บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มกราคม, 2021

วิชานาฏศิลป์ ม.๒

  แบบทดสอบวัดผลปลายภาค หน่วยการเรียนรู้ที่ ๑ ความรู้พื้นฐานทางนาฏศิลป์ การบูรณาการศิลปะแขนงอื่นๆ กับการแสดงนาฏศิลป์ คำถามท้ายเนื้อหา หลักและวิธีการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงนาฏสิลป์ ใบงาน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1ความรู้พื้นฐานทางนาฏศิลป์ แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ ๒ การแสดงนาฏศิลป์ ระบำเทพบันเทิง นาฏศิลป์พื้นเมือง ใบงาน เรื่องรำเถิดเทิง รำวงมาตรฐาน ใบงาน ท้ายหน่วยการเรียนรู้ที่  ๒     ใบงานประจำหน่วยการเรียนรู้ นาฏศิลป์พื้นเมือง   ใบงานประจำหน่วยการเรียนรู้ เรื่อง บูรณาการนาฏศิลป์

นาฏศิลป์พื้นเมือง

รูปภาพ
      รำเถิดเทิง          การเล่น รำเถิดเทิง  หรือการ รำกลองยาว   เป็นศิลปะการละเล่นและร่ายรำประกอบการตีกลองยาวของคนไทย  ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากและมีการเล่นแพร่หลายที่สุดในแถบภาคกลาง สันนิษฐานว่าแต่เดิมจะเป็นการละเล่นของทหารพม่ายามว่างศึกษ  ในสมัยสงครามปลายกรุงศรีอยุธยาเข้าใจว่าคนไทยได้เห็นรูปแบบและนำมาเล่นบ้างในช่วงสมัยกรุงธนบุรี  เพราะศิลปะการตีกลองมีความสนุกสนาน เล่นง่าย เครื่องดนตรีไม่แตกต่างจากของไทยมากนัก  ส่วนคำว่า เถิดเทิง น่าจะมีที่มาจากเสียงของกลองยาวนั่นเอง  นอกจากนี้ยังมีหลักฐานสนันสนุนจากชื่อเพลงไทยสำเนียงพม่าที่กล่าวถึงกลองยาว คือ เพลงพม่ากลองยาวและเพลงพม่ารำขวาน  ที่ใช้กลองยาวตีเป็นเครื่องตีประกอบจังหวะ         การรำกลองยาว หรือ เล่นถิดเทิงบ้อง นี้ มักนิยมแสดงในงานบุญที่มีการรื่นเริง เช่น แห่นาคในงานอุปสมบท  แห่องค์กฐิน  ผ้าป่า  แห่ขบวนขันหมาก โดยชาวบ้านมาร่วมขบวนแต่งหน้าประแป้ง  ทัดดอกไม้ให้สวยงาม ร่ายรำออกลีลาต่างๆ  อย่างครื้นเครง  บ้างยั่วเย้ากันระหว่างหนุ่มสาว พวกที่ตีกลองและเครื่องประกอบจังหวะก็ร้องเพลงสั่นๆ เรียกว่า เพลงยั่ว เช่น มาละเหวย มาละวา มาแต่ของเขาของเราไม่ม

ระบำเทพบันเทิง

รูปภาพ
  การแสดงนาฏศิลป์       ในเรื่องการแสดงนาฏศิลป์   เนื้อหาที่นักเรียนจะได้เรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นี้ จะประกอบไปด้วย      1.นาศิลป์ = ระบำเทพบันเทิง      2. นาฏศิลป์พื้นเมือง  = รำเถิดเทิง      3. รำวงมาตรฐาน = เพลงบูชานักรบ       ระบำเทพบันเทิง          ระบำเทพบันเทิง เป็นระบำที่ประกอบการแสดงละครในเรื่อง อิเหนา ตอน ลมหอบ ซึ่งกรมศิลปากรปรับปรุงขึ้นเพื่อแสดงที่โรงละครศิลปากร (เก่า) เมื่อ ปี พ.ศ. 2499 ให้ประชาชนได้ชมกัน เป็นระบำที่กล่าวถึงเทพบุตร เทพธิดา ร่ายรำถวายองค์ปะตาระกาหลา ตามบทขับร้องที่นายมนตรี  ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยและศิลปินแห่งชาติเป็นผู้ประพันธ์เนื้อร้องและปรับปรุงทำนองเพลง  โดยใช้เพลงแขกเชิญเจ้าและเพลงยะวาเร็ว  โดยอาจารย์ละมุล   ยมะคุปย์  และหม่อมศุภลักษณ์  ภัทรนาวิก (หม่อมต่วน) เป็นผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำขึ้น     * ลักษณะและวิธีการแสดง   ระบำเทพบันเทิง นิยมใช้ผู้แสดงพระกับนางเป็นคู่ตั้งแต่ 1 คู่ขึ้นไป     - ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง   ระบำเทพบันเทิงใช้วงปี่พาทย์บรรเลงประกอบการแสดง   * ลักษณะการแต่งกาย   การแต่งกายของตัวพระ  ตัวนาง  นิยมแต่งกายแบบยืนเครื่องหรือเปลี

หลักและวิธีการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงนาฏสิลป์

               การวิจารณ์และการวิเคราะห์การแสดง เป็นการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อให้เกิดการปรับปรุงแก้ไขและพัฒนาการแสดงให้ดีขึ้น  ในการวิเคราะห์  วิจารณ์การแสดงนั้น ผู้ที่วิเคราะห์ วิจารณ์งานศิลปะจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแสดงนาฏศิลป์  มีความคิด มีเหตุผลที่ดีในการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดง               หลักและวิธีการวิเคราะห์ วิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ มีดังนี้      ๑. ผู้วิจารณ์ควรมีพื้นฐานทางนาฏศิลป์          ผู้วิจารณ์สามารถพิจารณาได้ว่า การแสดงมีความถูกต้องหรือไม่ เช่น เรื่องของท่ารำที่ใช้สื่อความหมายว่าสอดคล้องกับบทร้องและทำนองเพลงหรือไม่      ๒. ผู้วิจารณ์มีความสามารถด้านการแต่งกาย        ผู้วิจารณ์ต้องมีความรู้เรื่องการแต่งกายประกอบการแสดงสามารถวิเคราะห์ได้ว่าผู้แสดงแต่งกายได้ถูกต้องและเหมาะสมกับการแสดงหรือไม่     ๓. ผู้วิจารณ์มีความสามารถทางด้านดนตรีประกอบการแสดง         ผู้วิจารณ์ต้องมีความรู้เกี่ยวกับดนตรี บทเพลงที่ใช้ประกอบการแสดง สามารถวิเคราะห์และวิจารณ์ได้ว่าดนตรีหรือบทเพลงมีความถูกต้อง  เหมาะสมกับการแสดงหรือไม่     ๔. ผู้วิจารณ์ทราบเนื้อเรื่องที่

การบูรณาการศิลปะแขนงอื่นๆ กับการแสดงนาฏศิลป์

รูปภาพ
         การแสดงนาฏศิลป์ไทย  นอกจากมีองค์ที่สำคัญที่เคยกล่าวมาแล้ว  การแสดงนาฏศิลป์ไทยยังสามารถบูรณาการกับศิลปะแขนงอื่นๆ ได้ด้วย เช่น ด้านวิจิตรศิลป์  ประติมากรรม  จิตรกรรม สถาปัตยกรรม  ซึ่งนำมาบูรณาการในการแสดงเพื่อให้การแสดงมีความสวยงาม น่าสนใจ            การนำศิลปะแขนงอื่นๆ มาใช้กับการแสดงนาฏศิลป์ไทย มีดังนี้     1. แสง สี เสียง            แสง สี ที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ไทย  ควรมีความสัมพันธ์กับเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงให้มีความเหมาะสมกลมกลืนกัน  ทำให้การแต่งกายมีความโดดเด่นสวยงาม  ผู้ชมได้รับสุนทรียรสอย่างเต็มที่  ในด้านเสียงที่ใช้จะต้องพอเหมาะไม่ดัง หรือ เบาจนเกินไป สามารถให้ผู้ชมที่ชมการแสดงได้ยินเสียงชัดเจน  เพื่อให้ผู้ชมซาบซึ้งและคล้อยตามไปกับการแสดง   2. ฉาก       ฉากเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้การแสดงสวยงาม  ผู้สร้างฉากจะต้องมีความคิดสร้างสรรค์ในการสร้างฉากและมีความรู้ทางด้านการออกแบบ ด้านทัศนศิลป์และสถาปัตยกรรม เพื่อให้การออกแบบฉากมีความสัมพันธ์กับชุการแสดง 3. เครื่องแต่งกาย       เครื่องแต่งกายในการแสดงนาฏศิลป์เป็นสิ่งที่ทำให้การแสดงมีความสวยงาม และเป็นสิ่งบ่งบอกถึงลั