บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018

เครื่องหมายและสัญลักษณ์ทางดนตรี

รูปภาพ
        โน้ตสากล  คือ เครื่องหมายสัญลักษณ์ชนิดหนึ่งที่ปราชญ์ทางดนตรีได้ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้บันทึกบทเพลงต่างๆมิให้สูญหาย และเพื่อเผยแพร่ให้กว้างขวางออกไป  โน้ตสากลจึงเปรียบเสมือน  "อักขระ" ของภาษาดนตรี ผู้เริ่มเล่นดนตรีสากลจึงต้องทำความรู้จักกับเครื่องหมายและสัญลักษณ์ต่างๆในบทเพลงเสียก่อน  และต้องทบทวนให้แม่นยำ  ฝึกซ้อมเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอจึงจะเกิดผลซึ่งในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 นี้ สิ่งที่ผู้เรียนต้องทำความเข้าใจ  คือ เครื่องหมายแปลงเสียง        1. เครื่องหมายแปลงเสียง         เครื่องหมายแปลงเสียง คือ เครื่องหมายที่ใช้แปลงเสียงตัวโน้ตให้สูงขึ้น หรือต่ำลงกว่าปกติ ครึ่งเสียง ตามปกติใช้เขียนไว้หน้าตัวโน้ตที่ต้องการแปลงเสียง ซึ่งนอกจากเสียงปกติที่เรารู้จักกันดีทั้ง 7 เสียงบนลิ่มนิ้วสีขาวของเครื่องคีย์บอร์ดแล้ว ยังมีลิ่มนิ้วสีดำบนลิ่มคีย์บอร์ดอีก 5 เสียงที่ควรรู้จักชื่อ ซึ่งเมื่อจะเขียนโน้ตแทนจะใช้เครื่องหมายแปลงเสียง 2 ชนิดนี้เข้ามาช่วย คือ         1) เครื่องหมายชาร์ป (Sharp, #) เป็นเครื่องหมายแปลงเสียงที่ทำให้เสียงที่ทำให้ตัวโน้ตมีระดับเสียงสูงขึ้นกว่าปกติครึ่งเสียง  

วิวัฒนาการดนตรีสากลในแต่ละยุคสมัย (ยุคบาโรกและยุคคลาสสิก)

รูปภาพ
ยุคบาโรก คำว่า “Baroque” มาจากคำว่า “Barroco” ในภาษาโปรตุเกสซึ่งหมายถึง “ไข่มุกที่มีสัณฐานเบี้ยว” (Irregularly shaped pearl)  Jacob Burckhardt เป็นคนแรกที่ใช้คำนี้เรียกสไตล์ของงานสถาปัตยกรรมและจิตรกรรมใน คริสต์ศตวรรษที่ 17  ที่เต็มไปด้วยการตกแต่งประดับประดาและให้ความรู้สึกอ่อนไหว (ไขแสง ศุขวัฒนะ,2535:96)  ในด้านดนตรี ได้มีผู้นำคำนี้มาใช้เรียกสมัยของดนตรีที่เกิดขึ้นในยุโรป เริ่มตั้งแต่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 17 และมาสิ้นสุดลงราวกลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 ซึ่งเป็นเวลาร่วม 150 ปี เนื่องจากสมัยบาโรกเป็นสมัยที่ยาวนานรูปแบบของเพลงจึงมีการเปลี ่ยนแปลงไปตามเวลา อย่างไรก็ตามรูปแบบของเพลงที่สามารถกล่าวได้ว่าเป็นลักษณะเด่นท ี่สุดของดนตรี  บาโรกได้ปรากฏในบทประพันธ์ของ เจ.เอส.บาคและยอร์ช ฟริเดริค เฮนเดล ซึ่งคีตกวีทั้งสองนี้ได้แต่งขึ้นในช่วงเวลาครึ่งแรกของศตวรรษที ่ 18   ตอนต้นสมัยบาโรกคีตกวีส่วนมากได้เลิกนิยมสไตล์โพลี่โฟนี (Polyphony) ในสมัยฟื้นฟูศิลปวิทยา ซึ่งแนวขับร้องแต่ละแนวในบทเพลงต่างมีความสำคัญทัดเทียมกันและห ันมาสนใจสไตล์โมโนดี (Monody) ซึ่งในบทเพลงจะมีแนวขับร้องเพียงแนวเดียวดำเนินทำนอง และมี

วิวัฒนาการของดนตรีสากลในแต่ละยุคสมัย (ยุคกลางและยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการ)

รูปภาพ
             ยุคกลาง                เริ่มประมาณปี ค.ศ. 400 - 1400 ในสมัยกลางนี้โบสถ์เป็นศูนย์กลางทั้งทางด้านดนตรี ศิลปะ การศึกษาและการเมือง วิวัฒนาการของดนตรีตะวันตกมีการบันทึกไว้ตั้งแต่เริ่มแรกของคริ สต์ศาสนา บทเพลงทางศาสนาซึ่งเกิดขึ้นจากกราประสมประสานระหว่างดนตรีโรมัน โบราณกับดนตรียิวโบราณ เพลงแต่งเพื่อพิธีทางศาสนาคริสต์เป็นส่วนใหญ่ โดยนำคำสอนจากพระคัมภีร์มาร้องเป็นทำนอง เพื่อให้ประชาชนได้เกิดอาราณ์ซาบซึ้ง และมีศรัทธาแก่กล้าในศาสนา ไมใช่เพื่อความไพเราะของทำนอง หรือความสนุกสนานของจังหวะ เมื่อศาสนาคริสต์แพร่กระจายไปทั่วโลก ประเทศต่างๆ ได้นำบทเพลงที่ชาติตนเองคุ้นเคยมาร้องในพิธีสักการะพระเจ้า ดังนั้นเพลงที่ใช้ร้องในพิธีของศาสนาคริสต์จึงแตกต่างกันไปตามภ ูมิภาคและเชื้อชาติที่นับถือ                เมื่อคริสต์ศาสนาเข้มแข็งขึ้น ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ที่แน่นอนในการขับร้องเพลงสวด ที่เรียกว่า ชานท์ (Chant) จนเป็นที่ยอมรับในหมู่พวกศาสนาคริสต์ สันตะปาปาเกรกอรี (Pope Gregory the Great) พระผู้นำศาสนาในยุคนั้น คือ ผู้ที่รวบรวมบทสวดต่างๆ ที่มีอยู่ ให้เป็นหมวดหมู่ เปลี่ยนคำร้องจากภาษากรีกให้เป็นภาษา

การขับร้องเพลงไทย

        การขับร้อง  เป็นการเปล่งเสียงร้องที่มีทำนอง  มีจังหวะแน่นอน  และมีบทร้องในการขับร้องโดยการขับร้องนั้นเมื่อแยกคำทั้ง ๒ ออกจากกัน  แต่ละคำก็จะมีความหมายในตัวเอง ดังนี้         การขับ   หมายถึง การเปล่งเสียงสูง - ต่ำ เป็นทำนองดำเนินไปตามบทเพลงหรือบทกวีนิพนธ์เป็นการดำเนินอย่างลำนำ  คือ เปล่งเสียงร้องของบทเพลงให้เป็นทำนอง  ถือบทแห่งถ้อยคำเป็นสำคัญ ความสั้น - ยาวของเสียงและจังหวะจึงไม่กำหนดให้แน่นอน เช่น การแหล่ การขับกล่อม การขับเสภา  การขับลำ การขับซอ การแอ่ว  เป็นต้น       การร้อง หมายถึง การเปล่งเสียงออกมาเป็นทำนองตามบทเพลง  มีจังหวะแน่นอน  ในวงการดนตรีไทยถือว่าส่วนสำคัญของการร้องเพลง คือ ทำนองในบทเพลงที่มีบทร้องที่เป็นถ้อยคำจึงต้องปรับเข้าหาทำนอง  ซึ่งจะเห็นตัวอย่างได้จากการขับร้องเพลงไทยประเภทต่างๆ       ๑. ประเภทของการขับร้องเพลงไทย       การขับร้องเพลงไทย สามารถจัดแบ่งได้หลายประเภทแตกต่างกันออกไป โดยจะขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง  สำหรับในที่นี้จะจัดแบ่งประเภทการขับร้องออกเป็น ๒ ประเภท คือ       ๑) การขับร้องเดี่ยว   เป็นการขับร้องอิสระคนเดียว  มิได้หมายถึงกา

หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีของไทย

รูปภาพ
        ๑.หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย        มี ๒ ประเภท คือประเภทเครื่องดีด เช่น กระจับปี่  ซึง  พิณอีสาน  พิณเปี๊ยะ เป็นต้น และประเภทเครื่องสี เช่น ซอสามสาย  ซออู้  ซอด้วง ตรัว  สะล้อ รือบับ โกร (ซอมอญ) เตหน่า (หน่าเตย)  และประเภทเครื่องตี ได้แก่ ขิม    ก่อนนำไปใช้ทุกครั้งต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อย  ปรับเสียง และ ตั้งระดับเสียงให้ถูกต้อง รวมทั้งต้องปฏิบัติตามขั้นตอนวิธีบรรเลงของเครื่องดนตรี  และเมื่อเลิกใช้แล้วให้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้      ๑) ทำความสะอาดด้วยการใช้ผ้าเช็ดถูเครื่องดนตรีนั้นๆ ให้สะอาด      ๒) ปลดเลื่อนหมอนหรือหย่อง เพื่อคลายสายของเครื่องดนตรีหรือคลายลูกบิดให้สายหย่อนเล็กน้อย      ๓) เก็บคันชักเข้ากับคันซอหรือในกล่อง เก็บไม้ดีดให้เรียบร้อย       ๒.หลักการใช้และบำรุงรักษาเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีดำเนินทำนอง       เช่น ระนาดเอก  ระนาดทุ้ม  ระนาดเอกเหล็ก  ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่  ฆ้องวงเล็ก  ฆ้องมอญ  โปงลาง  เป็นต้น  ก่อนนำมาใช้ทุกครั้งให้ตรวจสอบความสมบูรณ์ของเครื่องดนตรีให้เรียบร้อยก่อนก่อนการนำมาฝึกซ้อมหรือบรรเ