บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก พฤษภาคม, 2020

ละครกับชีวิต

รูปภาพ
         ละครส่วนใหญ่เป็นเรื่องราวที่สะท้อนมาจากวิถีชีวิตของคนในสังคม  ซึ่งผู้ชมสามารถเข้าใจเรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ง่าย และนำข้อคิดที่ได้มาปรับใช้ในชีวิตประจำวัน  เพราะละครส่วนใหญ่จะสอดแทรกเรื่องราว ด้านจริยธรรม  ศีลธรรม          ละครเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อผู้ชมละคร  เพราะสามารถเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงบุคลิกภาพด้านมารยาทสังคม ท่าทาง การพูด รวมถึงคุณธรรม  จริยธรรม ที่ละครได้สอดแทรกไว้ในเนื้อเรื่่องอีกทั้งผู้เขียนบทละครจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่างๆต่อไปนี้           1.คุณค่าด้านสติปัญญา (Intellectual Value)          คือ มีปรัชญาอะไรที่แฝงอยู่ในละครในแง่ใดบ้าง เช่น ในแง่จิตวิทยา ได้แก่ ปัญหาเด็กวัยรุ่น  และความไม่เข้าใจ ทำให้เกิดช่องว่างระหว่างหนุ่มสาวกับวัยผู้ใหญ่ สร้างปัญหาความไม่รับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว และประเทศชาติ         2. คุณค่าทางอารมณ์  (Emotional Value)         ในสภาพการณ์ปัจจุบันนี้  มีปัญหาหลายอย่างที่ทำให้คนในสังคมเกิดความเครียด ฉะนั้น ละครหรือภาพยนตร์จึงเป็นสิ่งมีค่าที่มนุษย์พยายามสรรหามาเพื่อแลกกับอารมณ์และสภาพแวดล้อมที่ทางสังคมหยิบยื่นให้ เพื่อต้องการชีวิตที่ดีกว่าม

องค์ประกอบของบทละคร

รูปภาพ
  ละคร เป็นการแสดงที่เป็นเรื่องราว สะท้อนให้เห็นถึงวิถีชีวิต เรื่องราวต่างๆของคนในสังคม ซึ่งละครที่มีความสมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยองค์ของละคร มีดังนี้               1.โครงเรื่อง               ในการแต่งบทละคร จะต้องมีการวางโครงเรื่อง เพื่อสร้างตัวละครให้มีชีวิตเหมือนจริง และจะต้องวางโครงเรื่องว่าจะให้ละครเป็นแนวใด เช่น การวางลักษณะนิสัยของตัวละคร  ยกตัวอย่าง ลักษณะนิสัยของผู้ใหญ่ลี ที่เป็นคนเก่ง ขยัน มีความสามารถ ซื่อสัตย์ ยุติธรรม รักเดียวใจเดียว               ซึ่งในการเขียนบทละครจะต้องคำนึงถึงแนวคิดของเรื่องเป็นหลัก เพราะในการเขียนเค้าโครงเรื่องจะต้องถือเอาสถานการณ์และเหตุการณ์ต่างๆ ที่มีความต่อเนื่องให้ัมาสัมพันธ์กัน วางจุดปัญหาและจุดน่าสนใจ  ตลอดจนตัวละครมาแก้ปัญหาจนถึงจุดจบของเรื่อง ซึ่งในการเขียนโครงเรื่องมีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา ดังนี้               2. ตัวละครและการวางลักษณะนิสัยของตัวละคร               ในการวางลักษณะนิสัยของตัวละครนั้น ผู้เขียนบทละครต้องวางลักษณะของตัวละครในเรื่องทุกตัวว่าจะให้มีนิสัยอย่างไร  มีวิถีชีวิตอย่างไร  เช่น ลูกชายเศรษฐี มีนิสัยเอาแต่ใจ  เสเพล ไม

วิชา นาฏศิลป์ ม.3

หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ละคร    (ศ๓.๑) แบบทดสอบก่อนเรียน องค์ประกอบของบทละคร   (ศ๓.๑ ม.๓/๑) ใบงาน เรื่ององค์ประกอบของบทละคร ละครกับชีวิต  (ศ๓.๑ ม.๓/๗) ใบงาน เรื่องละครกับชีวิต แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 นาฏยศัพท์และภาษาท่า  (ศ๓.๑ ม.๓/๒) นาฏยศัพท์ ใบงาน เรื่องนาฏยศัพท์ ภาษาท่ารำ ใบงาน เรื่องภาษาท่ารำ แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 รำวงมาตรฐาน (ศ๓.๑ ม.๓/๒) การแสดงรำวงมาตรฐาน ใบงาน เรื่องรำวงมาตรฐาน แบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การแสดงนาฏศิลป์ (ศ๓.๑ ม.๓/๓) การแสดงนาฏศิลป์ ใบงาน เรื่องการแสดงนาฏศิลป์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 5 การประดิษฐ์ท่าทางประกอบการแสดง  การประดิษฐ์ท่ารำและท่าทางประกอบการแสดง ใบงาน เรื่องการประดิษฐ์ท่ารำ หน่วยการเรียนรู้ที่ 6 การเปรียบเทียบองค์ประกอบของนาฏศิลป์ องค์ประกอบนาฏศิลป์ ใบงาน เรื่อง การเปรียบเทียบองค์ประกอบของนาฏศิลป์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 7  นาฏศิลป์และการละคร ( ศ๓.๒  ม.๓/๑ ม.๓/๒) นาฏศิลป์และละครกับชีวิต ความสัมพันธ์ระหว่างนาฏศิลป์กับวรรณคดีไทย การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย ใบงาน เรื่อง การอนุรักษ์นาฏศิลป์และการละคร ใบงาน

การบรรเลงดนตรีสากล

รูปภาพ
               การบรรเลงดนตรีสากลที่จะกล่าวถึงในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 คือการบรรเลงรวมวงดนตรีสากลประเภทวงสตริง ซึ่งหมายถึงวงดนตรีที่ประสมด้วยกีตาร์ (Electric Guitar) กีตาร์เบสไฟฟ้า (Electric  Bass Guitar) และกลองชุด (Drum) แต่อาจใช้เครื่องคีย์บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Keyboard) เข้ามาประสมวงเพิ่มอีกก็ได้                 วงสตริง  จัดเข้าอยู่ในประเภทวงดนตรีร็อกที่มีต้นกำเนิดมาจากประเทศอังกฤษ  เผยแพร่เข้ามาเป็นที่นิยมในประเทศไทยผ่านทางภาพยนต์และแผ่นเสียง  วงสตริงวงแรกที่คนรู้จัก คือ วงเดอะชาโดว์  (The  Shadows) เผยแพร่เข้ามาในประเทศไทยเมื่อปี พ.ศ.2503  จากนั้นจึงเกิดการตั้งวงดนตรีประเภทนั้นตามมาอีกเป็นจำนวนมาก  และมักเรียกประเภทของวงว่า    วงชาโดว์  ส่วน  วงสตริง จะเรียกกันเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น                เครื่องดนตรีที่ประสมในวงสตริง  เป็นเครื่องที่สะดวกต่อการขนย้ายและใช้บรรเลงหรือใช้ประกอบการขับร้องก็ได้  ซึ่งจะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรีดังต่อไปนี้                 กีตาร์ไฟฟ้า (Electric  Guitar)   กีตาร์ไฟฟ้าในวงสตริงจะมีอยู่ด้วยกัน  2 ตัว โดยกีตาร์ไฟฟ้าตัวหนึ่งเรียกว

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีสากล

รูปภาพ
  เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรีเป็นหัวใจของการสื่อสารในภาษาดนตรี เปรียบได้กับภาษาเขียนที่ใช้ตัวอักษารเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ในที่นี้จะกล่าวถึงการบันทึกโน้ตในระะบปัจจุบันเท่านั้น รวมถึงการใช้สัญลักษณ์ซึ่งเป็นที่รู้จักและยอมรับกันโดยทั่วไปในระดับสากล ได้แก่ เครื่องหมายกำหนดจังหวะ เครื่องหมายกำหนดบันไดเสียง และขั้นคู่เสียง         1. เครื่องหมายกำหนดจังหวะ (Time signature)        เครื่องหมายชนิดนนี้บางตำราเรียกว่า "เครื่องหมายประจำจังหวะ"  หรือ "มีเตอร์" (Meter) ซึ่งทุกชื่อล้วนสื่อความหมายเดียวกัน มักเป็นเครื่องหมายตัวเลข 2 ตัว วางซ้อนกันคล้ายเลขเศษส่วน ใช้บันทึกไว้หลังเครื่องหมายกุญแจประจำหลัก  เฉพาะที่ห้องแรกของบทเพลงที่จะใช้เครื่องหมายนี้กำกับ  เครื่องหมายนี้เป็นตัวกำหนดจำนวนจังหวะเคาะ หรือ บีตส์ (Beats) ที่จะต้องรวมกลุ่มกันอยู่ในแต่ละห้อง (Bar  หรือ  Measure) ของบทเพลง และยังช่วยสื่อการลงจังหวะ หนัก - เบาในห้องเพลงนั้นๆ อีกด้วย               2. บันไดเสียง (Scale)           คำว่า บันไดเสียง แปลว่า Scale  ซึ่งมาจากภาษาอิตาเลียนว่า "Scala"   แ

สังคีตกวีไทย

รูปภาพ
  บทเพพลงที่เราได้ยินได้ฟังในทุกวันนี้มีอยู่มากมาย  ล้วนแล้วแต่เป็นผลงานอันทรงคุณค่าที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของนักดนตรีไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนักดนตรีแต่ละท่านมีลักษณะการประพันธ์เพลงที่แตกต่างกันออกไป  ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จะขอนำเสนอประวัติและผลงานของสังคีตกกวีไทยบางท่านโดยสังเขป  ดังไปนี้    1. ครูจำเนียร  ศรีไทยพันธุ์      เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย) พ.ศ. 2536 ท่านเกิดวันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ.2463 ที่ตำบลบางกระทึก  อำเภอสามพราน  จังหวัดนครปฐม  บิดาชื่อ นายนาค  มารดาชื่อ นางเปลี่ยน ท่านมีชื่อเดิมว่า "ผลัด" เมื่ออายุ 9 ปี ท่านได้เริ่มเรียนฆ้องวงใหญ่กับครูสุ่ม พลูโคกหวาย  เรียนปี่ในและปี่ชวากับครูจันทร์  บางขุนเทียน  และเรียนดนตรีเพิ่มเติมกับครูดนตรีอีกหลายท่าน เช่น หลวงบำรุงจิตเจริญ (ธูป สาตรวิสัย) ครูสอน  วงฆ้อง  ครูทองดี เดชชาวนา  ครูเทียบ  คงลายทอง  ครูโชติ ดุริยประณีต  เป็นต้น         ท่านเป็นศิลปินที่มีความรู้  ความเชี่ยวชาญ ทั้งทางด้านดนตรีไทยและดนตรีสากล  โดยเฉพาะ เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า  เช่น ปี่  ขลุ่ย  คลาริเน็ต (Clarinet

รวมวิชาในกลุ่มสาระฯศิลปะ

วิชา  พื้นฐาน ดนตรี ม.1 ดนตรี ม.2 ดนตรี ม.3 ดนตรี ม.4 ดนตรี ม.5 ดนตรี ม.6 นาฏศิลป์ ม.2 นาฏศิลป์ ม.3 นาฏศิลป์ ม.4 ทัศนศิลป์ ม.1 ทัศนศิลป์ ม.2 ทัศนศิลป์ ม.3 ทัศนศิลป์ ม.4 วิชาทัศนศิลป์ ม.5 วิชา เพิ่มเติม กีตาร์ คีย์บอร์ด ดนตรีปฏิบัติ โหวด IS2