ศ31102 สุนทรียศาสตร์ หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ดนตรีไทย

สุนทรียศาสตร์  เป็นสาขาหนึ่งของปรัชญา ว่าด้วยเรื่องของความงามและศิลปะ นับเป็นแนวคิดที่ดำเนินสืบเนื่องมาช้านานนับพัน ๆ ปี 

1.1 ความหมาย คำว่า "สุนทรียศาสตร์" มาจากศัพท์ภาษาสันสกฤตคือ "สุนทรียะ" (ความงาม, ความดี) และ "ศาสตร์" (ความรู้) ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า Aesthetics ซึ่งมีที่มาจากศัพท์ ภาษากรีกโบราณ aisthētikós แปลว่า "การบรรลุสิ่งที่รับเข้ามา"
สุนทรียศาสตร์เป็นวิชาที่ว่าด้วยความสวย ความงาม และความโมศาสตร์ สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสที่ 7 เกิดความรู้สึกปีติยินดี อิ่มเอมใจ พอใจ และชื่นชมในสิ่งต่าง ๆ ที่เข้ามาปะทะ อาจจะเป็นในธรรมชาติเอง หรือที่มนุษย์ผลิตคิดค้นขึ้น โดยมีจุดประสงค์ให้เกิดประสบการณ์ทางความงาม ซึ่งมี 2 ลักษณะ ได้แก่ ประสบการณ์อ้อม มีผลต่อการรับรู้คุณค่าสุนทรีย์ได้น้อยที่สุด และประสบการณ์ที่มาจากภาระอันยิ่งใหญ่จากพลังยิ่งใหญ่ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนเป็นผลงานที่มนุษย์สร้างขึ้นและไม่มีโอกาสได้ชมของจริง
การเข้าถึงสุนทรียะ ต้องเข้าถึงได้ด้วยประสาทสัมผัสของตนเอง จากความรู้สึก ภายใน โดยปราศจากการปรุงแต่งหรือความรู้สึกถึงผลได้ผลเสียใดๆ ตัวอย่างเช่น เดิน ผ่านดอกไมม้ีกลิ ่นหอม เราได้กลิ่นหอมนั้นแลว้มีความสขุ เรียกว่า สนุทรียะ แต่เมื่อใดที่มีการเด็ดดอกไมเ้หล่านั้นมาจดั เป็นช่อให้ สวยงามตามใจต้องการ หรือได้ผลประโยชน์จาก ความงามโดยการนำไปเป็นสินค้า ไม่เรียกความงามนั้นว่า สุนทรียะ
ศิลปะทุกแขนงจัดว่าเป็นสุนทรียศาสตร์ทั้งสิ้น  โดยแต่ละแขนงประกอบด้วยธาตุทั้ง 4 ได้แก่
1) สื่่อ ศิลปะทกุ ชนิดตอ้งอาศัย สื่อในการถ่ายทอด เพื่อที่จะถ่ายทอดความ งามของงานศิลปะนั้นไปสู่ผู้รับได้
2) เนื้อหา  เป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็น ได้ยิน ได้ฟัง หรือหมายถึงสิ่งที่ศิลปินถ่าย ทอดผ่านสื่ออกมาส่งไปยังผู้รับ
3) สุนทรียธาตุ คือ องค์ประกอบหลักของศิลปะแต่ละแขนง 3 ประการ ได้แก่ ความงาม ความน่าชม และความเป็นเลิศ
4) ศิลปินธาตุ ได้แก่ ความรู้สึกนึกคิด ความรู้ ประสบการณ์ ความเฉลียว ฉลาด และความสามารถ ซึ่งมีอย่ใูนตัวศิลปิน แล้วนำมาแทรกสอดลงใน งานศิลปะ

1.2 สุนทรียศาสตร์ทางดนตรี ดนตรีจัดเป็นศิลปะแขนงหนึ่งที่มนุษยส์ร้างขึ้นโดยอาศัยเสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอด อารมณ์ของศิลปินไปยังผู้รับซึ่งสุนทรียศาสตร์ของดนตรีประกอบด้วย
1) เสียง  คือ สิ่งที่มากระทบโสตประสาททำให้เราได้ยิน เสียงมีหลายลักษณะ เช่น เสียงสั้น ยาว ดัง เบา สูง ต่ำ เป็นต้น ซึ่งเสียงถือเป็นองค์ประกอบ สำคัญ ของดนตรี คุณ สมบัติ ของเสียงประกอบด้วย ระดับเสียง ความสั้น ยาว และกระแสเสียง
2) ทำนอง คือ เสียงลักษณะต่างๆ ได้แก่ สูง ต่ำ สั้น และยาว ที่ผู้ประพันธ ์ นำมาเรียบเรียงให้ต่อเนื่อง ผสมผสานอย่างกลมกลืน ทำนองแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ทำนองทางร้อง และทำนองบรรเลง
3) จังหวะ หมายถึง การแบ่งช่วงระยะความยาว สั้น ของทำนองเพลงใหม่ สัด ส่วนเท่าๆ กัน โดยใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องกำกับ จังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง กรับ โหม่ง ฉาบ กลอง เป็นต้น
4) พื้นผิวและการประสานเสียง  หมายถึง ลักษณะหรือรูป แบบของเสียงโดยรวมของเครื่อง ดนตรีแต่ละชนิด
การประสานเสียง หมายถึง การนำเสียงหลายๆเสียง หรือโน๊ตหลายๆตัวมา รวมกลุ่ม เพื่อบรรเลงให้สอดประสานกันไปพร้อมๆกัน เพื่อสนับสนุนแนว ทำนองหลักให้เด่นขึ้น เรียกว่า ทรัยแอด หรือ คอร์ด การเลือกเสียงใดมารวมกลุ่ม เป็นคอร์ดนั้นต้องถูกต้องเป็นไปตามหลักไวยากรณ์ของดนตรี และต้องดำเนินคอร์ดหรือเปลี่ยนคอร์ดให้สัมพนัธ์กับแนวดนตรีหลักหรือแนวทำนองด้วย
                   ตัวอย่างวีดิโอ ที่มีการประสานเสียง ทั้งคอร์ด SOLO  และการร้อง

               1.3 การรับรู้ความงามของดนตรี     การรับรู้ถึงความงามหรืออารมณ์ของดนตรีในแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกัน จึงเป็น การยากที่ เข้าถึงกันได้ในทุกคน จึงมีการกำหนดหลักเกณฑ์ต่อไปนี้ขึ้น มาเพื่อทำให้ สามารถเข้าถึงและรับรู้ความงามของดนตรีได้ชัดเจนมายิ่งขึ้น 
                      1. ควรศึกษาและทำความเข้าใจพื้น ฐานของเพลงที่มาก่อน 
                      2. ศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับเสียงของเครื่องดนตรีชนิดต่างๆเพื่อสามารถจำแนกและรับรู้ได้ 
                      3. ทำตนใหอ้ิสระ คือ ต้องทำตนให้ว่างจากภาระงานทุก สิ่งขณะฟังเพลง เพราะ การฟังเพื่อให้ซ าบซึ้งถึงความงามย่อมต้องใช้สมาธิ 
                     4. ควรจัด ลำดับ การฟัง เพราะการรับรู้และความพึงพอใจจะเกิดขึ้น เมื่อได้ยิน ได้เห็น และได้กระทำโดยแต่ละบุคคลย่อมมีการจัดลำดับการฟังเฉพาะตัว แต่ไม่ควรฟังอย่างสะเปะสะปะ 
                     5. โน้มใจเพื่อรองรับสัมผัสแห่งอารมณ์ของบทเพลง คือมีอารมณ์ร่วมไปด้วย 
                     6. ควรฟังซ้ำหลายๆครั้ง เพื่อทำให้รับรู้ได้ดีขึ้น 
                     7. ศึกษาเนื้อหาสาระของบทเพลงตามที่ผู้ประพันธ์ตั้งใจถ่ายทอด














ที่มา 

         http://118.174.133.140/resource_center11/Admin/acrobat/v_4_ar_ar_3.pdf

         https://www.youtube.com/watch?v=15jRxS9cZdU

         https://www.youtube.com/watch?v=7UK-fb2zG2g



ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล