ดนตรีไทยกับการประยุกต์ใช้
ดนตรีไทยกับการประยุกต์ใช้
ดนตรีไทยเป็นมรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรมมที่มีความหมายและความสำคัญของคนไทย หลักการของดนตรีไทยมีลักษณะเช่นเดียวกับดนตรีของทุกชาติในโลกคือ เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของนักดนตรี ที่มีเป้าหมายเพื่อใช้ในกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม ตั้งแต่ในระดับส่วนบุคคล ระดับสังคมขนาดย่อยที่สุดไปจนใหญ่ที่สุด คือ ในระดับโลก
ดนตรีไทยเป็นมรดกทางภูมิปัญญาและวัฒนธรมมที่มีความหมายและความสำคัญของคนไทย หลักการของดนตรีไทยมีลักษณะเช่นเดียวกับดนตรีของทุกชาติในโลกคือ เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของนักดนตรี ที่มีเป้าหมายเพื่อใช้ในกิจกรรมทางสังคมและวัฒนธรรม ตั้งแต่ในระดับส่วนบุคคล ระดับสังคมขนาดย่อยที่สุดไปจนใหญ่ที่สุด คือ ในระดับโลก
1) ดนตรีกับการพัฒนามนุษย์
การพัฒนามนุษย์มี 2 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นการพัฒนาทางกายภาพ ในวงการแพทย์ได้แนะนำให้มนุษย์รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ส่วนที่ 2 เป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจและอารมณ์ เพื่อนำไปสู่สุนทรียภาพและการเห็นคุณค่าของชีวิต
2) ดนตรีไทยกับการผ่อนคลาย
เพลงไทยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ 3 ประการ คือ เพลงเพื่อพิธีกรรม เพลงเพื่อประกอบการแสดงและเพลงที่ใช้บรรเลงในโอกาสทั่วๆ ไป เพลงไทยจึงมีแนวเพลงที่ดำเนินไปอย่างเป็นทางการและอย่างไม่เป็นทางการ
3) ดนตรีกับการบำบัดรักษา
การเจ็บป่วยของมนุษย์ จำแนกได้ 2 ลักษณะ คือ อาการเจ็บป่วยทางกาย และอาการเจ็บป่วยทางใจ สำหรับในส่วนของดนตรี สามารถนำมาบำบัดผู่ป่วยที่เรียกว่า "ดนตรีบำบัด " ซึ่งใช้บำบัดทั้งทางกายและจิตใจ
4) ดนตรีกับการศึกษา
ในหลายสังคมและวัฒนธรรมถือว่าดนตรีเป็นวิชาของชนชั้นสูงและนักปราชญ์ราชบัณฑิตดนตรีบางประเภทได้รับการพัฒนาไปตามภูมิปัญญาของนักปราชญ์ทางดนตรี เช่น ดนตรีจีน ดนตรีกรีก ดนตรีอินเดีย เป็นต้น
5) ดนตรีกับการโฆษณาและประชาสัมพันธ์
การโฆษณา หมายถึง การป่าวประกาศ การบอกกล่าว การเผยแพร่ข้อมูลให้ผู้อื่นทราบ เช่น การโฆษณาสินค้า เป็นต้น ส่วนการประชาสัมพันธ์ หมายถึง การสื่อสารข้อมูลต่างๆ ให้รับรู้และเข้าใจถูกต้องตรงกัน การใช้ดนตรีในการโฆษณาและประชาสัมพันธ์ของไทยปรากฏหลักฐานมาตั้งแต่สมัยอยุธยา เรียกว่า " ตีฆ้องร้องป่าว "
ตัวอย่าง ดนตรีกับโฆษณา
6) ดนตรีกับธุรกิจ
การประกอบอาชีพดนตรีในปัจจุบันไม่ได้จำกัดอยู่ที่ศิลปินผู้สร้างผลงานการประพันธ์เพลงแต่ยังรวมไปถึงการเป็นนักดนตรี นักร้อง วาทยกรที่ทำหน้าที่อำนวยการให้จังหวะวงดนตรี ผู้เรียบเรียงเพลงหรือผู้รับจ้างบรรเลงดนตรีในรูปของคณะดนตรี ดังที่ปรากฏในงานมงคลสมรส งานเฉลิมฉลองต่างๆ
6.2 นักวิชาการดนตรี ครูดนตรีและการผลิตผลงานวิชาการ คือ ผู้ที่ได้ศึกษาดนตรีอย่างลึกซึ้งจนเกิดความเชี่ยวชาญ หรือทำการวิจัยดนตรี จนได้ความรู้ด้านต่างๆ ทางด้านดนตรี นักวิชาการยังสามารถสังเคราะห์ความรู้ทางด้านดนตรีมาผลิตผลงานเขียน ในรูปแบบของตำราหรือหนังหสือ หรือรวมกลุ่มกันจัดทำเป็นวารสารดนตรีขายองค์ความรู้ให้แก่นักเรียน นิสิต นักศึกษาและผู้วนใจทั่วไป
6.3 การตั้งคณะหรือวงดนตรีรับจ้างบรรเลงดนตรีในงานต่างๆ
6.4 การเปิดสอนดนตรีในโรงเรียนดนตรีเอกชน คือ สถาบันรับสอนดนตรี ร้องเพลง ที่ไม่ใช่ของรัฐ แต่ก็ต้องมีการจัดหลักสูตรการเรียนการสอน ส่งกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกำลังเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะให้บุตรหลานของตนไปเรียนพิเศษ และศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคนก็เคยเรียนดนตรีจากสถาบันเหล่านี้
6.5 การผลิตเครื่องดนตรีไทย คือ อุตสาหกรรมในการผลิตเครื่งดนตรีชนิดต่างๆ ทั้งดนตรีไทย ดนตรีพื้นบ้าน ดนตรีสากล และการดำเนินธุรกิจด้านนี้ต้องใช้ทุนสูง จึงต้องมีการวางแผนการตลาด การศึกษาแหล่งจำหน่ายและแหล่งบริโภคสินค้า
6.6 ธุรกิจการจำหน่ายเครื่องดนตรี คือ อาชีพที่เปิดร้านขายเครื่องดนตรีและอุปกรณ์ด้านดนตรี ซึ่งเป็นที่นิยมในปัจจุบัน ผู้ประกอบอาชีพนี้ต้องมีความรู้ ความสารถใสนการเล่นดนตรี ซึ่งจะเป็นการเสริมให้การค้าขายเจริญก้าวหน้า ศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคน นอกจากเล่นดนตรีแล้ว ยังหันมาเปิดกิจการจำหน่ายเครื่องดนตรีด้วย
6.7 ธุรกิจห้องซ้อมดนตรี คือ สถานที่เปิดบริการให้กลุ่มนักดนตรีที่ไม่ห้องซ้อมดนตรีเป็นของตัวเอง เช่าชั่วโมงในการซ้อมดนตรี โดยจะคิดค่าบริการเป็นรายชั่วโมง ชั่วโมงละ 100-200 บาท และในห้องซ้อมดนตรีก็จะเครื่องดนตรีไว้ให้ซ้อมด้วย ซึ่งเหมาะสำหรับนักดนตรีที่กำลังฝึกเล่นดนตรีและยังไม่มีเครื่องดนตรีเป็นของตัวเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น