หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวดนตรีไทย เรื่อง คุณค่าและความงามของดนตรีไทย
มนุษย์ได้สร้างสรรค์ดนตรีขึ้นจากภูมิปัญญาและจินตนาการ เพื่อนำมาปรุงแต่งความสมบูรณ์ในจิตใจ ซึ่งมีผลต่อร่างกาย อารมณ์ และสังคม ดังนั้น ดนตรีจึงมีคุณค่าและความงามทั้งในระดับบุคคล กลุ่มชน รวมไปถึงระดับประเทศ
ดนตรีไทยเป็นศิลปะที่บ่งบอกถึงความเป็นชาติ คุณค่า และความงามของดนตรีไทยสามารถพิจารณาได้จากบทเพลงที่นักประพันธ์เพลงประพันธ์ขึ้น มีท่วงทำนองตามโครงสร้างของระบบเสียงเนื้อร้องที่ร้อยเรียงกันอย่างสละสลวย มีนักดนตรีทำหน้าที่ถ่ายทอดบทเพลง โดยใช้ระบบวิธีบรรเลงเครื่องดนตรีที่มีความหลากหลาย มีวิธีขับร้องที่กลมกลืนกัน และมีเครื่องดนตรีซึ่งมีรูปแบบเฉพาะสวยงามได้สัดส่วน
1.คุณค่าและความงามที่ปรากฏอยู่ในกิจกรรมทางสังคมไทย
คุณค่าและความสวยงามของดนตรีไทยปรากฏอยู่ในกิจกรรมทางสังคมไทย ดังนี้
1.1) คุณค่าและความงามของดนตรีไทยที่เกี่ยวกับพระราชพิธี ดนตรีที่เกี่ยวกับพระราชพิธี เช่น วงปี่พาทย์ ใช้บรรเลงในงานที่พระมหากษัตริย์เสด็จทรงบำเพ็ญพระราชกุศลวงกลองแขก ใช้บรรเลงในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เช่นเดียวกับการแห่เรือที่มีศิลปินเห่ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค วงขับไม้ใช้บรรเลงในพระราชพิธีขึ้นพระอู่ของพระราชโอรสและพระราชธิดา การประโคมวงปี่พาทย์นางหงส์ในงานพระเมรุ เป็นต้น
1.2) คุณค่าและความงามของดนตรีไทยที่เกี่ยวกับศาสนา ดนตรีที่เกี่ยวกับศาสนา โดยเฉพาะศาสนาที่เป็นมูลฐานให้เกิดประเพณีต่างๆ ของไทยมาตั้งแต่อดีต คือศาสนาพราหมณ์และพระพุธศาสนา ดนตรีที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์ส่วนใหญ่มีบทบาทในงานพระราชพิธี สำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับพระพุธศาสนา ทั้งงานมงคลและงานอวมงคลนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน
นอกจากนี้ พุทธศาสนิกชนยังมีความเชื่อว่าการเทศน์มหาชาติเป็นสุยอดบุญของงานบุญการได้ฟังเทศน์มหาชาติทั้ง 13 กัณฑ์จบภายในวันเดียวจะช่วยให้ผู้ฟังได้รับบุญกุศลมหาศาล แต่เนื่องจากการดำเนินเรื่องและพระคาถาของเทศน์มหาชาติยาวมาก ผู้ที่ไปฟังเทศน์มหาชาติต้องนั่งทั้งวัน จึงมีการปรังปรุงและพัฒนาวิธีการสวดเป็นทำนองเทศน์และแหล่ และนำวงปีพาทย์มาบรรเลงเมื่อพระเทศน์จบแต่ละกัณฑ์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ได้ทรงปรังปรุงเพลงประจำกัณฑ์ที่กำหนดไว้ตามแบบแผนจากของเดิมและเรียบเรียงให้สอดคล้องกัน ดังนี้
กัณฑ์ที่
|
เพลงประจำกัณฑ์
|
1.กัณฑ์ทศพร
|
เพลงสาธุการ
|
2.กัณฑ์หิมพานต์
|
เพลงตวงพระธาตุ
|
3.กัณฑ์ทานกัณฑ์
|
เพลงพญาโศก
|
4.กัณฑ์วนปเวศน์
|
เพลงพญาเดิน
|
5.กัณฑ์ชูชก
|
เพลงเซ่นเหล้า
|
6.กัณฑ์จุลพน
|
เพลงคุกพาทย์
|
7.กัณฑ์มหาพน
|
เพลงเชิดกลอง
|
8.กัณฑ์กุมาร
|
เพลงโอด , เพลงเชิดฉิ่ง
|
9.กัณฑ์มัทรี
|
เพลงทยอย , เพลงโอด
|
10.กัณฑ์สักบรรพ
|
เพลงเหาะ
หรือเพลงกลม
|
11.กัณฑ์มหาราช
|
เพลงกราวนอก
|
12.กัณฑ์ฉกษัตริย์
|
เพลงตระนอน
|
13.กัณฑ์นครกัณฑ์
|
เพลงกลองโยน
เชิด
|
ตัวอย่างการเทศน์มหาชาติ
1.3) คุณค่าและความงามของดนตรีไทที่เกี่ยวกับกิจกรรมทั่วไป กิจกรรมทั่วไป เช่น งานมงคลสมรส งานฉลองความสำเร็จของบุคคล เป็นต้น หรือเมื่อมีการจัดเลี้ยงต่างๆ นิยมจัดให้มีวงดนตรีไทยมาบรรเลง เช่น วงมโหรี วงเครื่องสาย เป็นต้น สำหรับงานมงงคลสมรสที่มีการแห่ขันหมาก นิยมใช้วงกลองยาวและวงแตรวงบรรเลงนำ
ตัวอย่างวีดิโอ การแห่เจ้าบ่าวด้วยวงกลองยาว ภาคอีสาน
ตัวอย่าง วีดิโอ แตรวงแห่ เจ้าบ่าว
2.คุณค่าและตามงามของดนตรีไทยที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมของไทย
คุณค่าและความงามของดนตรีไทยที่แสดงออกถึงวัฒนธรรมของไทย จำแนกได้ 2 ด้าน คือ
2.1) ด้านรูปธรรม เครื่องดนตรีไทยมีทั้งเครื่องดีด เครื่องสี เครื่องตี และเครื่องเป่า เครื่องดนตรีเหล่านี้ครูดนตรีในอดีตได้ใช้หลักการในการเลือกเครื่องดนตรีให้มีความสอดคล้องกันเพื่อประสมเป็นวงดนตรี
2.2) ด้านนามธรรม รสของเพลงที่เป็นผลมาจากทำนองเพลงไทย ที่เกิดจการบรรเลง จนก่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกว่าเพลงนั้นมีความเสนาะ ไพเราะ สนุกสนาน เพลิดเพลินอารมณ์ โศกเศร้า
การเข้าถึงคุณค่าและความงามของดนตรีไทย
การเข้าถึงสุนทรียรสในดนตรีไทย ย่อมทำให้พบคุณค่าและความงามของดนตรีไทย สิ่งนี้มีส่วนสำคัญที่ทำให้คนไทยเกิดความรู้สึกผูกพัน การเข้าถึงคุณค่าและความงามของดนตรีไทยสามารถทำได้ดังนี้
1) การศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องราวและเนื้อหาสาระต่างๆ ของดนตรีไทย
เช่น เครื่องดนตรี วงดนตรี เพลงไทย นักประพันธ์เพลง ศิลปินเพลงไทย เป็นต้น
2) การฟังเพลงไทยด้วยความตั้งใจ
เมื่อฟังแล้วต้องฝึกสังเกตทำนองเพลง จังหวะ อารมณ์เพลง ฟังจนเข้าใจรายละเอียดและสามารถจำแนกได้ว่า เพลงที่ฟังนั้นมีอัตราจังหวะใดแนวเพลงเป็นอย่างไร และบอกเสียงที่ได้ยินว่าเป็นเสียงของดนตรีหรือวงชนิดใด
3) การขับร้องเพลงหรือบรรเลงเครื่องดนตรีไทยให้ได้อย่างน้อย 1 ชนิด
โดยการฝึกจนสามารถขับร้องหรือบรรเลงเพลงไทยได้ถูกต้องตามทำนองเพลงและจังหวะไม่แปร่งเพี้ยน
4) การทำความเข้าใจความหมายของศัพท์สังคีต
เพื่อช่วยให้สามารถสื่อสารสาระความรู้ต่างๆ ได้ตรงกับการใช้ในวงวิชาการดนตรีไทย
ที่มา หนังสือเรียน ดนตรี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 อจท
https://sites.google.com/site/nuengruethaimusic/hnwy-thi-1-khwam-ru-thawpi-keiyw-kab-dntri-thiy/khunkha-laea-khwam-ngam-khxng
https://www.youtube.com/watch?v=YvufZUXh8qk&t=310s
https://www.youtube.com/watch?v=C-RGtlq0ZTU
https://www.youtube.com/watch?v=bPEwhQcNP9o
https://www.youtube.com/watch?v=YvufZUXh8qk&t=310s
https://www.youtube.com/watch?v=C-RGtlq0ZTU
https://www.youtube.com/watch?v=bPEwhQcNP9o
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น