แนวข้อสอบปลายภาค ม.2
1. ข้อใดกล่าวถึงอาชีพดนตรี ไม่ถูกต้อง
ก.
อาชีพดนตรีไม่มีบทบาทในสังคมไทย
ข.
พัฒนาการของดนตรีเริ่มต้นจากดนตรีในชุมชน
ค.
คนเสพผลงานดนตรีเพื่อความสุข ความบันเทิงใจ
ง.
อาชีพดนตรีสามารถนำความก้าวหน้ามาสู่นักดนตรีได้
2. ข้อใด ไม่ใช่เครื่องยืนยันว่า อาชีพดนตรีทำให้นักดนตรีประสบความสำเร็จได้
ก.
ไม่ค่อยมีเวลาส่วนตัว
ข. มีรายได้ตอบแทนค่อนข้างสูง
ค.
ได้รับการยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ
ง.
ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติให้เป็นนักวัฒนธรรมดีเด่น
3.
ใครมีอาชีพทางด้านดนตรีต่างจากข้ออื่น
ก. ธงไชย
แมคอินไตย
ข. สุกฤษฎิ์ วิเศษแก้ว
ค. ผ่องศรี
วรนุช
ง. ครูมนตรี ตราโมท
4. อาชีพใดมีหน้าที่นำเพลงมาเรียบเรียงตามองค์ประกอบของดนตรีให้เหมาะสมกับการบรรเลง
ของวงดนตรี
ก. นักอำนวยเพลง
ข.
นักวิชาการดนตรี
ค. นักประพันธ์เพลง
ง. นักเรียบเรียงเพลง และเรียบเรียงเสียงประสาน
5. ดาวเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องการปฏิบัติเครื่องดนตรี
หลักวิชาดนตรี และมีความชำนาญ
ในการสอน ดาวควรประกอบอาชีพใดจึงจะเหมาะสม
ก. นักอำนวยเพลง
ข. นักวิชาการดนตรี
ค. ครูดนตรี
ง. นักประพันธ์เพลง
6. ใครมีคุณลักษณะที่ดีของนักดนตรีที่น่าเอาเป็นแบบอย่าง
ก. ตู่ไม่เคยวางแผนการฝึกซ้อมดนตรี
ข. แสตมป์มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อแฟนเพลง
ค. บอยไม่หมั่นใจตัวเองว่ามีฝีมือทางด้านดนตรี
ง. เป้ใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายเมื่อได้เงินจากการเล่นดนตรี
7. ข้อใด เป็นบทบาทของดนตรีในธุรกิจบันเทิง
ก. ทำให้ธุรกิจบันเทิงวุ่นวาย
ข. ช่วยในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
ค. ช่วยสร้างสัมพันธภาพระหว่างธุรกิจต่างๆ
ง.
ทำให้เกิดการประกอบธุรกิจที่ใช้ดนตรีเข้าไปเป็นส่วนสำคัญของการดำเนินงาน
8. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารีทรงดนตรีเมื่อไปเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศจีน
ถือว่าเป็นบทบาทของดนตรีที่มีต่อสังคมไทยในด้านใด
ก. มีบทบาทต่อระบบเศรษฐกิจ
ข. ช่วยให้ธุรกิจดนตรีขยายกว้างขึ้น
ค. ช่วยสร้างสัมพันธภาพระหว่างประเทศ
ง. ช่วยในการประชาสัมพันธ์รูปแบบต่างๆ
9. นักเรียนคิดว่า
ดนตรีสามารถเข้าไปมีบทบาทในกิจกรรมทางการเมืองได้หรือไม่ อย่างไร
ก. ได้
เพราะทุกกิจกรรมต้องมีดนตรีเข้าร่วมเสมอ
ข. ได้
เพราะสามารถใช้ดนตรีเป็นสื่อในการปราศรัยหาเสียง
ค. ไม่ได้
เพราะสิ้นเปลืองงบประมาณของทางภาครัฐ
ง. ไม่ได้
เพราะกิจกรรมทางการเมืองเป็นทางการไม่ควรมีดนตรีเข้ามาเกี่ยวข้อง
10. ข้อใด ไม่ใช่บทบาทของดนตรีที่มีต่อสังคมและวัฒนธรรมไทย
ก.
ช่วยให้ธุรกิจดนตรีขยายกว้างขึ้น
ข. ทำให้คนไทยใช้จ่ายเงินฟุ่มเฟือย
ค. ทำให้เศรษฐกิจไทยเจริญก้าวหน้า
ง. ช่วยในการเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรมไทย
11. ข้อใดไม่ใช่รูปแบบของการแสดงนาฏศิลป์
ก. รำ ข. เต้น
ค. ฟ้อน ง. ระบำ
12. การแสดงนาฏศิลป์ประเภทรำ แบ่งออกเป็นกี่ประเภท
อะไรบ้าง
ก. 2 ประเภท ได้แก่ รำเดี่ยว
รำคู่
ข. 2 ประเภท ได้แก่ รำวง
รำเดี่ยว
ค. 3 ประเภท ได้แก่ รำเดี่ยว
รำคู่ รำหมู่
ง. 4 ประเภท ได้แก่ รำเดี่ยว
รำคู่ รำหมู่ รำวง
13. การฟ้อนจัดเป็นนาฏศิลป์เฉพาะถิ่นของภาคใด
ก. ภาคกลาง และภาคใต้
ข. ภาคเหนือ และภาคกลาง
ข. ภาคเหนือ และภาคกลาง
ค.
ภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ง. ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ง. ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
14. ข้อใดกล่าวถึงเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยได้ถูกต้องที่สุด
ก. เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยมีราคาแพง
ข. เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยจัดทำขึ้นด้วยความประณีต
ค. เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยใช้สวมใส่เพื่อความวิจิตรงดงาม
ง. เครื่องแต่งกายที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ไทยช่วยบ่งบอกประเภทของการแสดง
ประวัติ
บุคลิกลักษณะ
และฐานะของตัวละคร
15. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะของบทประพันธ์ที่นำมาใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ไทย
ก. มีบทร้องและทำนองเพลง
ข. มีถ้อยคำสละสลวย
ไพเราะ เล่นสัมผัส
ค. แต่งขึ้นโดยชาวต่างชาติ
เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยม
ง. มีเนื้อเรื่องที่สนุกสนาน
ชวนให้ติดตาม แฝงแง่คิดในการดำเนินชีวิต
16. การวิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์ไทยต้องพิจารณาจากหลากองค์ประกอบ
ยกเว้นข้อใด
ก. ลีลาท่ารำ
ข. หน้าตาของผู้แสดง
ค. ลักษณะและรูปแบบการแสดง
ง. ความเป็นเอกภาพในการแสดง
17. การแสดงนาฏศิลป์ไทยในข้อใดไม่ใช่การแสดงที่ลอกเลียนแบบมากจากท่าทางของภาพประติมากรรม
ก. ระบำลพบุรี ข. ระบำวิมายบุรี
ค. ระบำทวารวดี
ง. ระบำกฤดาภินิหาร
18. ดนตรีมีความสัมพันธ์กับนาฏศิลป์อย่างไร
ก. ดนตรีช่วยเสริมให้นาฏศิลป์มีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
โดยช่วยถ่ายทอดความรู้สึกให้ผู้ชม
เกิดอารมณ์คล้อยตามการแสดงนั้นๆ
ข. ดนตรีช่วยทำให้ผู้ชมการแสดงนาฏศิลป์ไม่ง่วงนอน
ชมการแสดงได้จนจบ
ค. ดนตรีช่วยทำให้ผู้แสดงนาฏศิลป์ทราบถึงลำดับขั้นตอนในการแสดง
ง. ดนตรีช่วยเสริมให้ผู้แสดงนาฏศิลป์มีความกล้าแสดงออกมากยิ่งขึ้น
19. นาฏศิลป์มีความสัมพันธ์กับการงานอาชีพและเทคโนโลยีอย่างไร
ก. เพื่อให้เกิดการเรียนรู้
ฝึกทักษะในการสร้างสรรค์ทำงาน และนำไปประกอบเป็นอาชีพได้
ข. การนำเอาเทคนิคพิเศษต่างๆ
มาใช้เพื่อให้การแสดงเกิดความสมจริง
ค. การแสดงนาฏศิลป์ช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย
ง. เพื่อให้ทราบประวัติความเป็นมาของแต่ละท้องถิ่น
20. วรรณคดีเรื่องใดไม่นิยมนำมาใช้ในการแสดงนาฏศิลป์
ก. อิเหนา ข. รามเกียรติ์
ค. พระอภัยมณี ง. กาพย์ห่อโคลงประพาสธารทองแดง
21. เนื้อหาของบทร้องเพลงครวญหา กล่าวถึงใคร
ก. มนุษย์ ข. เทวดา
ค. สัตว์บก ง. สัตว์น้ำ
22. ข้อใดเป็นเอกลักษณ์ในการแสดงชุดระบำกฤดาภินิหาร
ก. การโปรยดอกไม้ ข. การถือเทียน
ค. การถือพวงมาลัย ง. การทำผมเกล้ามวยติดดอกไม้
23. ข้อใดกล่าว ไม่ถูกต้อง
ก. ระบำกฤดาภินิหารเป็นการรำคู่พระ-นาง
ข. ระบำกฤดาภินิหารมีวิวัฒนาการมาจากการรำโทน
ค. ระบำกฤดาภินิหารเกี่ยวข้องกับละครประวัติศาสตร์
ง. บทร้องระบำกฤดาภินิหารเป็นการพรรณนาถึงเทวดาและนางฟ้า
24. ข้อใด ไม่ใช่ท่ารำของระบำกฤดาภินิหาร
ก. ย่ำเท้ากันตามเป็นวงทวนเข็มนาฬิกา
ข. เท้าขวาก้าวไขว้ ศีรษะเอียงซ้าย ก้าวขวา กระดกเท้าซ้าย
ค. จีบสอดสูงมือซ้ายพร้อมกับแตะเท้าขวา ศีรษะเอียงขวา แล้วเอียงซ้าย
ง. ก้าวเท้าขวาหันหน้าตรง ซ้อนมือทั้ง 2 ยกขึ้นพร้อมกัน ศีรษะเอียงขวา หันหน้าทิศที่ 1
25. การแสดงชุดระบำกฤดาภินิหารจะหันหน้าไปทางทิศใด
ก. ทิศตะวันตก ข. ทิศตะวันออก
ค. ทั้ง 4 ทิศ ง. ทิศเหนือ
26. จากภาพเรียกว่าท่าอะไร
ก. ท่ากรายมือ ข. ท่าไหว้ 4 ทิศ
ค. ท่าภมรเคล้า ง. ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง
27. ข้อใดกล่าวถึงรำวงมาตรฐาน เพลงคืนเดือนหงายได้ถูกต้อง
ก. เป็นการละเล่นพื้นบ้านของภาคเหนือ
ข. เป็นระบำมาตรฐานในละครประวัติศาสตร์ไทย
ค. ผู้แสดงถือพานทองเป็นอุปกรณ์ประกอบการแสดง
ง. ท่ารำที่ใช้รำวงมาตรฐาน คือ ท่าสอดสร้อยมาลาแปลง
28. รำวงมาตรฐานมีกี่เพลง กี่ท่า
ก. 10 เพลง 10 ท่า ข. 9 เพลง 9 ท่า
ค. 8 เพลง 8 ท่า ง. 7 เพลง 7 ท่า
29. ข้อใด ไม่ใช่เครื่องแต่งกายของผู้แสดงรำวงมาตรฐาน
ก. ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลมลายดอก มีผ้าคาดพุง
ข. ผู้หญิงนุ่งกระโปรงสั้นเหนือเข่า สวมเสื้อลูกไม้ แขนพอง
ค. ผู้หญิงนุ่งโจงกระเบน ห่มสไบ ทัดดอกไม้
ง. ผู้ชายนุ่งโจงกระเบน สวมเสื้อราชปะแตน
30. ข้อใดวิเคราะห์การแสดงรำวงมาตรฐาน เพลงคืนเดือนหงาย ได้ถูกต้อง
ก. ผู้รำต้องแต่งกายแบบไทยพระราชนิยมอย่างเดียว
ข. เป็นการรำเดี่ยวที่เน้นลีลากระบวนท่ารำที่อ่อนช้อยงดงาม
ค. เป็นการรำคู่ชาย-หญิง เดินตามกันเป็นวงกลมตามเข็มนาฬิกา
ง. เริ่มต้นการแสดงและจบการแสดงด้วยการที่ชาย-หญิงไหว้ซึ่งกันและกัน
31. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของ
“นาฏศิลป์พื้นเมือง”
ก. การแสดงที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน
ข. การแสดงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว
ค. การแสดงที่สร้างความบันเทิง
ง. การแสดงเพื่อหารายได้
32. เพลงใดไม่ปรากฏในสมัยรัตนโกสินทร์
ก. เพลงเรือ ข. เพลงไก่ป่า
ค. เพลงเทพทอง ง. เพลงแอ่วลาว
33. การร้องเพลงโต้ตอบกันทำให้เกิดสิ่งใดขึ้น
ก. เครื่องดนตรี ข. เนื้อเรื่อง
ค. ท่าเต้น ง. ท่ารำ
34. ข้อใดไม่ใช่ปัจจัยที่มีผลต่อการแสดงนาฏศิลป์พื้นเมือง
ก. รายได้ ข. ศาสนา
ค. ค่านิยม ง. ความเชื่อ
35. นาฏศิลป์พื้นเมืองของภาคเหนือได้รับอิทธิพลมาจากอาชีพใด
ก. การทอผ้า ข. การทำร่ม
ค. การเกษตร ง. การทำประมงน้ำจืด
36. ข้อใดเป็นการแสดงนาฏศิลป์ของภาคใต้ทั้งหมด
ก. ลำตัด
รองเง็ง ข. โนรา กาหลอ
ค. ตารากีปัส ระบำกลองยาว ง. ฟ้อนเทียน เซิ้งกระติบข้าว
37. รำวงมาตรฐานเป็นการแสดงที่พัฒนามาจากการแสดงอะไร
ของภาคใด
ก. รำโทน-ภาคกลาง ข. หนังตะลุง-ภาคใต้
ค. เซิ้งสวิง-ภาคอีสาน ง. ฟ้อนเทียน-ภาคเหนือ
38. เนื้อเพลงใดต่อไปนี้ไม่ใช่เพลงรำวงมาตรฐาน
ก. ดวงจันทร์ขวัญฟ้า
ชื่นชีวาขวัญพี่
ข. ข้างขึ้นเดือนหงาย
เราขี่ควายชมจันทร์
ค. ขวัญใจดอกไม้ของชาติ
งามวิลาสนวยนาดร่ายรำ
ง. เดือนพราวดาวแวววาวระยับ
แสงดาวประดับส่งให้เดือนงามเด่น
39. ข้อใดเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการแสดงเซิ้งสวิง
ก. พัด ข. เทียน
ค. ตะข้อง ง. กระติบข้าว
40. การแสดงในข้อใดเป็นการแสดงเพื่อต้อนรับแขกบ้านแขกเมืองหรือบุคคลสำคัญของชาวไทย
ในภาคเหนือ
ก.
ฟ้อนสาวไหม ข. ระบำใบชา
ค. ฟ้อนเงี้ยว ง. ฟ้อนเทียน
41. ข้อใดเป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์กระบวนการสร้างสรรค์ละคร
ก. คิดบทละคร
ข.
กำหนดวัตถุประสงค์
ค. ออกแบบเครื่องแต่งกาย
ฉาก แสง สี
ง. เลือกนักแสดงให้เหมาะสมกับตัวละครของเรื่อง
42. หลักการวิจารณ์การแสดงละคร
ผู้วิจารณ์จะต้องมีความรู้ในเรื่องใด
ก. ลีลาท่ารำ
ข. การจัดแสดงชุดต่างๆ
ค. ความสามารถของผู้แสดง
ง. องค์ประกอบในการแสดงละครรำ
43. ข้อใด
ไม่ใช่สุนทรียภาพของการแสดงละคร
ก. บทประพันธ์ ข. เครื่องแต่งกาย
ค. ผู้ชมการแสดง ง.
ดนตรีและการขับร้อง
44. บทสนทนาระหว่างตัวละครกับตัวละคร
มีความสำคัญต่อการแสดงละครหรือไม่ อย่างไร
ก. สำคัญ เพราะสามารถช่วยแสดงนิสัยของตัวละครและช่วยในการดำเนินเรื่องได้
ข. สำคัญ
เพราะถือเป็นข้อบังคับที่ละครทุกเรื่องควรมี
ค. ไม่สำคัญ
เพราะให้ความสำคัญกับแนวคิดของเรื่องมากกว่า
ง. ไม่สำคัญ
เพราะบทสนทนาถือเป็นส่วนประกอบย่อยเท่านั้น
45. ข้อใดเป็นบรรยากาศที่เหมาะสมที่สุดในการจัดการแสดงละครเวทีเรื่อง
แม่นาคพระโขนง
ก. ฉากวิถีชีวิตชาวชนบท
มีกระท่อม ทุ่งนา วัวควาย
ข.
ฉากในสนามรบ มีปืนใหญ่ มีดดาบ
กำแพง ทุ่งหญ้า
ค. ฉากชุมชนแออัด
มีบ้านเรือนตั้งหนาแน่น ลำคลอง สะพานไม้
ง. ฉากป่าเขาลำเนาไพร มีต้นไม้ เสียงนกร้อง น้ำตก
สัตว์นานาชนิด
46.
ถ้านักเรียนจะวิเคราะห์วิจารณ์องค์ประกอบของการร่ายรำ ควรเลือกวิเคราะห์วิจารณ์เรื่องใด
จึงจะเหมาะสม
ก. ความถูกต้องตามแบบแผนของท่ารำ ข. ความเป็นเอกภาพของผู้แสดง
ค. การแต่งกายของนักแสดง ง. รูปแบบของการแสดง
47.
ถ้านักเรียนต้องการเดินทางไปดูเวทีละครแห่งแรกของโลก ต้องเดินทางไปประเทศใด
ก. อียิปต์ ข. กรีก
ค. ฝรั่งเศส ง. เวียดนาม
48.
ข้อใดเป็นแนวคิดที่ได้จากเรื่อง เจ้าหญิงแสนหวี
ก. ความไม่แน่นอนของชีวิต
ข. ความมีน้ำใจแก่เพื่อนมนุษย์
ค. ความรักใคร่ของคนหนุ่มสาว
ง. ความรักและเสียสละเพื่อชาติ
49.
เหลี่ยม ในการร่ายรำหมายถึงข้อใด
ก. ระยะเท่ากันของการมอง
ข. ระยะเท่ากันของนิ้วมือ
ค. ระยะเข่าทั้งสองข้างกางออก
ง. ระยะแขนทั้งสองข้างกางออก
50.
ใครนำการละครมาประยุกต์ใช้กับสาระภาษาไทยได้ถูกต้องเหมาะสม
ก. ประวิทย์เตรียมฉาก เครื่องแต่งกาย
การแต่งหน้าโดยนำองค์ประกอบศิลป์มาใช้
ข. อัญชสายืดหยุ่นร่างกายทุกครั้ง
เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มฝึกการแสดง
ค. นพดลประดิษฐ์อุปกรณ์สำหรับใช้ประกอบการแสดง
ง. ภุมวารีฝึกอ่านบทละครให้ถูกต้องตามอักขระ
51. ในศิลาจารึกหลักที่ 1 ของพ่อขุนรามคำแหง
ได้กล่าวถึงการละเล่นในเทศกาลกฐินว่า
“
ดงบงคมกลองด้วยเสียงพาด เสียงพิณ เสียงเลื่อน เสียงขับ
ใครจักมักเล่น
เล่น ใครจักมักหัว หัว ใครจักมักเลื้อน เลื้อน ”
จากข้อความข้างต้น
สะท้อนให้เห็นถึงการแสดงละครไทยอย่างไร
ก.
การแสดงละครไทยมีมาช้านาน
ข. ประชาชนทุกคนต้องแสดงละครได้
ค. ประชาชนทุกคนชอบดูการแสดงละคร
ง. การแสดงละครไทยต้องมีเครื่องดนตรีประกอบ
52. จากหลักฐานการแสดงละครในยุคสมัยต่างๆ
สะท้อนให้เห็นถึงนิสัยของคนไทยในสมัยก่อนอย่างไร
ก.
เป็นคนเจ้าระเบียบ
ข. เป็นคนจอมวางแผน
ค. เป็นคนเจ้ายศเจ้าอย่าง
ง. เป็นคนสนุกสนาน ร่าเริง
53. ข้อใดเป็นสิ่งที่ทำให้การแสดงละครใน
สมัยอยุธยาแตกต่างจากการแสดงละครอื่นๆ
ก. แสดงเฉพาะภายในราชฐาน
ข. ถือกำเนิดมาจากละครพื้นบ้าน
ค. เครื่องดนตรีประกอบมีน้อยชิ้น
ง. การแต่งกายจะแต่งแบบคนธรรมดาสามัญ
54. ข้อใด ไม่เกี่ยวข้องกับการแสดงละครนอก
สมัยอยุธยา
ก. ผู้แสดงจะเป็นชายล้วน
ข. เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ละครตลาด
ค. เนื้อเรื่องที่แสดงเป็นเรื่องจักรๆ วงศ์ๆ
ง.
มุ่งดำเนินเรื่องให้รวดเร็ว โลดโผน ตลก ขบขัน
55. สมัยใดที่การแสดงละครไทยมีวิวัฒนาการมากที่สุด
ก. สมัยกรุงธนบุรี
ข. สมัยสุโขทัย
ค. สมัยอยุธยา
ง. สมัยรัตนโกสินทร์
56. เพราะเหตุใด
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงถือเป็นยุคทองแห่งศิลปะการแสดง
ก. เริ่มรับอิทธิพลจากชาติตะวันตก
ข. มีการดัดแปลงการแสดงละคร
จนเกิดการแสดงรูปแบบใหม่ๆ ขึ้น
ค. มีบทละครปรากฏจำนวนมาก เช่น อิเหนา
ไกรทอง คาวี ไชยเชษฐ์
ง. มีละครเกิดขึ้นใหม่หลายประเภท เช่น ละครพันทาง
ละครเสภา ละครร้อง
57. บทไหว้ครูในบทละครรำ
สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมใดของคนในสังคมไทยใดมากที่สุด
ก. การนอบน้อมถ่อมตน รู้จักสัมมาคารวะ
ข. ความเอื้อเฟื่อ เสียสละ
ค. ความมีระเบียบวินัย
ง. ความสามัคคี
58. เหตุผลสำคัญในข้อใด
ที่ทำให้การวิเคราะห์วิจารณ์การแสดงละครรำประเภทต่างๆ ใช้หลักเกณฑ์
แตกต่างกันออกไป
ก. รูปแบบของการแสดงละครรำที่แตกต่างกัน
ข. ไม่มีหลักเกณฑ์การวิเคราะห์วิจารณ์ที่แน่นอน
ค. ขึ้นอยู่กับความคิดของผู้วิเคราะห์วิจารณ์แต่ละคน
ง. ยุคสมัยในการวิเคราะห์วิจารณ์มีการเปลี่ยนแปลง
59.
การวิเคราะห์วิจารณ์การแสดงละครเวทีให้น่าเชื่อถือนั้น ผู้วิเคราะห์วิจารณ์ควรมีความรู้เรื่องใดมากที่สุด
ก. การตีความหมายบทละคร
ข. องค์ประกอบเกี่ยวกับการแสดงละครเวทีด้านต่างๆ
ค. การใช้ภาษาในการถ่ายทอดผลการวิเคราะห์วิจารณ์
ง. ส่วนประกอบย่อยของการแสดงละครเวที
เพื่อจะได้วิเคราะห์วิจารณ์ได้สมบูรณ์ที่สุด
60. การประยุกต์ศิลปะแขนงอื่นๆ
กับการแสดงมีความจำเป็นหรือไม่ อย่างไร
ก. ไม่จำเป็น
เพราะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
ข. จำเป็น
เพราะช่วยสร้างเสริมให้การแสดงเกิดความน่าสนใจ และสมจริงมากยิ่งขึ้น
ค. ไม่จำเป็น
เพราะถ้าผู้แสดงแสดงดีแล้วก็ไม่จำเป็นต้องประยุกต์ศิลปะแขนงอื่นๆ มาใช้
ง. จำเป็น
เพราะการแสดงจะน่าสนใจมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการประยุกต์ศิลปะแขนงอื่นๆ เป็นหลัก
ข้อเขียน
1.หลักการสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์มีอะไรบ้าง
2.เหตุใดจึงต้องมีการบูรณาการศิลปะแขนงอื่นๆเข้ากับการแสดงนาฏศิลป์
3.การวิเคาระห์วิจารณ์การแสดงนาฏศิลป์มีความสำคัญอย่างไรต่อการแสดงนาฏศิลป์
4.นาฏศิลป์มีความเชื่อมโยงกับสาระการเรียนรู้อื่นๆอย่างไร
5.เพราะเหตุใดถึงแม้จะอยู่ในประเทศไทยเหมือนกัน แต่การแสดงนาฏศิลป์พื้นเมืองของแต่ละภาคจึงแตกต่างกัน
6.ลักษณะเฉพาะของการแสดงนฏศิลป์พื้นเมืองในภาคต่างๆเป็นอย่างไร
7.การแสดงที่เป็นละคร จะต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
8.ในการวิเคราะห์วิจารณ์ละคร ผู้วิจารณ์ต้องมีคุณสมบัติอะไรบ้าง
9.การละครมีความสัมพันธ์กับสาระการเรียนรู้อื่นๆอย่างไร
รบกวนขอเฉลยหน่อยค่ะ ขอบคุณค่ะ
ตอบลบ