เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

 เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ทางดนตรีสากลที่ประดิษฐ์ขึ้น  เพื่อใช้ในการบันทึกบทเพลงต่างๆมิให้สูญหาย และเป็นที่ยอมรับกันในระดับสากล มีดังนี้
      1.  บรรทัด 5 เส้น  (Staff) 
           บรรทัด 5 เส้น เป็นสัญลักษณ์ทางดนตรีที่ผู้เรียนดนตรีสากลควรทราบต่อจากตัวโน้ตและตัวหยุด  เป็นสิ่งที่แสดงว่าตัวโน้ตที่บันทึกลงในบรรทัด  5 เส้นนี้มีระดับใด เสียงสูง  หรือต่ำ กว่าตัวโน้ตตัวอื่นๆ  หรือไม่
       ลักษณะของบรรทัด 5 เส้น หรือเส้นบันทึกโน้ต เป็นเส้นตรงแนวนอน  5 เส้น ที่ขนานกันและมีระยะห่างเท่าๆกัน ใช้สำหรับบันทึกตัวโน้ตและตัวหยุด

      วิธีการนับเส้นและช่อง จะนับจากเส้นข้างล่างขึ้นไปหาเส้นข้างบน ดังนี้
        นอกจากบรรทัด 5 เส้น ซึ่งใช้เป็นหลักในการบันทึกตัวโน้ต  และตัวหยุดแล้ว  ยังมีเส้นที่ใช้ขีดใต้ บรรทัด 5 เส้น หรือ เหนือบรรทัด 5 เส้น เป็นเส้นสั้นๆ ที่ใช้ขีดเฉพาะตัวโน้ตที่มีระดับเสียงต่ำกว่า หรือมีระดับเสียงสูงกว่าเส้นที่ปรากฏในบรรทัด 5 เส้น เรียกเส้นสั้นๆนี้ว่า   เส้นน้อย  (Ledger Line)



         2. ลักษณะตัวโน้ต และตัวหยุด
             1) ตัวโน้ต  คือ เครื่องหมายที่ใช้บันทึกแสดงความสั้น - ยาว ของเสียง อัตราความสั้น - ยาวของตัวโน้ตจะมีกี่จังหวะนั้นจะขึ้นอยู่กับเครื่องหมายกำหนดจังหวะ
              ลักษณะของตัวโน้ตที่พบโดยทั่วไปมีลักษณะ ดังนี้
     
แผนภูมิกระจายตัวโน้ต

             
                การเขียนโน้ตตัวเขบ็ต  ในกรณีที่เขียนตัวโน้ตเรียงต่อกัน  นิยมเขียนในลักษณะ ดังนี้



                  2) ตัวหยุด หรือเครื่องหมายพักเสียง    คือ เครื่องหมายที่ทำให้เสียงเงียบ หรือหยุดชั่วคราว  แต่จังหวะยังคงดำเนินต่อเนื่องไป  จะหยุดนานเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะของตัวหยุด ลักษณะ และอัตราความยาวของตัวหยุดมีดังนี้
             

           3. เครื่องหมายกำกับบรรทัด
               เครื่องหมายกำกับบรรทัด  โน้ตสากลที่บันทึกลงในบรรทัด 5 เส้น  ที่อยู่ในตำแหน่งหรือในระดับต่างกัน  จะมีชื่อเรียกหรืออ่านออกเสียงต่างกัน  การอ่านออกเสียงตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น อ่านออกเสียงเป็น  C (Do)   D (Re)  M (Mi)     F(Fa)    G(Sol)    A(La)     B(Ti) ตำแหน่งของของตัวโน้ตที่อ่านออกเสียงต่างกันนี้  ถูกกำหนดโดยเครื่องหมายกำกับบรรทัดซึ่งเรียกว่า   กุญแจ  (Clef) 
            กุญแจที่ผู้เรียนควรทราบในระดับชั้นเรียนนี้คือ กุญแจซอล (G Clef) และ กุญแจฟา (F Clef)
            1) กุญแจซอล  คือ เครื่องหมายที่กำหนดเสียงของตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น ให้อ่านออกเสียงเป็น  C  D  M  F  G  A  B  C  มีตำแหน่งเสียงคงที่ โดยยึดเสียง  ซอล  เป็นหลัก
              ลักษณะของกุญแจซอลเป็นดังนี้
               กุญแจซอล จะบันทึกหัวกุญแจ คาบเส้นที่ 2 ของบรรทัด 5 เส้น  ตัวโน้ตทุกลักษณะที่บันทึกคาบเส้นที่ 2 อ่านออกเสียง   ซอล   ทั้งหมด เสียงอื่นๆ ก็ลำดับต่อเนื่องกันไปทั้งทางสูงและทางต่ำ ดังนี้

           2) กุญแจฟา  คือเครื่องหมายที่กำหนดเสียงของตัวโน้ตในบรรทัด 5 เส้น ให้อ่านออกเสียง  C  D   M  F   G  A  B  C มีตำแหน่งเสียงคงที่ โดยยึดเสียง  ฟา  เป็นหลัก
           ลักษณะของกุญแจฟาเป็นดังนี้
           กุญแจฟา บันทึกหัวกุญแจฟาคาบเส้นที่ 4 ของบรรทัด  5 เส้น  ตัวโน้ตทุกลักษณะที่บันทึกเส้นที่ 4 อ่านออกเสียง  ฟา  ทั้งมหด  เสียงอื่นๆ ก็ลำดับต่อเนื่องกันไปทั้งทางสูงและทางต่ำ ดังนี้

          ความสัมพันธ์ระหว่างบรรทัด 5 เส้น กุญแจซอล และกุญแจฟา  อาจเขียนเป็นบรรทัดรวมใหญ่ (Great  Staff)  ได้ดังนี้
      เสียง C  ที่คาบเส้นกลางของบรรทัดรวมใหญ่  มีชื่อเรียกว่า  โดกลาง หรือ  M.C. (Middle C)  

      4. เครื่องหมายแปลงเสียง
          เป็นเครื่องหมายที่ทำให้เสียงของตัวโน้ตสูงขึ้น หรือต่ำลงครึ่งเสียง ตามปกติใช้เขียนหน้าตัวโน้ตที่ต้องการแปลงเสียง มีดังนี้
         1) เครื่องหมายชาร์ป (Sharp) เป็นเครื่องหมายแปลงเสียงที่ทำให้เสียงที่ทำให้ตัวโน้ตมีระดับเสียงสูงขึ้นกว่าปกติครึ่งเสียง

        2) เครื่องหมายแฟลต (Flat) เป็นเครื่องหมายแปลงเสียงที่ทำให้ตัวโน้ตมีระดับเสียงต่ำลงกว่าปกติครึ่งเสียง

       ตำแหน่งของ ชาร์ป และ แฟลต บนลิ่มคีย์บอร์ด


       3) เนเจอรัล (Natural)  ใช้แปลงสภาพของตัวโน้ตที่เคยถูกเครื่องหมาย ชาร์ป หรือ แฟลต บังคับเสียงให้สูงขึ้นหรือต่ำลงกว่าปกติไว้แล้วให้กลับมาใช้เสียงเดิม



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)