บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2018

องค์ประกอบที่ใช้ในการสร้างสรรค์งานดนตรีและงานศิลปะ

รูปภาพ
องค์ประกอบของดนตรี ดนตรีเป็นศิลปะและเป็นวิธีการแห่งการสร้าง หรือทำ "เสียง"ให้อยู่ในระเบียบในด้าน จังหวะ ทำนอง สีสันของเสียง และคีตลักษณ์ ไม่ว่าดนตรีชาติใดจะต้องอยู่ในพื้นฐานต่างเหล่านี้เหมือนกันทั้งสิ้น ในความแตกต่างนั้นขึ้นอยู่กับกรอบของวัฒนธรรมของแต่ละสังคม ที่กำหนดให้เกิดรสนิยมของแต่ละวัฒนธรรมซึ่งเป็นตัวกำหนดให้เกิดความแตกต่าง จนสามารถบ่งบอกได้ว่าดนตรีแต่ละแบบซึ่งแตกต่างกันนั้นเป็นของชาติหนึ่งชาติใดได้ ดังนั้นการศึกษาองค์ประกอบของดนตรี จึงควรศึกษาจากลักษณะทั้งหมดที่ได้กล่าวมาแล้ว องค์ประกอบของดนตรีประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้ 1. เสียง เป็นสื่อของคีตกวีที่ใช้สร้างสรรค์ผลงานทางด้านดนตรี ซึ่งผู้สร้างสรรค์ดนตรีสามารถสร้างเสียงให้หลากหลายได้ โดยอาศัยวิธีการผลิตเสียงเป็นตัวกำหนด เช่า การดีด สี ตี เป่า เป็นต้น ลักษณะความแตกต่างของเสียงนี้ จะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ 4 ประการ คือ ระดับเสียง(สูง-ต่ำ) ความยาว และ ความแคบของเสียง(ช่วงสั้นๆ) และคุณภาพของเสียง (ดี-ไม่ดี) 1.1 ระดับเสียง หมายถึง ระดับความสูง - ต่ำ ของเสียง ซึ่งเกิดจากจำนวนของความถี่ของการสั่นสะเทือนของแหล่งกำเนิดเ

ดนตรีในวัฒนธรรมต่างประเทศ (อินเดียและจีน)

รูปภาพ
           1. ดนตรีในวัฒนธรรมอินเดีย มรดกทางวัฒนธรรมของดนตรีอินเดีย แบ่งออกได้เป็น 2 ฝ่าย คือ ดนตรีประจำชาติฝ่ายฮินดู และฝ่ายมุสลิม อิทธิพลของดนตรีมุสลิมจะอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ อิทธิพลของดนตรีฮินดูจะอยู่ทางตอนเหนือของประเทศวัฒนธรรมทางดนตรีอินเดียจะแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็นการเรียกชื่อเครื่องดนตรี ประเภทของเครื่องดนตรี แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็ได้ชาวอินเดียจะใช้เสียงดนตรีเป็นสื่อติดต่อกับพระเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่ตนเองเคารพนับถืออยู่ ระบบเสียง                     ดนตรีอินเดีย การจัดระบบเสียงที่มีลักษณะเฉพาะอย่างเป็นระบบ เป็นหมวดหมู่เช่นเดียวกับดนตรีตะวันตกมีโน้ตเต็มเสียง 7 โน้ต โน้ตเพี้ยนเสียงสูงและเพี้ยนต่ำ 5 เสียง บันไดเสียงต่าง ๆ และที่เป็นลักษณะเด่นของดนตรีอินเดีย คือ การนำเสียงในแต่ละบันไดเสียงมาจัดเป็นกลุ่มเสียงเพื่อนำมาใช้บรรเลงในเวลาที่กำหนดการจัดระบบชุดเสียงจากบันไดเสียงหลักนี้จะเรียกว่า ราคะ (Raga)   เครื่องดนตรีอินเดีย (India Instrumens)            การจัดหมวดหมู่ของดนตรีอินดียแตกต่างกันไปตามยุคสมัย ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ          1. ตะนะ (

ปัจจัยที่ทำให้งานดนตรีได้รับการยอมรับจากสังคม

รูปภาพ
                   ดนตรีเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติที่เสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับคนในสังคม การสร้างสรรค์งานดนตรีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตสู่ปัจจุบัน แม้ว่าบางช่วงสมัยดนตรีอาจได้พบกับสภาวะวิกฤติบ้าง แต่ก็ยังสามารถดำรงคุณค่าให้อยู่คู่สังคมในปัจจุบันได้อย่างสมบูรณ์ โดยในที่นี้จะกล่าวถึงปัจจัยสำคัญที่ทำให้งานดนตรีได้รับการยอมรับจากสังคม ดังนี้ 1 ปัจจัยด้านความเจริญทางวัฒนธรรม                ดนตรีมีความสำคัญและมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อวัฒนธรรมของชาติ ในอดีตประเทศไทยมีการนำดนตรีไทยเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมทางประเพณีต่างๆ ทั้งในพระราชพิธี และพิธีกรรมต่างๆของประชาชน เช่นในอดีตเมื่อสมเด็จพระบรมราชินีทรงมีพระประสูติกาลเป็นพระราชธิดาก็จะมีการบรรเลงวงปี่พาทย์ เป็นต้น               สำหรับกิจกรรมทางประเพณีของประชาชนจะมีการนำวงดนตรีไปบรรเลงเป็นส่วนหนึ่งของงานนั้น เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำขวัญนาค งานมงคลสมรส งานวันเกิด งานสมโภชเฉลิมฉลองต่างๆ งานเทศการตามประเพณี งานศพ เป็นต้น ซึ่งได้ยึถือปฎิบัติมาจนถึงปัจจุบันทำให้คนไทยมีความรัก ความผูกพันกับวิถีชีวิตและประเพณีไทย มีความคิดและมีทัศนคติท

อิทธิพลของดนตรีกับบุคคลและสังคม

รูปภาพ
   กวีไทยได้กล่าวถึงอิทธิพลของดนตรีกับบุคคลและสังคมไว้ในบทกวีหลายบท  ซึ่งบทเด่นที่งดงามด้วยฉันทลักษณ์และมีเนื้อความกินใจคนไทยอย่างแพร่หลายมาเนินนาน  คือบทกวีของสุนทรภู่ในนิทานคำกลอนเรื่อง  พระอภัยมณี  ตอนที่พระอภัยมณีอธิบายเรื่องอิทธิพลของดนตรีแก่สามพราหมณ์ที่พบกันโดยบังเอิญ  ซึ่งในเนื้อกลอนกล่าวว่า                           พระฟังความพราหมณ์น้อยสนองถาม               จึงเล่าความจะแจ้งแถลงไข               อันดนตรีมีคุณทุกอย่างไป                                             ย่อมใช้ได้ดั่งจินดาค่าบุรินทร์               ถึงมนุษย์ครุฑาเทวราช                                                  จตุบาทกลางป่าพนาสินธ์              แม้นปี่เราเป่าไปให้ได้ยิน                                                ก็สุดสิ้นโทโสที่โกธา              ให้ใจอ่อนนอนหลับลืมสติ                                              อันลัทธิดนตรีดีหนักหนา              ซึ่งสงสัยไม่สิ้นในวิญญาณ์                                             จงนิทราเถิดจะเป่าให้เจ้าฟัง 1. อิทธิพลของดนตรีกับบุคคล     ในวิถีชีวิตปัจจุบันบุคคล

ความหมายและประวัติความเป็นมาของดนตรีไทย

รูปภาพ
1. ความหมาย        ดนตรีไทย หมายถึง   เพลงไทยที่มีระดับเสียงซึ่งประกอบขึ้นเป็นทำนอง  มีลีลา  จังหวะ       มีความเสนาะไพเราะ  ก่อให้เกิดความรู้สึกรื่นเริง  สนุกสนาน  รัก  อ่อนหวาน  ให้ความสุข          เศร้าโศก   ปลุกจิตใจให้ฮึกเหิม  เป็นต้น             ดนตรีไทย  มีความสำคัญต่อการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทยมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน  นิยมให้มีวงดนตรีไทยร่วมบรรเลงด้วย  เช่น  งานขึ้นบ้านใหม่  งานทำบุญ  งานบวชนาค  งานมงคลสมรส  งานเฉลิมฉลอง  งานในเทศกาลต่างๆ  ตลอดจนการบรรเลงประกอบการแสดง  เป็นต้น 2. ความเป็นมา       ดนตรีไทย เป็นดนตรีที่ศิลปินสร้างสรรค์ขึ้น เพื่อใช้บรรเลงในกิจกรรมต่างๆ ของสังคมที่ตนอาศัยอยู่ เช่น  บรรเลงประกอบพิธีกรรม  บรรเลงเพื่อความบันเทิงของผผู้คนในชุมชน เป็นต้น       ลักษณะ และรูปแบบของดนตรีไทยนั้นจะมีความเรียบง่าย  สำหรับในสังคมที่ใหญ่ขึ้น เช่น สังคมเมือง รัฐที่มีเจ้าผู้ครองนคร มีพระมหากษัตริย์ปกครอง เป็นต้น  การนำดนตรีเข้าไปใช้ในกิจกกรมต่างๆ จะมีความประณีต มีการพัฒนาความสามารถของศิลปิน รูปแบบทางดนตรี เพลงร้อง  ทำนองดนตรี  จะมีระเบียบ มากขึ้น และใช้เป็นแบบแผนต่

องค์ประกอบของดนตรีในสังคมและวัฒนธรรม

รูปภาพ
                         ดนตรี  มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวของเสียงที่เรียบเรียงเป็นทำนอง  การเกิดทำนองเพลงได้ต้องนำองค์ประกอบส่วนย่อยต่างๆ  มารวมเข้าด้วยกัน  ดนตรีของชาติต่างๆ  ทั้งดนตรีไทย ดนตรีจีน  ดนตรีอินเดีย  ดนตรีเปอร์เซีย และดนตรีตะวันตก ต่างต้องมีส่วนประกอบสำคัญอย่างน้อย  6 ประการ ที่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน  เพื่อให้เกิดความชัดเจนยิ่งขึ้น  ให้ผู้เรียนนึกถึงทำนองเพลงคุ้นเคย หรืออาจเลือกเพลงและดนตรีที่ปรากฏในสังคมและวัฒนธรรมใดวัฒนธรรมหนึ่งเป็นตัวอย่างและเชื่อมโยงกับองค์ประกอบของดนตรี  ดังนี้     1. เสียง      เสียงดนตรี (Musical  Sound) เป็นสีสันของเสียง (Tone  Color) ที่เกิดจากความถี่ของคลื่นเสียง  ความดัง - เบา  สูง - ต่ำ ความเข้มที่หนาแน่น หรือโปร่งเบา  มีระดับความดัง - เบาของเครื่องดนตรีแต่ละชนิด  เนื่องจากคนเราได้ยินเสียงที่ความถี่   20 - 20000   เฮิรตซ์  ความถี่ที่ต่ำกว่า   20  เฮิรตซ์ ลงไปเรียกว่า  คลื่นใต้เสียง  (Infra Sound)   ความถี่ที่สูงกว่า   20000  เฮิรตซ์ ขึ้นไปเรียกว่า  คลื่นเหนือเสียง  (Ultra Sound)   จะเห็นได้ว่าคนเรารับฟังเสียงได้ในช่วงความถี่หนึ่งเท่านั้