ประเภทของเพลงไทย

      เพลงไทยเป็นเพลงที่มีแนวทำนอง เนื้อร้อง จังหวะ และเสียงประสานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของไทย เพลงไทยสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ


               1) เพลงบรรเลง หมายถึง เพลงที่ใช้เครื่องดนตรีบรรเลงล้วนๆ มีแต่ทำนอง ไม่มีการขับร้องประกอบ เช่น เพลงโหมโรง เพลงหน้าพาทย์
               2) เพลงขับร้อง หมายถึง เพลงที่นิยมนำมาขับร้องประกอบการบรรเลงดนตรีตามแบบของเพลงไทย คือ ร้องแล้วมีดนตรีรับ หรือร้องคลอไปกับดนตรี เช่น เพลงเถา เพลงตับ เพลงใหญ่
นอกจากนี้ ยังมีการจำแนกเพลงไทยออกตามกิจกรรมหรือสถานการณ์ต่างๆ โดยศิลปินดนตรีจะบรรเลงให้เหมาะสมและถูกต้องตามหลักขนบปฏิบัติสำหรัลเพลงนั้น ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้

    เพลงในพระราชพิธี
          ในงานพระราชพิธีต่างๆนักดนตรีของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เช่น ศิลปินข้าราชการของกรมศิลปากร ผู้ปฏิบัติราชการ เพลงที่ใช้บรรเลงจึงต้องดำเนินไปตามระเบียบการใช้เพลง เช่น งานทอดผ้ากฐิน จะมีวงปี่พาทย์บรรเลง เพลงที่ใช้ คือ เพลงสาธุการ เพลงกราวใน และเพลงเรื่อง หากป็นงานจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เพลงที่ใช้ เช่น เพลงพญาดิน เป็นต้น

เพลงในงานมงคล
           งานมงคลเป็นงานที่มีเพลงบรรเลงได้ทั่วไป ยกเว้นเพลงที่กำหนดใช้สำหรับงานอวมงคล นักดนตรีจะทราบและไม่นำมาใช้ในงานมงคลอย่างไรก็ตามแบบแผนการใช้ เพลงก็ต้องพิจารณาว่าควรใช้วงดนตรีประเภทใดและเลือกใช้เพลงใดที่เหมาะสม เช่น งานที่เกี่ยวกับการทำบุญเลี้ยงพระ มีการสวดมนต์เย็น-ฉันเช้า กลุ่มเพลงที่ใช้จะประกอบไปด้วยเพลงชุดโหมโรงเย็น เพลงชุดโหมโรงเช้า เพลงพระฉัน งานทำขวัญบวชนาค




                                           ตัวอย่างเพลงโหมโรงเช้า



เพลงในงานอวมงคล
           งานอวมงคลเป็นงานพิธีที่เกี่ยวข้องกับพิธีกรรมหลังความตาย นิยมใช้ในงานของชาำทยพุทธ เช่น งานสวดพระอภิธรรมศพ งานฌาปนกิจศพ งานทำบุญกระดูก วงดนตรีที่มช้มนงานอวมงคล เช่น วงบัวลอย วงปี่พาทย์นางหงส์ วงปี่พาทย์มอญ วงเครื่องสายปี่ชวา เป็นต้น




                                           ตัวอย่าง วงปี่พาทย์มอญ      มอญยกศพ



เพลงประกอบการแสดง
             การแสดงหนังใหญ่ โขน ละคร หุ่นกระบอก ลิเก และการแสดงเป็นเรื่องต่างๆนักแสดงสวมบทบาทไปตามบทของแต่ละท้องเรื่อง วงปี่พาทย์ที่บรรเลงประกอบการแสดงต้องดำเนินเพลงให้สอดคล้องกับบทที่กำหนดเพลงไว้ หรืออาจบรรเลงรับ-ส่งตัวแสดงตามบทบาท ซึ่งนักดนตรีต้องทราบและเข้าใจระเบียบในการใช้เพลงให้เข้ากับการแสดงนั้นๆ
                                      ตัวอย่างการแสดงหนังใหญ่


เพลงประกอบการแสดงมีอยู่จำนวนมาก สามารถจำแนกตามประเภทเป็น 2 ประเภท ได้แก่

1) เพลงหน้าพาทย์  เพลงประเภทนี้เป็นที่ใช้ประกอบกิริยาสมมติของตัวละคร ซึ่งดำเนินตามบทบาทในเนื้อเรื่อง ได้แก่

อากัปกิริยาในการแสดง
เพลงที่ใช้
เดิน ทั้งเดนเร็ว เดินช้า   วิ่งไล่
เพลงเชิด  เชิดฉาน เสมอ เสมอตีนนก เสมอเถร เสมดมาร  เสมอแขก  เสมอมอญ
เหาะเหิน บิน ท่องอากาศ   เคลื่อนตัวในอากาศ
เพลงเหาะ   แผละ  โคมเวียน
ที่เกี่ยวกับน้ำ
เพลงลงสรง     ใช้เรือ   โล้
กิน   ดื่ม
เพลงนั่งกิน  เซ่นเหล้า
นอน
เพลงตระบรรทมไพร   ตระนอน
จัดทัพ  สู้รบ
เพลงกราวนอก   กราวใน   ปฐม   เชิด
โศกเศร้าเสียใจ  ร้องไห้
เพลงทยอย  โอด
แสดงอิทธิฤทธิ์  แปลงหรือเนรมิตรร่างใหม่
เพลงรัวลาเดียว  รัวสามลา  คุกพาทย์  ตระนิมิต


2) เพลงตามบทบาทและสถานการณ์    เพลงประกอบการแสดง นอกจากจะมีเพลงประกอบอากัปกิริยาแล้ว  ในช่วงดำเนินเนื้อเรื่องซึ่งบรรยายถึงสถานที่  เหตุการณ์ รูปร่าง ลักษณะ   อารมณ์   ความรู้สึกของตัวละคร รวมถึงความเป็นมาเป็นไปของเนื้อเรื่อง เพลงที่ใช้ต้องบรรเลงให้สอดคล้องกับสถานการณ์นั้น  มีตัวอย่างของเพลงที่กำหนดใช้บรรเลงหรือบรรเลงประกอบการขับรัอง ของตัวละคร ซึ่งส่วนใหญ่นิยมใช้เพลงอัตรา 2 ชั้น หรือเพลงอัตราชั้นเดียว ได้แก่


อารมณ์ในการแสดง
เพลงที่ใช้
รัก
เพลงบังใบ สาลิกาแก้ว  ทองย่อน ลีลากระทุ่ม
โศกเศร้า
เพลงลาวครวญ  ดาวทอง  ธรณีกันแสง
ดีใจ  เย้ยหยัน
เพลงกราวรำ  เย้ย
โกรธ  ขัดเคือง
เพลงลิงโลด  ลิงลาน  นาคราช
ขลัง  บรรยายความศักดิ์สิทธิ์
เพลงลาวเสี่ยงเทียน  ขับไม้บัณเฑาะว์  แขกบรเทศ
ชมธรรมชาติ
เพลงคลื่นกระทบฝั่ง ลมพัดชายเขา ลาวชมดง
สนุกสนาน
เพลงกราวตะลุง  ค้างคาวกินกล้วย คุดทะราดเหยียบกรวด

ตัวอย่างเพลง ลาวเสี่ยงเทียน


ศัพท์สังคีตในดนตรีไทย


        วิชาการดนตรีไทยมีศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกสื่อสารกัน ศัพท์ดังกล่าวงเรียกว่า " ศัพท์สังคีต " ศัพท์ที่น่ารู้ มีดังนี้

        กวาด หมายถึง วิธีการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่บรรเลงทำนอง มีระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้เหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก โดยใช้ไม้กวาดลูกไปที่ลูกระนาด กรือลูกฆ้อง จากลูกที่มีระดับเสียงต่ำไประดับเสียงสูง
      คลอ หมายถึง การบรรเลงไปพร้อมๆกัน กับการขับร้อง โดยผุ้บรรเลต้องบรรเลงเครื่องดนตรีให้ทำนองและเสียงตรงกับผู้ขับร้อง

      จน หมายถึง จนมุม หมดหนทาง หมดทางสู้ ทำไม่ได้ตามที่ต้องการ คำว่า " จน " ในทางดนตรีเกิดขึ้นเมื่อศิลปินใช้ปฏิภาณต่อสู้กันด้วยวิชาดนตรี ฝ่ายที่ทำไม่ได้ หรือกล้อมแกล้มบรรเลงขับร้องไม่แนบเนียน ถือว่า " จน "

      เดี่ยว หมายถึง วิธีการบรรเลงอย่างหนึ่งของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทำทำนอง เช่น ซอสามสาย ซอด้วง ซออู้ จระเข้ ปี่ในเป็นต้น

เพลงตับ หมายถึง เพลงที่มาเรียบเรียงเข้าเป็นชุด นำมาบรรเลง หรือบรรเลงร้องต่อเนื่องกัน สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
                     1. ตับเรื่อง คือ เพลงที่เรีบยเรียงเข้าเป็นชุด โดยคำนึงถึงการดำเนินเรื่องราวเป็นหลัก
                      2. ตับเพลง คือ เพลงที่เรีบยเรียงเข้าเป็นชุด โดยคำนึงถึงความกลมกลืน

      ลูกล้อ-ลูกขัด หมายถึง วิธีการบรรเลงทำนองอย่างหนึ่งด้วยการแบ่งช่วงบรรเลงของเครื่องดนตรี 2 พวกด้วยวรรค หรือประโยคของทำนองที่มีความสั้น-ยาวตามทำนองของเพลงนั้นๆ

วีดิโอการสอน ศัพท์สังคีต







ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล