ศ33102 หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ดนตรีกับวัฒนธรรม เรื่อง ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี
ดนตรีมีอยู่ในสังคมมนุษย์ทุกชาติและมีบทบาทที่สำคัญต่อวิถีชีวิตของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์ใช้ดนตรีในกิจกรรมที่หลากหลาย ดังนั้น ดนตรีที่ดำรงอยู่นั้น จึงมีที่มาด้วยเหตุปัจจัยต่างๆ ของแต่ละกลุ่มชนหรือกลุ่มวัฒนธรรม ซึ่งปัจจัยต่างๆ มีดังต่อไปนี้
1. ความเชื่อ อยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบันมนุษย์ก็ยังคงมีความเชื่อในสิ่งที่เหนือธรรมชาติ (Supernatural) เช่น การนับถือบูชาผีสาง เทวดา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ดังนั้น จึงมีการประกอบพิธีกรรมเพื่อแสดงถึงความเคารพบูชา องค์ประกอบต่างๆของการนำมาประกอบพิธีกรรมนั้น ส่วนหนึ่งจะเป็นเครื่องเซ่นไหว้ เช่น พวงมาลัย อาหาร และสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้ก็คือ ดนตรี ซึ่งต้องเป็นดนตรีที่มีคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ ดนตรีที่เกิดขึ้นจากความเชื่อจึงทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบในพิธีกรรมหรือเรียกว่า ดนตรีพิธีกรรม (Ritual music) เช่น การประกอบพิธีไหว้ครูดนตรีและนาฏศิลป์ เป็นต้น
2.ศาสนา นับเป็นสิ่งหนึ่งที่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจของมนุษย์ ซึ่งนอกจากความเชื่อในการนับถือสิ่งเหนือธรรมชาติแล้ว มนุษย์ยังมีความเชื่อและศรัทธาในศาสนา ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาก็มีการสร้างสรรค์เพื่อนำมาใช้ประกอบพิธีกรรม เช่น ในศาสนาคริสต์ได้นำเพลงสวดมาขับร้องเพื่อใช้ในขั้นตอนต่างๆของพิธีแมส (Mass) หรือพิธีมิสซา (Missa) เป็นต้น ในส่วนศาสนาพุทธก็มีการดนตรีในการบรรเลงประกอบพิธีกรรมทางศาสนา เช่น งานบวช งานศพ งานเทศน์มหาชาติ เป็นต้น
3.วิถีชีวิต มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์ดนตรีเป็นอย่างมาก ดนตรีที่สร้างสรรค์ขึ้นจากวิถีชีวิตของมนุษย์ในทางวิชาการเรียกว่า ดนตรีฆราวาสหรือดนตรีชาวบ้าน ( Secula Music) ซึ่งเกิดขึ้นมาตั้งแต่ก่อนยุคกรีกโบราณ
ดนตรีที่สร้างสรรค์จากวิถีชีวิตของมนุษย์เกิดจากความต้องการที่จะบรรยาย พรรณนาเรื่องราว ถ่ายทอดอารมณ์ ความรู้สึกผ่านบทเพลง หรือเพื่อเป็นการนันทนาการ ผ่อนคลายความเครียดและให้ความบันเทิงแก่ผู้คน เช่น การแสดงอุปรากร (Opera) ของชาวยุโรป การแสดงโขนของไทย ลาว และกัมพูชา การแสดงละครคาบูกิ (Kabuki) ของชาวญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ยังมีการสร้างสรรค์ดนตรีเพื่อปลุกใจให้ความฮึกเฮิม เป็นการสร้างกำลังใจในการออกรบ ซึ่งอาจมีการเต้นออกท่าทางลักษณะข่มขู่ศัตรูร่วมด้วย เช่น การเต้นรำปิเลา ปิเลา (pilou-pilou dance) ของชาวคานัค (Kanak) ในแถบหมู่เกาะทางตะวันออกของประเทศนิวซีแลนด์ ที่มีการเต้นด้วยการก้าวเท้าแบบกระทืบ พร้อมกับการเคาะกระบอกไม้ไผ่เป็นจังหวะประกอบกับการโห่ร้องและเป่าปากหวีดเสียง โดยกลุ่มของนักรบนับร้อยคนจะเต้นรำพร้อมถืออาวุธในท่วงท่าเดียวกันอย่างพร้อมเพรียง
การแสดงคาบูกิ |
การแสดง อุปรากร (opera) |
การแสดงโขน |
การเต้นรำ ปิเลา |
4.เทคโนโลยี เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ดนตรีได้รับการสร้างสรรค์และพัฒนา การพัฒนาเทคโนโลยีส่งผลต่อการพัฒนาดนตรี และในทางกลับกันดนตรีก็ทำให้เทคโนโลยีปรับตัวตามไปด้วย เทคโนโลยีช่วยทำให้เกิดการพัฒนาในดนตรีมาตั้งแต่สมัยโบราณ เห็นได้ชัดจากการนำเอาวิธีคิดของ พีทาโกรัส (Pythagoras) นักปราชญ์ชาวกรีก มาช่วยในการปรับปรุงระบบการตั้งบันไดเสียงในดนตรีสากล โดยการนำไปประยุกต์พัฒนาวิธีการปรับปรุงบันไดเสียงให้ได้ตามที่เทคนิคและรูปแบบของดนตรีที่เปลี่ยนไป นอกจากนี้ ยังมีการปรับตั้งระบบบันไดเสียงของเครื่องดนตรี โดยมีการเกลี่ยเสียงย่อย 12 เสียง ใน 1 ช่วงทบของบันไดเสียงดนตรีสากลให้มีระยะห่างเท่ากันทั้ง 12 เสียง เรียกว่า ระบบอีควล (Equal Temperment) ซึ่งดำเนินการเช่นนี้ต้องอาศัยเทคโนโลยีเข้ามาช่วย เพื่อให้ดนตรีเป็นไปตามความต้องการของนักประพันธ์
ในด้านเทคโนโลยีการบันทึกเสียง ก็ได้รับการพัฒนาให้คุณภาพเสียงมีความใกล้เคัยงเสียงดนตรีจริง จนไม่สามารถแยกแยะข้อแตกต่างได้ ส่งผลให้มีการทำซ้ำและเผยแพร่ออกไปสู่มวลชนได้รวดเร็ว เป็นการกระตุ้นให้นักประพันธ์ดนตรีสร้างสรรค์งานในรูปแบบใหม่ๆ ออกมาจำนวนมาก โดยฌแพาะดนตรีสมัยนิยมที่เกิดขึ้นในเชิงพาณิชย์ ทำให้ดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนารูปแบบออกไปในช่วงเวลาที่สั้นลงกว่าในสมัยก่อน โดยมีการเปลี่ยนแปลงประมาณทุก 2-5 ปี อน่างที่เรามีคำศัพท์เรียกรูปแบบดนตรีเพลงที่ได้รับความนิยมในช่วงหนึ่งเป็นทศวรรษ เช่น ดนตรีสมัย 60s (Sixties) หรือ 70s (Seventies)
ในด้านเทคโนโลยีการบันทึกเสียง ก็ได้รับการพัฒนาให้คุณภาพเสียงมีความใกล้เคัยงเสียงดนตรีจริง จนไม่สามารถแยกแยะข้อแตกต่างได้ ส่งผลให้มีการทำซ้ำและเผยแพร่ออกไปสู่มวลชนได้รวดเร็ว เป็นการกระตุ้นให้นักประพันธ์ดนตรีสร้างสรรค์งานในรูปแบบใหม่ๆ ออกมาจำนวนมาก โดยฌแพาะดนตรีสมัยนิยมที่เกิดขึ้นในเชิงพาณิชย์ ทำให้ดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนารูปแบบออกไปในช่วงเวลาที่สั้นลงกว่าในสมัยก่อน โดยมีการเปลี่ยนแปลงประมาณทุก 2-5 ปี อน่างที่เรามีคำศัพท์เรียกรูปแบบดนตรีเพลงที่ได้รับความนิยมในช่วงหนึ่งเป็นทศวรรษ เช่น ดนตรีสมัย 60s (Sixties) หรือ 70s (Seventies)
ตัวอย่าง ห้องบันทึกเสียงในปัจจุบัน |
เมื่อเข้าสู่ยุคคริสต์ศตวรรษที่ 20 นักประพันธ์ได้เริ่มมีการให้ความสนใจกับการสร้างสรรค์ดนตรีด้วยวิธีการทางไฟฟ้า ประพันธ์ดนตรีโดยการใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องสังเคราะห์เสียง (Synthesizer) ทำให้เกิดดนตรีอิลเ็กทรอนิกส์ขึ้น 2 ชนิด คือ ชนิดแรกเป็นการนำเอาเสียงต่างๆในธรรมชาติมาบันทึก เช่น เสียงคนพูด เสียงน้ำไหล เสียงนกหวีดเป็นต้น จากนั้นนำมาเปลี่ยนแปลงน้ำเสียงทางไฟฟ้าด้วยวิธีต่างๆ เช่น เปลี่ยนความเร็วของเส้นเทปให้เร็วขึ้นหรือช้าลง แล้วจึงนำมาปะติดปะต่อกัน
ส่วนชนิดที่สอง คือการสร้างดนตรีที่ประกอบด้วยน้ำเสียงขึ้นมาใหม่จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น คอมพิวเตอร์หรือเครื่องสังเคราะห์เสียง ทำให้เกิดเสียงใหม่ๆ และระดับเสียงในขนาดระยะห่างที่เป็นไมโครโทน (Micro tone) หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สร้างเสียงให้เหมือนกับเสียงของเครื่องดนตรีที่เกิดจากเสียงธรรมชาติ
โลกของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับดนตรีมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งมีการทดลองสิ่งใหม่ๆ เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา และการดนตรีที่เกี่ยวข้องเทคโนโลยีก็พัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
ที่มา หนังสือเรียน ดนตรี ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 อจท.
https://www.youtube.com/watch?v=bcnJ6_FzBE0
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น