แนวข้อสอบปลายภาค ม.3
1.
ลักษณะของเพลงอัตราสองจังหวะและเพลงอัตราสี่จังหวะคือข้อใด
ก.
เป็นเพลงสนุกสนาน ร่าเริง ข.
เป็นเพลงที่ขาดความสมดุล
ค.
เป็นเพลงที่ให้ความรู้สึกชวนฝัน ง. เป็นเพลงช้าที่ให้ความรู้สึกยืดยาด
2.
การใช้บันไดเสียงในข้อใดที่ให้ทำนองเพลงที่ได้อารมณ์เศร้า
ก.
บันไดเสียงเมเจอร์ ข.
บันไดเสียงไมเนอร์
ค.
บันไดเสียงไดอะโทนิก ง. บันไดเสียงเพนทาทอนิก
3. จุดประสงค์ของการจัดการแสดงดนตรีระดับโรงเรียน คือข้อใด
ก. เพื่อหารายได้มาพัฒนาโรงเรียน ข. เพื่อลดปมด้อยด้านวิชาการของโรงเรียน
ค. เพื่อการเป็นนักดนตรีมืออาชีพและการหารายได้ ง. เพื่อให้การแสดงดนตรีเป็นสื่อกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์
4.
การแสดงดนตรีประเภทใดที่ต้องคำนึงถึงฝีมือในการเล่นเปียโนและคุณภาพของเครื่องดนตรีเป็นสำคัญ
ก.
การแสดงดนตรีนอกโรงเรียน ข.
การแสดงของวงคอนเสิร์ตแบนด์
ค. การแสดงของวงนักร้องประสานเสียง ง. การแสดงดนตรีเพื่อส่งกระจายเสียงทางวิทยุ
5. นาฏศิลป์และการละครเริ่มเกิดขึ้นเมื่อใด
ก. เมื่อมนุษย์มีภาษาพูด ข. เมื่อมนุษย์มีครอบครัว
ค. เมื่อมนุษย์มีลมหายใจ ง. เมื่อมนุษย์มีพัฒนาการ
6. การร้อง รำ ทำเพลง เกิดจากสัญชาตญาณของมนุษย์คำว่า ทำเพลง เกิดจากอะไร
ก. ทารกหิวจะร้องไห้ ข. การตีเกราะเคาะไม้
ค. การกระโดดโลดเต้น ง. การเคลื่อนไหวร่างกาย
7. การฟ้อนรำกับมนุษย์มีความผูกพันกันจนแยกไม่ออก
ต่อมา จึงได้มีการนำมาผูกเป็นเรื่องแสดง เรียกว่าอะไร
ก. โขน ข. งิ้ว
ค. ละคร ง. ลิเก
8. ข้อความ “ดูละครแล้วย้อนดูตัว” หมายความว่าอย่างไร
ก. การเล่นละครต้องดูตัวเองให้ลึกซึ้ง ข. ละครเป็นเพียงภาพลวงตาที่หลอกตัวเรา
ค. การมองตัวเองทำให้เราสามารถเล่นละครได้ ง. ละครช่วยให้มนุษย์มีแนวทางในการแก้ปัญหา
9. เพราะเหตุใดนาฏศิลป์และการละครจึงยังไม่สูญหายไปจากคนไทย
ก.
เพราะคนไทยตระหนักในคุณค่าและช่วยจรรโลงให้คงอยู่
ข. เพราะมีคนรวยลงทุนจ้างนาฏศิลป์และการละครไปแสดง
ค. เพราะชาวต่างชาติเห็นคุณค่าและชื่นชมนาฏศิลป์ และการละคร
ง. เพราะมีกฎหมายบังคับให้มีการจัดตั้งสถาบันการศึกษาวิชานาฏศิลป์และการละคร
10. สิ่งใดแสดงถึงคุณค่าและประโยชน์ของนาฏศิลป์และการละครด้านการปลูกฝังคุณธรรม
จริยธรรม
ก. การจัดแสดงโขน
ละคร ในงานพระราชพิธีต่างๆ
ข. การจัดตั้งสถาบันการศึกษาวิชานาฏศิลป์และการละคร
ค. ความรู้สึกภูมิใจในขนบธรรมเนียมประเพณีของคนในชาติ
ง. ก่อนออกแสดงนาฏศิลป์และการละครต้องทำความ เคารพครูฝึก
11. ศิลปะแขนงวิจิตรศิลป์ที่ปรากฏในงานนาฏศิลป์และการละคร คือข้อใด
ก. วิศวกรรม ข. คหกรรม
ค. วรรณกรรม ง. หัตถกรรม
12. ข้อใดแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงบทบาทนาฏศิลป์และการละคร ไปจากเดิม
ก. การแต่งกายที่งดงามและประณีต ข. การใช้ร้านอาหารแทนโรงมหรสพ
ค. การรักษามาตรฐานของการแสดง ง. การให้ความบันเทิงแก่บุคคลทั่วไป
13. นักเรียนจะมีส่วนในการสืบสานและอนุรักษ์นาฏศิลป์และการละครได้อย่างไร
ก. การดูภาพยนตร์เกาหลี ข. การร้องเพลงสากลให้ไพเราะ
ค. การชมโขนในโรงละครแห่งชาติ ง. การดูการแสดงคอนเสิร์ตกับเพื่อน
14. สิ่งใดที่สะท้อนให้เรามองเห็นสภาพบ้านเมืองที่มีความ สวยงาม
แสดงความเป็นชาติที่มีมรดกทางวัฒนธรรม
ก. นาฏศิลป์และการละคร ข. ความเจริญทางเทคโนโลยี
ค. การเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ง. ความร่ำรวยและมั่นคงทางเศรษฐกิจ
15.
ข้อใดคือการแสดงรำเดี่ยว
ก. รำสีนวล รำอาวุธ ข. รำญวน รำกระถาง
ค. รำหน้าพาทย์ รำเพลงเร็ว ง. รำแม่บท รำพระรามตามกวาง
16.
จุดเด่นของการรำเดี่ยว คือข้อใด
ก. เน้นลีลาท่ารำของผู้แสดง ข. เน้นบทเพลงที่นำมาแสดง
ค. เน้นความพร้อมเพรียงของดนตรี ง. เน้นความกลมกลืนตามแบบแผน
17. การวิจารณ์งานนาฏศิลป์ไทย
ผู้วิจารณ์ต้องมีคุณสมบัติใน ข้อใด
ก. มีความรู้ในด้านวิชาการชั้นสูง ข. มีประสบการณ์ในการดำเนินชีวิต
ค. มีความรู้ในการแสดงแต่ละประเภท ง. มีรสนิยมและอยู่ในวงการบันเทิงนาน
18. รำเมขลารามสูรเป็นการแสดงประเภทใด
ก. รำหมู่ ข. รำคู่
ค. รำเดี่ยว
ง. รำฟ้อน
19. การแต่งกายแบบราตรีสโมสรเป็นการแต่งกายสำหรับแสดงอะไร
ก. รำอาวุธ ข. ระบำฉิ่ง ค. รำจีนรำพัด ง. รำวงมาตรฐาน
20. การรำหมู่ส่วนใหญ่จะแต่งกายแบบใด
ก. แบบรัชกาลที่ 5 ข. แบบพื้นเมือง ค. ยืนเครื่องพระนาง ง. แบบสากลนิยม
21. สิ่งสำคัญของการรำหมู่ คือข้อใด
ก. มีท่ารำที่อ่อนช้อยงดงาม ข.การแสดงอารมณ์ของผู้แสดง
ค. ความพร้อมเพรียงของผู้แสดง ง. ไม่ต้องมีบทร้องประกอบการแสดง
22. เพลงรำฉุยฉายพราหมณ์ใช้ดนตรีอะไรในการแสดง
ก. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ข. วงปี่พาทย์ไม้นวม
ค. วงปี่พาทย์เครื่องห้า ง. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
23.
ข้อใดคือการวิจารณ์งานนาฏศิลป์ในด้านคุณค่าของศิลปะการแสดง
ก. การแสดงละครเพื่อรับใช้สังคม ข. การแสดงที่เป็นแบบแผนจากรุ่นสู่รุ่น
ค. การแสดงที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ชาติไทย ง. การแสดงเพื่อการปลูกฝังจริยธรรมให้เยาวชน
24. ข้อใดคือการวิจารณ์กระบวนท่ารำของผู้แสดง
ก. การแสดงถึงวิถีชีวิตไทย ข. รูปร่างหน้าตาของผู้แสดง
ค. ผู้รำเป็นตัวละครในเรื่องใด ง. ปฏิภาณไหวพริบของผู้แสดง
25.
สิ่งใดใช้สื่อความหมายตามความคิดจินตนาการ ให้ผู้ชมเกิดอารมณ์สนุกสนานเพลิดเพลินในการแสดงนาฏศิลป์ไทย
ก.
การใช้น้ำเสียงร้องเพลง ข.
การใช้สรีระของร่างกาย
ค. การใช้อุปกรณ์ประกอบการแสดง ง.
การใช้เครื่องดนตรีประกอบการแสดง
26.
ข้อใดคือภาษาท่าหรือภาษาท่ารำที่บ่งบอกอิริยาบถของมนุษย์
ก. ฝนตก ท่าบิน ข.
ท่านอน ท่าโกรธ ค.
ท่าองอาจ ท่าเดิน ง.
ท่านั่ง ท่าเรียก
27.
ข้อใดคือภาษาท่าหรือภาษาท่ารำที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกภายใน
ก. ท่ารัก ท่าเดิน ข.
ท่าจีบ ท่าดม ค.
ท่าดีใจ ท่ายิ้ม ง.
ท่าเสียใจ ท่าทำลาย
28.
ท่ารำ “พรหมสี่หน้า” เป็นภาษาท่าหรือภาษาท่ารำประเภทใด
ก.
ภาษาท่าหรือภาษาท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นเป็นแม่ท่า
ข.
ภาษาท่าหรือภาษาท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นจากธรรมชาติ
ค.
ภาษาท่าหรือภาษาท่ารำที่บ่งบอกอิริยาบถของมนุษย์
ง.
ภาษาท่าหรือภาษาท่ารำที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกภายใน
29.
ท่าที่นำมาตีบทในความหมายความสวย ความงาม ความเลิศ ประเสริฐ คือข้อใด
ก.
ท่ารำ “นภาพร” ข. ท่ารำ “เฉิดฉิน” ค.
ท่ารำ “ภมรเคล้า” ง. ท่ารำ “เทพพนม”
30.
การประดิษฐ์ท่ารำข้อใดที่ควรปฏิบัติก่อน
ก.
การเคลื่อนไหวร่างกาย ข.
การใช้ภาษาท่ารำวงมาตรฐาน
ค. การใช้ภาษาท่าทางเพื่อสื่อความหมาย ง.
การใช้ท่าทางแทนคำพูดหรือใช้ภาษานาฏศิลป์ประกอบเพลง
31.
การประดิษฐ์ท่ารำที่ต้องใช้หลักนาฏศิลป์มาใช้ด้วย คือการประดิษฐ์ท่ารำในข้อใด
ก. การใช้ภาษาท่าทาง ข. การเลียนแบบธรรมชาติ
ค.
การใช้ท่าทางแทนคำพูด ง.
การเคลื่อนไหวร่างกาย
32. ท่ารำพื้นฐานที่สามารถนำมาใช้ได้ทุกโอกาสที่มีงานรื่นเริง
คือข้อใด
ก.
ท่ารำพรหมนิมิต ข. รำวงมาตรฐาน ค.
ฟ้อนเล็บ ง.
เต้นกำรำเคียว
33.
รำวงมาตรฐาน เพลงดอกไม้ของชาติ
ใช้ท่ารำในข้อใด
ก.
รำยั่ว ข. รำส่าย ค.
ชักแป้งผัดหน้า ง. สอดสร้อยมาลา
34. ท่ารำวงมาตรฐานพรหมสี่หน้าและยูงฟ้อนหางใช้กับเพลงอะไร
ก.
เพลงรำมาซิมารำ ข.
เพลงงามแสงเดือน ค.
เพลงยอดชายใจหาญ ง. เพลงหญิงไทยใจงาม
35. สิ่งใดเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในการแสดงละคร
ก.
บทบาทในการแสดง ข.
การแต่งกายของนักแสดง
ค.
รูปร่างหน้าตาของนักแสดง ง. เวทีหรือฉากประกอบการแสดง
36. การฝึกทักษะละครรำ ต้องมีการแบ่งผู้แสดงออกเป็น
2 กลุ่ม คือข้อใด
ก. ตัวดีและตัวร้าย ข. ตัวใหญ่และตัวเล็ก
ค. ตัวพระและตัวนาง ง. ตัวเอกและตัวสำรอง
37. การยกแขนเป็นวงทอดโค้ง ตั้งมือออก นิ้วมือทุกนิ้วตึง เก็บหัวแม่มือ เรียกว่าอะไร
ก. การตั้งวง ข. การจีบมือ ค. การใช้ลำตัว ง. การเคลื่อนไหว
38. ข้อใดเป็นการฝึกทักษะละครที่ไม่ใช้ท่ารำ
ก. การทรงตัว ข. การใช้ลำตัด ค. การเคลื่อนไหว ง. การเดิน การนั่ง
39.
สิ่งใดมีส่วนสำคัญในการสื่อความหมายอารมณ์ของตัวละคร
ก. ตำแหน่งการยืน ข. ตำแหน่งการนั่ง ค. การเคลื่อนไหวตา ง. การเคลื่อนไหวร่างกาย
40. เราสามารถพัฒนารูปแบบการแสดงละครได้อย่างไร
ก. แสดงความรู้สึกมากเกินธรรมชาติ ข. นำมาสัมพันธ์กับชีวิตจริงในแต่ละยุค
ค. ไม่จำเป็นต้องใช้เทคนิคสมัยใหม่มาช่วย ง. แสดงแต่ละครที่มีชื่อเสียงและผู้ชมชอบ
41. เพราะเหตุใดเราจึงนำละครบางเรื่องมาแสดงเป็นชุดเป็นตอน
ก. บทละครมีความยาวมาก ข. มีงบประมาณจำกัด
ค. ผู้ชมไม่ชอบดูทั้งเรื่อง ง. ผู้แสดงไม่มีเวลาแสดงทั้งเรื่อง
42. เพราะเหตุใดบทละครเรื่อง อิเหนา ตอนย่าหรันตามนกยูง จึงได้รับการพิจารณาให้เป็นบทประพันธ์ที่นำมาแสดง
เป็นชุดเป็นตอน
ก. เวทีและฉากง่าย ข. เข้าใจง่าย สนุก ค.
ใช้ผู้แสดงน้อย ง. มีคุณค่า
ให้คติสอนใจ
43.
ถ้าเปรียบเทียบการแสดงละครเป็นร่างกายของมนุษย์ บทละครจะเปรียบเทียบได้กับอวัยวะส่วนใดของร่างกาย
ก.
ปอด ข. ตับ ค.
หัวใจ ง. กระเพาะ
44. “บทเข้าพระเข้านาง” อยู่ในส่วนใดของโครงสร้างบทละคร
ก. โครงเรื่อง ข. การเกี้ยวพาราสี ค. การรำพัง ง.
การชมธรรมชาติ
45.
ผู้ที่มีหน้าที่ในการเลือกละครที่จะนำมาแสดงคือข้อใด
ก.
ผู้แสดง ข.
ผู้ชมการแสดง ค.
ผู้กำกับการแสดง ง.
ผู้อำนวยการแสดง
46.
งานแสดงในข้อใดที่นำมาแสดงในงานอวมงคล
ก.
งานศพ ข. งานสงกรานต์ ค. งานมงคลสมรส ง. งานขึ้นบ้านใหม่
47.
การแสดงในข้อใดเป็นการแสดงประเภทโศกนาฏกรรม
ก.
สังข์ทอง ตอนเลือกคู่ ข.
อิเหนา ตอนไหว้พระ
ค. รามเกียรติ์
ตอนยกรบ ง. อิเหนา
ตอนบุษบาเสี่ยงเทียน
48.
ข้อใดไม่ใช่การคัดเลือกบทละคร
ก.
มีคุณค่าทางวรรณกรรม ข.
ใช้เงินลงทุนจำนวนมาก
ค.
เหมาะสมกับกลุ่มผู้ชมละคร ง. มีองค์ประกอบการแสดงครบ
49.
ข้อใดคือการคัดเลือกผู้แสดงละครรำตัวนาง
ก. ใบหน้ากลม
จมูกเล็ก คอสั้น ข.
ใบหน้าแบน จมูกโด่ง คางยาว
ค. ใบหน้ารูปไข่ จมูกใหญ่ ปากกลม ง.
ใบหน้ารูปไข่ จมูกโด่ง ปากเป็นรูปกระจับ
50.
การคัดเลือกผู้แสดงละครที่ไม่ใช้ท่ารำควรคัดเลือกอย่างไร
ก.
มีความสามารถในการเคลื่อนไหวดี ข.
ไม่ต้องใช้อารมณ์ในการแสดงมากนัก
ค.
เสียงและท่าทางเหมาะสมกับบทบาท ง. มีรูปร่างหน้าตาดีอย่างเดียวก็เพียงพอ
51.
ข้อใดไม่ใช่เกณฑ์ในการออกแบบเครื่องแต่งกาย
ก.
เหมาะสมกับบทบาทของตัวละคร ข.
ต้องคำนึงถึงสี รูปทรง และบทละคร
ค.
ความสะดวกสบายในการเคลื่อนไหว ง. ออกแบบตามความต้องการของตนเอง
52.
ลักษณะเด่นของเครื่องแต่งกายละครรำคือข้อใด
ก.
บอบบางแตกหักได้ง่าย ข.
มีศิลปะที่ประณีตงดงาม
ค.
ประดิษฐ์ด้วยวัสดุราคาแพง ง. มีน้ำหนักมากทำให้เคลื่อนไหวช้า
53.
การออกแบบฉากที่ดี ควรออกแบบอย่างไร
ก.
ข่มตัวละครและเครื่องแต่งกายของนักแสดง ข.
เอื้ออำนวยต่อการแสดงทุกรูปแบบ
ค.
มีความสว่างของฉากให้มากที่สุด ง.
ใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีราคาแพง
54. ข้อใดคือการแต่งหน้าแบบพิสดาร
ก. ตัวพระ ข.
ตัวนาง ค.
ตัวร้าย ง. ตัวตลก
ข้อเขียน
1.การแสดงรำเดี่ยว รำคู่และรำหมู่ มีความแตกต่างกันอย่างไร
2.ประโยชน์ที่ได้รับจากนาฏศิลป์ไทยประเภทรำในรูปแบบต่างๆ มีอะไรบ้าง
3.นักเรียนมีหลักวิจารณืเปรียบเทียบการแสดงรำแต่ละประเภทอย่างไร
4.ภาษาท่ารำที่มาจากธรรมชาติมีความแตกต่างกับภาษท่ารำที่ประดิษฐ์ขึ้นอย่างไร
5.บทเพลงที่ใช้ในการรำวงมาตรฐานมีจำนวนกี่เพลง แต่ละเพลงใช้ท่ารำใดประกอบการแสดง
6.อุปกรณ์ประกอบการแสดงมีความสำคัญต่อการแสดงนาฏศิลป์ไทยอย่างไร
7.เหตุใดก่อนการฝึกหัดแสดงละคร นักเรียนจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับศัพท์ทางการละคร
8.บทละครไทยมีลักษณะเด่นอย่างไร
9.บทละครมีองค์ประกอบที่สำคัญอะไรบ้าง
10.ทำไมต้องพัฒนารูปแบบของการแสดงละครและการแสดงที่เป็นชุดเป็นตอน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น