  "พวกหน้า" ส่วนอีกพวกหนึ่งเรียกว่า "พวกหลัง" ทั้งสองพวกนี้ผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้วพวกหลังจึงจะบรรเลงบ้าง แต่ที่เรียกว่า "ลูกล้อ" เพราะเมื่อพวกหน้าบรรเลงไปเป็นทำนองอย่างใด  พวกหลังก็จะบรรเลงเป็นทำนองอย่างเดียวกันกับพวกหน้า ซึ่งทำนองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ก็แล้วแต่ผู้แต่งว่าจะประดิษฐ์ขึ้น สั้น - ยาว เท่าไรหรือจะประดิษฐ์ขึ้นเพียงพยางค์เดียวก็ได้             2. ลูกขัด   เป็นวิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งที่แบ่งเครื่องดนตรีออเป็น 2 พวก พวกหนึ่งเรียกว่า "พวกหน้า" (บรรเลงก่อน) อีกพวกหนึ่งเรียกว่า "พวกหลัง" (บรรเลงทีหลัง)  ทั้งสองพวกนี้ ผลัดกันบรรเลงคนละที เมื่อพวกหน้าบรรเลงไปหมดวรรคตอนแล้ว  พวกหลังจึงบรรเลงบ้าง แต่ที่เรียกว่า "ลูกขัด" เพราเมื่อพวกหน้าบรรเลงเป็นทำนองอย่างหนึ่งแล้ว พวกหลังก็จะบรรเลงทำนองให้ผิดแผกแตกต่างไปอีกอย่างหนึ่ง ซึ่งไม่เหมือนกันกับทำนองของพวกหน้า  ทำนองที่ผลัดกันบรรเลงนี้ไม่บังคับว่

ศ33102 รูปแบบการขับร้องเพลงไทย

รูปภาพ
         การขับร้อง  คือ การเปล่งเสียงออกมาเป็นเสียง สูง-ต่ำ  สั้น-ยาว ตามทำนอง  จังหวะ และบทร้องที่ผู้ประพันธ์ได้เรียบเรียงหรือกำหนดไว้  ซึ่งรูปแบบการขับร้องเพลงไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ การร้อง  การขับเสภา และการพากย์  โดยการขับร้องเพลงไทยแต่ละประเภทจะมีเทคนิคในการถ่ายทอดอารมณ์ที่คล้ายคลึงกันหรือแตกต่างกัน ดังนี้         1. การร้อง          การร้องแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ คือการร้องอิสระไม่มีดนตรีประกอบ  การร้องส่งให้ดนตรีรับและการร้องประกอบการแสดง           1.1 การร้องอิสระ     คือการโดยทั่วไป ที่ไม่มีดนตรีบรรเลงหรือบรรเลงประกอบแต่อย่างใด ผู้ขับร้องสามารถร้องได้ตามใจชอบ จะยึดเสียงมาตรฐานของเครื่องดนตรีหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องรักษาระดับเสียงของตนเอง ให้ถูกต้อง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นเพียงเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง กรับ เป็นต้น  เทคนิคในการถ่ายทอดอารมณ์เพลงขึ้นอยู่กับความพอใจของผู้ขับร้องว่าต้องการร้องให้ สูง-ต่ำ เร็ว-ช้า เพียงใด           1.2 การร้องส่ง   หมายถึง การร้องส่งให้วงดนตรีรับเป็นการขับร้องสลับกับการบรรเลงดนตรี ใช้กับวงดนตรีไทยได้ทุกประเภท การขับร้องลักษณะนี้ผู้ขับร้องต้

ดนตรีสากลกับการประยุกต์ใช้

รูปภาพ
         ดนตรี และเสียงเพลง มีอิทธิพลต่ออารมณ์ และความรู้สึกของคนเราเป็นอย่างยิ่ง เช่น ตั้งแต่เกิดมนุษย์จะได้ยินเสียงขับร้องเพลงกล่อมของแม่ เสียงเพลงจากของเล่น ถือว่าเป็นเสียงดนตรีที่มนุษย์ได้ยิน หรือการร้องเพลงขณะทำงานเพื่อคลายความเหน็ดเหนื่อยการเล่นดนตรีและร้องเพลงในเวลาว่าง จึงเห็นได้ว่าดนตรีมีส่วนช่วยทำให้มนุษย์เกิดความผ่อนคลายในยามเหนื่อยล้าหรือในขณะเกิดความเครียด          การนำดนตรีสากลมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันมีหลายด้าน ดังตัวอย่างต่อไปนี้           1. ใช้เพื่อการผ่อนคลาย    ดนตรีสร้างความเพลิดเพลินให้กับผู้ที่ได้รับฟัง สร้างบรรยากาศเป็นไปตามจังหวะและทำนองที่ผู้แต่งประสงค์จะให้เป็น  จึงนำเสียงเพลงบรรเลงหรือเพลงร้องในความเร็วปานกลางมาประกอบใช้ในกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น เปิดเพลงเบาๆในสำนักงาน  ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล และร้านหนังสือเป็นต้น          2. ใช้เพื่อความบันเทิง   ดนตรีที่มีเสียงดัง  มีจังหวะที่ค่อนข้างเร็ว   จะช่วยกระตุ้นให้ผู้ฟังรู้สึกสดชื่น  กระฉับกระเฉง อยากเคลื่อนไหวร่างกาย  ดนตรีลักษณะนี้สร้างความบันเทิงให้กับผู้ฟังเป็นการส่วนตัว และเป็

คุณค่าและความงามของดนตรีสากล

รูปภาพ
                         ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ มนุษย์รู้จักนำดนตรีมาใช้ประโยชน์ตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ หลังจากที่มนุษย์รู้จักการจดบันทึกข้อมูล จึงทำให้คนรุ่นหลังได้ทราบประวัติความเป็นมาของดนตรี การศึกษาประวัติศาสตร์ดนตรี ทำให้เราเข้าใจมนุษย์ด้วยกันมากขึ้น เข้าใจวิถีชีวิตความเป็นอยู่ และเข้าใจการสืบทอดทางวัฒนธรรมดนตรี              การ กำเนิดของเครื่องดนตรีเกิดขึ้นตั้งแต่สมัยโบราณ โดยมนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องดนตรีง่ายๆ จากธรรมชาติรอบข้างคือ เริ่มจากการปรบมือผิวปาก เคาะหิน หรือนำกิ่งไม้มาตีกันซึ่งต่อมาได้มีการสร้างเครื่องดนตรีที่มีร ูป ทรงลักษณะต่างๆ ที่แตกต่างกันไปในแต่ละชนชาติ โดยมีการแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมและลักษณะเครื่องดนตรีของชนชาติ ต่างๆ โดยเฉพาะเครื่องดนตรีสากลที่เป็นเครื่องดนตรีของชาวตะวันตกที่น ำมาเล่นกัน แพร่หลายในปัจจุบัน สำหรับการกำเนิดของดนตรีตะวันตกนั้นมาจากเครื่องดนตรีของชนชาติ กรีกโบราณที่ สร้างเครื่องดนตรีขึ้นมา 3 ชนิดคือ ไลรา คีธารา และออโรสจนต่อมามีการพัฒนาสร้างเครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ทั้งประเภทเครื่องสายเครื่องเป่า เครื่องทองเหลือง เครื่องตี