การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

           นาฏศิลป์ไทยมีประวัติความเป็นมาอันยาวนานและได้พัฬนาปรับปรุงจนเป็นรูปแบบที่เห็นในปัจจุบัน การที่ศิลปะแขนงต่างๆคงอยู่จนถึงปัจจุบัน จะต้องมีการอนุรักษ์และสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นมิให้สูญหาย ซึ่งการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทยมีหลายวิธีด้วยกัน  ได้แก่

           1.รู้จักและเห็นคุณค่า

       รู้จักและเห็นคุณค่าของนาฏศิลป์ไทยที่มีเอกลักษณ์ของความเป็นไทย  ที่ใช้อากัปกิริยาจากท่าทางธรรมชาติประดิษฐ์เป็นท่านาฏศิลป์ มีความประณีตงดงาม มีทั้งที่เป็นแบบแผนและถ่ายทอดความเป็นวัฒนธรรม ประเพณีประจำท้องถิ่นที่ไม่มีชาติใดเหมือน ซึ่งนักเรียนจะต้องศึกษาหาความรู้ และสร้างแรงจูงใจให้เห็นถึงความสำคัญของนาฏศิลป์  เช่น  พระราชกรณียกิจของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  พระบรมราชชนณีพันปีหลวง  ถึงการอนุรักษ์และส่งเสริมการแสดงโขน และรู้จักสร้างสรรค์ผลงานโดยนำกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นมาบูรณาการได้อย่างเหมาะสม     เช่น การนำบทกลอนต่างๆ ในวรรณคดีไทย มาประดิษฐ์เป็นท่ารำประกอบการแสดงนาฏศิลป์อย่างสร้างสรรค์   ตลอดจนนำความรู้และทักษะที่ได้ไปประกอบอาชีพในอนาคต

            2.การฝึกหัดนาฏศิลป์

           ในการฝึกหัดนาฏศิลป์ไทยนับว่าเป็นอีกทางหนึ่งในการอนุรักษ์  เพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ของบรรพรุษไทย  ที่จะให้เยาวชนหันมาสนใจในการฝึกนาฏศิลป์ไทยมากขึ้น หรือด้วยกระแสของภาพยนตร์ที่เป็นสื่อให้เยาวชนได้ซึมซับ  เช่น   ภาพยนตร์เรื่องโหมโรง  ทำให้เยาวชนหันมาใส่ใจและสนใจฝึกดนตรีและนาฏศิลป์ไทยเพิ่มขึ้น อีกทั้งการฝึกหัดนาฏศิลป์ยังส่งผลให้มีบุคลิกภาพที่ดี  และเป็นการออกกำลังกายไปในตัว ทำให้มีสุขภาพที่แข็งแรง  และสุขภาพใจที่ดีที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

              3. การสืบทอด

          ปัจจุบันจะเห็นว่ามีสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนได้เปิดสอนเกี่ยวกับนาฏศิลป์ไทยหลายแห่ง  ล้วนมีผู้สนใจเรียนตั้งเด็กๆจนถึงผู้ใหญ่ นับว่าเป็นเป็นการซึมซับวัฒนธรรมความเป็นไทยได้อีกทางหนึ่ง   ครูส่งเสริมให้นักเรียนมีบทบาทในการเป็นผู้สืบทอดนาฏศิลป์ไทยทั้งในสถานศึกษาและนอกสถานศึกษซึ่งเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับเยาวชนรุ่นต่อไป   เช่น ร่วมกันจัดการแสดงเผยแพร่นาฏศิลป์ไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ   เมื่อมีโอกาสตลอดจนจัดกิจกรรมหรือโครงการเพื่อสิบทอดนาฏศิลป์ไทยให้เป็นที่ประจักษ์และเกิดความยั่งยืน


                 4.การให้การสนับสนุน

                4.1 การแสดงนาฏศิลป์      การจัดการแสดงเป็นแนวทางสำคัญในการอนุรักษ์นาฏศิลป์เพราะเป็นสิ่งที่สามารถเห็นหรือจับต้องได้ การแสดงนาฏศิลป์มักสอดแทรกอยู่ในวัฒนธรรมประเพณีของไทย  เช่น  การแสดงนาฏศิลป์พื้นบ้านที่มีความสนุกสนานในเทศกาลบุญบั้งไฟของภาคอีสาน  ซึ่งในปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีการสนับสนุนการจัดการแสดงอย่างจริงจังอีกทั้งหลักสูตรการศึกษาในปัจจุบันได้กำหนดให้นักเรียนมีความรู้และมีทักษะในการจัดการแสดงนาฏศิลป์อีกด้วย


               4.2 ชมการแสดงนาฏศิลป์     จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน กระแสยุคโลกาภิวัฒน์และโครงข่ายข้อมูลโซเซียลเน็ตเวิร์กได้เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับชีวิตคนเราอย่างมาก  ผู้คนมีทางเลือกในการที่จะชมสิ่งต่างๆ มากกว่าสมัยก่อน  จนหลงลืมศิลปะการแสดงแบบไทยที่มีมาแต่โบราณ  เช่น โขน   ละคร  ฟ้อนรำ  จึงทำให้การแสดงนาฏศิลป์ค่อยๆ เลือนหายไป ดังนั้นควรส่งเสริมให้นักเรียนได้ตระหนักพร้อมกับสร้างแรงจูงใจให้เห็นความสำคัญของนาฏศิลป์ไทย และแนะนำวิธีการชมที่ถูกต้อง  เพื่อให้เยาวชนเข้าถึงการแสดงนาฏศิลป์อย่างจริงจัง เพื่อสนองแนวพระราชดำริของพระองค์ท่านและให้เยาวชนรุ่นหลังเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทยอย่างแท้จริง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)