แนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมดนตรีไทย

             ดนตรีไทย      เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความสำคัญต่อคนไทย  บ่งบอกให้ทราบถึงความเจริญรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมที่บรรพชนไทยได้พัฒนาและสร้างสรรค์จนเป็นเอกลักษณ์ที่สะท้อนให้เห็นคุณค่า   ควรค่าแก่การอนุรักษ์และส่งเสริมดนตรีไทย  โดยแนวทางการอนุรักษ์และส่งเสริมดนตรีไทย  เพื่อความคงอยู่ของดนตรีไทยอย่างมีคุณค่า มีดังนี้

            บทบาทหน้าที่ของเยาวชนไทย
              เยาวชนไทยทุกคนเป็นผู้สืบทอดมรดกวัฒนธรรมที่บรรพชนได้สร้างสมไว้  ด้วยสติปัญญาของเยาวชน ซึ่งเป็นผู้ที่พร้อมด้วยข้อมูล  ข่าวสาร  ทำให้สามารถรับรู้ได้อย่างรวดเร็ว ภารกิจนี้เป็นบทบาทหน้าที่ของเยาวชนที่ต้องแสวงหารูปแบบ  วิธีการที่เหมาะสมในการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมดนตรีของไทย
    สำหรับเยาวชนไทย แนวคิดที่ควรนำมาเป็นแนวทาง  และวิธีการสำหรับการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกวัฒนธรรมดนตรี มีดังนี้เ
            ๑. ศึกษาประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของมรดกวัฒนธรรมทางดนตรี เพื่อให้ รู้จริง  รู้แจ้ง และให้เข้าใจดนตรีอย่างถ่องแท้
            ๒. ฟังและเผยแพร่ โดยพยายามหมั่นรับฟังดนตรีไทยบ่อยๆ เพื่อให้เกิดความซาบซึ้ง แล้วเราจะรู้ว่าเพลงไทยในปัจจุบันที่เรานิยมชมชอบ ทำนองเพลงได้จำลองมาจากดนตรีไทยตั้งแต่โบราณ ขณะเดียวกันก็พยายามชักนำและส่งเสริมใให้บุคคลอื่นฟังดนตรีไทยด้วย
           ๓. รับรู้สาระศิลปวัฒนธรรมด้วยใจที่เปิดกว้าง มีทัศนคติที่ดี
           ๔. หาแนวร่วมจากคนวัยเดียวกัน หรือผู้ที่มีแนวคิดเดียวกัน พร้อมที่จะร่วมกิจกรรมอนุรักษ์ พัฒนามรดกวัฒนธรรมตามวิถีประชาธิปไตยที่เกิดจากมติของกลุ่ม
           ๕. เลือกรูปแบบเพื่อหาทางขับเคลื่อนวิธีการให้ดำเนินไปสู่เป้าหมาย คือ รูปแบบเพื่อการอนุรักษ์ดนตรี รูปแบบเพื่อการพัฒนา และรูปแบบเพื่อการปรับปรุงให้เข้ากับยุคสมัย
           ๖. การฝึกหัดเล่นดนตรีไทย ขับร้องเพลงไทย นับเป็นวิธีการเข้าถึงดนตรีและนำไปสู่การอนุรักษ์ดนตรีไทยได้
          ๗. การนำโปรแกรมคอมพิวเตอร์และสื่อเทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน มาสร้างให้เป็นนวัตกรรมทางดนตรีไทยด้วยวิธีการต่างๆ
         ทั้งนี้ แนวทางการอนุรักษ์และพัฒนามรดกวัฒนธรรมทางดนตรีให้บรรลุผลได้อย่างดีนั้น ขึ้นอยู่กับพลังของเยาวชนทุกคนผู้เป็นเจ้าของมรดกวัฒนธรรม เพราะวัฒนธรรมเป็นส่วนหนึ่งของความเป็นชาติ ดังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ว่า "การรักษาวัฒนธรรมเป็นการรักษาชาติ" เมื่อเยาวชนคนรุ่นใหม่ร่วมกันรักษามรดกวัฒนธรรมไว้ได้อย่างเข้มแข็งกับเป็นการรักษามรดกวัฒนธรรมไว้ได้อย่างเข้มแข็งก็เท่ากับเป็นการรักษาให้ประเทศชาติมีความเข้มแข็งด้วย





           จดบันทึกและเผยแพร่
            การทำให้ดนตรีไทยสืบทอดต่อไปถึงรุ่นหลังอีกวิธีหนึ่ง คือ การจดบันทึกประวัติความเป็นมา  วิธีการประดิษฐ์เครื่องดนตรีแต่ละชนิด วิธีการบรรเลง และโน้ตเพลงต่างๆ  
           ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศก้าวหน้ามาก สามารถบันทึกและส่งต่อ หรือเผยแพร่ใ้เป็นวิทยาทานแก่ผู้ที่สนใจศึกษาได้ทั่วโลก 
            วิธีการที่ได้กล่าวมาข้างต้นจะช่วยทำให้ดนตรีไทยเป็นที่รู้จัก เมื่อมีผู้สนใจย่อมนำไปเผยแพร่บอกต่อกัน ทำให้ดนตรีไทยคงอยู่และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น

           

             บูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนวิชาอื่นๆ 
             การศึกษารายวิชาต่างๆ ในปัจจุบันจำเป็นต้องศึกษารายวิชาพื้นฐาน ซึ่งเป็นรายวิชาที่ช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้ชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข ได้รู้ได้เข้าใจในสิ่งต่างๆ ที่ควรรู้ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานของชีวิต การเรียนวิชาต่างๆเหล่านั้นสามารถนำดนตรีไทยเข้าไปบูรณาการในการเรียนการสอน เพื่อช่วยให้นักเรียนเข้าใจและจดจำเนื้อหาสาระได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้นักเรียนสนุกสนานกับบทเรียน เช่น การเรียนคณิตศาสตร์ อาจแต่งบทร้องให้เกี่ยวข้องกับสูตรต่างๆ ในการคำนวณใช้ทำนองเพลงไทยที่ง่ายๆ และสนุกสนานในการขับร้องจะช่วยให้นักเรียนจำสูตรต่างๆ และสามารถคำนวณได้ถูกต้อง  ถ้าเป็นวิชาพลศึกก็สามารถนำเพลงไทยที่มีจังหวะสนุกสนานทำท่าทางประกอบได้ เช่น เพลงค้างคาวกินกล้วย เป็นต้น








ความคิดเห็น

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)