ศ31102 ปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลงานดนตรีไทย

    

ปัจจัยในการสร้างสรรค์ผลดนตรีไทย

1) ความเชื่อ เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจาดความคิดและประสบการณ์ของมนุษย์ที่มีต่อสิ่งต่างๆ 
มนุษย์ใช้ชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ เมื่อเกิดปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ เช่น  ไฟป่า น้ำท่วม
 มนุษย์จึงมีความเข้าใจว่าเป็นเพราะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ จึงบันดาลให้เกิดความเชื่อนั้น


พิธีแห่นางแมวขอฝน ในระหว่างการแห่มีการบรรเลงเครื่องดนตรีและการร่ายรำประกอบ


ตัวอย่างวีดิโอ การแห่บั้งไฟเพื่อฝน


2) ศาสนา เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิดผลทางดนตรี จะเห็นได้ว่าทั้งดนตรีไทยและดนตรีสากล
ล้วนมีความเกี่ยวข้องกับศาสนาทั้งสิ้น เช่น ศาสนาคริสต์  ในพระพุทธศาสนาก็มีการนำดนตรีมาใช้
ประกอบพิธิกรรมต่างๆ เช่น อุปสมบท  เทศน์มหาชาติ เป็นต้น

                                                                  ตัวอย่างการแห่นาค


่3) วิถีชีวิต การดำรงชีวิตของมนุษยืมิได้มีเพียง อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัยและยารักษาโรค
เท่านั่น ยังต้องมีสิ่งอื่นๆที่ช่วยให้เกิดความรื่นเริง บันเทิงใจ ได้แก่ดนตรีและนาฏศิลป์
ดังนั้นจึงปรากฏผลงานเกี่ยวกับดนตรีและนาฏศิลป์หลากหลายรูปแบบที่นำมาใช้ในโอกาสต่างๆ

                                       ตัวอย่างการแสดงฟ้อนแหย่ไข่มดแดง (สะท้อนวิถีชีวิตของคนในภาคอีสาน)



4) เทคโนโลยี ในสมัยโบราณก่อนที่มนุษย์จะรู้การหลอมโลหะ เครื่องดนตรี ที่ประดิษฐ์ส่วนใหญ่
จะเป็นเครื่องตี ต่อมาเมื่อมนุษย์มีความสามารถด้านเทคโนโลยีรู้จักการหลอมโลหะ 
จึงมีการประดิษฐ์ เครื่องดนตรีที่ทำจากโลหะ เช่น ฉิ่ง กลอง แตร เป็นต้น
      นอกจากนี้ แต่เดิมผู้คนจะรับรู้หรือฟังดนตรีได้ต้องไปนั่งดูการแสดงสด ทำให้ดนตรีไทย
แพร่หลายในวงจำกัด ต่อมาเมื่อมีการบันทึกเสียงทำให้ดนตรีไทยมีความแพร่หลายมากขึ้น
โดยเฉพาะในยุคปัจจุบันมีการบันทึกเสียงในรูปแบบดิจิทัล และยังสามารถเผยแพร่และพัฒนา
ผลงานดนตรีให้เกิดรูปแบบใหม่ที่มีความหลากหลายมากกว่าเดิม เช่น การผสมผสานให้ดนตรีไทย
มาบรรเลงร่วมกับดนตรีสากล หรือนำเครื่องดนตรีอิเล็กทรอนิกส์มาบรรเลงเพลงไทย เป็นต้น

ทบาทของดนตรีไทยในการสะท้อนสังคม

1) ค่านิยมของสังคม  ดนตรีไทยนับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยสะท้อนค่านิยมของผู้คนในสังคม 
กล่าวคือ ถ้าในช่วงใดที่ดนตรีไทยเฟื่องฟูมากนั่นก็แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีค่านิยมให้ความสำคัญกับ
ดนตรีไทย
         ค่านิยมการฟังดนตรีไทยในสมัยก่อน นิยมฟังเพื่อความเพลิดเพลิน ช่อวยกล่อมเกลาจิตใจ 
และด้วยวิถีชีวิตที่ไม่เร่งรีบการบรรเลงดนตรีไทยจีงบรรเลงได้ยาว มีการขับร้องเอื้อนเสียง 
ซึ่งแต่ละเพลงใช้เวลานานผู้ฟังดนตรีไทยภือเป็นผู้รสนิยมดี แต่ปัจจุบันด้วยวิถีชีวิตที่เร่งรีบ 
ดนตรีไทยจึงถูกจำกัดเวลา ทำให้เพลงถูกตัดทอนให้สั้นลง ขณะเดียวกันเยาวชนรุ่นใหม่มองว่า
ดนตรีไทยเป็นเรื่องล้าสมัย คนที่ชอบดนตรีไทยถือเป็นคนหัวเก่า ทำให้เยาวชนห่างเหินจาก
ดนตรีไทยมากขึ้น ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ดนตรีไทยมีผู้สนใจน้อยลงเรื่อยๆ  แต่อย่างไรก็ตาม 
ในงานพิธี หรืองานที่เกี่ยวข้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีไทย ผู้คนยังมีค่านิยมที่จะต้องมี
ดนตรีไทยอยู่ด้วยไม่นิยมใช้ดนตรีตะวันตก
          ทั้งนี้ ค่านิยมบางอย่างในเล่นดนตรีไทยก็เปลี่ยนแปลงจากเดิม  เป็นต้นว่า 
มีการนำเครื่องดนตรีตะวันตกมาเล่นประสมวงกับดนตรีไทย



การจัดประกวด หรือการจัดการแข่งขันดนตรีไทยนับว่าเป็นแนวทาง

การส่งเสริมให้เยาวชนไทยสนใจดนตรีไทยมากขึ้น


2) ความเชื่อ มีความเชื่อของสังคมอยู่หลายประการที่เกี่ยวข้องดนตรีไทยที่เห็นได้เด่นชัดก็คือ
 "ดนตรีไทยถือว่ามีครู" ดังนั้น จึงต้องทำพิธีไหว้ครูก่อนเมื่อฝึกหักเล่นจากพิธีไหว้ครูแล้วจึงจะถึง
พิธี "ครอบ" หมายถึงการประสิทธิประสาทวิทยาการ หรืออนุมัติให้เริ่มเรียนวิชาดนตรีนั้นๆได้
หากผู้ใดไม่กระทำจะพบกับอุปสรรค หรืออาจถึงแก่ชีวิต
       ความเชื่อเกี่ยวกับตะโพนว่า "ตะโพนเป็นเครื่องดนตรีศักดิ์ ถือเป็นบรมครูทางดุริยางคศิลป์"
ก่อนจะเริ่มการบรรเลงจะต้องนำดอกไม้ และจุดธูปบูชาตะโพนก่อนทุกครั้ง คนที่ไม่มีครู
หรือคนที่ไม่ใช่นักดนตรีจะมาตีเล่นไม่ได้ และห้ามใครเดินข้ามตะโพนเพราะอาจได้รับอันตราย
ทั้งนี้ ในวันครูตะโพนจะได้รับการเจิมเป็นพิเศษ 

พิธีไหว้ครู

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล