ศ33102 ลักษณะของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม (ดนตรีจีนและอินเดีย)

1. วัฒนธรรมดนตรีจีน   จีนเป็นประเทศในเอเซียตะวันออกที่มีพื้นที่กว้างใหญ่มากทำให้ภาษาพูดวัฒนธรรม และดนตรีมีความแตกต่างกันค่อนข้างมาก ดนตรีในแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ใช้บันไดเสียงที่มีโครงสร้างต่างกัน บางพื้นที่ใช้แบบ 5 เสียง บางพื้นที่ใช้ 7 เสียง การดำเนินทำนองบางพื้นที่นิยมแบบก้าวกระโดด และใช้คู่เสียงกว้าง เช่น คู่ 4 คู่ 5 คู่ 8 แต่บางพื้นที่นิยมแบบราบเรียบไม่กระโดด อัตราจังหวะก็มีความนิยมใช้แตกต่างกันไป
         เสียงดนตรีของจีนคิดขึ้นมาอย่างมีระบบด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ สอดคล้องกับธรรมชาติและปรากฏการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในชีวิตจริง เสียงดนตรีของจีนเกิดขึ้นมาจากเสียงพื้นฐานเพียง 1 เสียง เรียกว่า huang chung เกิดจากการเป่าลมผ่านท่อไม้ไผ่ 1 ฟอน (ใบ) เสียงอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น มาจากการตัดไม้ไผ่ด้วยความยาวต่าง ๆ กัน โดยใช้ระบบการวัดที่มีอัตราส่วนแน่นอนเหมือนกับสูตรทางคณิตศาสตร์ จากเสียงพื้นฐานเพียง 1 เสียง จะนำไปสร้างให้เกิดเสียงต่าง ๆ อีกจนครบ 12 เสียง หรือ 12 ใบ นักวิชาการทางดนตรีเชื่อว่า เสียงทั้ง 12 เสียงของจีนที่เกิดขึ้นมานั้น มีความเกี่ยวพันกับราศี 12 ราศี เดือน 12 เดือน ชั่วโมงของเวลากลางวันและกลางคืน รวมทั้งการแบ่งเพศชายและหญิงด้วย ระบบเสียง 5 เสียง ที่พบในดนตรีจีนถือสารเลือกเสียง 12 เสียงที่เกิดขึ้น นำไปจัดรูปแบบใหม่ให้เป็นบันไดเสียงที่ต้องการเพื่อนำไปใช้สร้างเพลงต่าง ๆ ต่อไป
                 ชาวจีนแบ่งประเภทของเครื่องดนตรีตามลักษณะของวัสดุที่ใช้ทำเครื่องดนตรีนั้น ๆ แบ่งออกเป็น 8 พวก ดังนี้  1. ไม้ (Mu)  2. หนัง (Ko) 3. ไม้ไผ่ (Chu)  4. โลหะ (Kin)  5. น้ำเต้า (Po)  6. หิน (Che)  7. ดิน (tu) 8. เส้นไหม (hien)
               เครื่องดนตรีจำพวกโลหะ ได้แก่ ระฆัง และฆ้องชนิดต่าง ๆ   เครื่องดนตรีจำพวกหิน ได้แก่ ระฆังราว เครื่องดนตรีจำพวกเส้นไหม ได้แก่ Ch’in เป็นเครื่องดนตรีที่มีสาย 7 สายใช้มือดีด Ch’in เป็นเครื่องดนตรีชั้นสูง ใช้เฉพาะพวกขุนนาง และผู้มีการศึกษาสูง สามารถเพิ่มได้ทั้งแบบเดี่ยวและคลอประกอบการขับร้อง เครื่องดนตรีจำพวกไม้ไผ่ ได้แก่ ขลุ่ยชนิดต่าง ๆ ปี่แพนไพท์ (Panpine)  เครื่องดนตรีเป็นก้อนจำพวกดิน ได้แก่ เครื่องเป่าเสียงเหมือนขลุ่ยที่สร้างมาจากดินเหนียว ขนาดพอดีกับฝ่ามือ ภายในเจาะให้เป็นโพรง เจาะรูปิด-เปิด ด้วยนิ้วมือเพื่อให้เกิดระดับเสียงดนตรี  เครื่องดนตรีพวกน้ำเต้า ได้แก่ Sheng เป็นเครื่องดนตรีสำคัญในวงดนตรีจีน Sheng ประกอบด้วย ท่อไม้ 7 ท่อ ติดตั้งอยู่ในผลน้ำเต้าแห้ง ซึ่งจะใช้เป็นที่พักลม แต่ละท่อจะมีลิ้นฝังอยู่ พร้อมทั้งเจาะรูปิด-เปิดแต่ละท่อด้วย เวลาเล่นจะต้องเป่าลมผ่านผลน้ำเต้าแล้วให้ลมเปลี่ยนทิศทางด้วยท่อทั้ง 7 ท่อ เสียงของ Sheng จะคล้ายเสียงออร์แกนลมของดนตรีตะวันตก
  • กู่เจิง (Gu - Zhing หรือ Guzheng)เป็นเครื่องสายดีดโบราณของจีนซึ่งมีประวัติยาวนานประมาณ 2500 ปี โดยเริ่มแรกจากสมัยจ้านกั๋ว เป็นเครื่องดนตรีเมืองฉิน(ปัจจุบันคือเมืองสั่นซี) ชื่อกู่เจิงมาจากเสียงของเครื่องดนตรีที่เวลาดีดจะมีเสียง “zheng zheng” ในสมัยก่อนเรียกว่า เจิ้น คำว่ากู่หมายถึงประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและสะท้อนวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวจีนโบราณ เมื่อ 2500 ปีก่อน ทำจากไม้และพัฒนามาอย่างต่อเนื่องถึงสมัยฮั่นเป็น 12 สาย สมัยถานและซ้งเป็น 13 สาย สมัยชิงเป็น 16สายจนถึง ค.ศ. 1960 ได้พัฒนาเป็น 18 21 23 และ 26 แต่ส่วนมากปัจจุบันนิยมใช้ 21
    กู่เจิง หรือ กู่ฉิน
  • ขลุ่ยเป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าที่ได้รับความนิยมในจีน เนื่องจากทำด้วยไม้ไผ่ธรรมชาติ จึงได้ชื่อว่า“ขลุ่ยไม้ไผ่” แม้ว่าขลุ่ยมีขนาดเล็กและง่ายๆ แต่มีประวัติยาวนานถึงเจ็ดพันปี ประมาณสี่พันห้าร้อยกว่าปีก่อน ขลุ่ยเริ่มทำด้วยไม้ไผ่แทนกระดูก สมัยฮั่นอู่ตี้เมื่อปลายศตวรรษที่หนึ่งก่อนคริสกาล ขลุ่ยชื่อว่า“เหิงชุย(แปลว่าเป่าตามขวาง)” มีบทบาทสำคัญมากในเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าสมัยนั้น นับตั้งแต่ศตวรรษที่เจ็ดเป็นต้นมา ขลุ่ยมีการปรับปรุงอย่างมาก ได้เพิ่มรูเยื่อ ทำให้การแสดงออกของขลุ่ยได้รับการพัฒนาอย่างมาก ฝีมือการเป่าขลุ่ยก็พัฒนาไปถึงระดับที่สูงมาก จนถึงศตวรรษที่สิบ พร้อมๆกับบกกวีซ่งและกลองงิ้วสมัยหยวน ขลุ่ยได้กลายเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญในการบรรเลงประกอบเสียงในงิ้วพื้นเมืองและวงงิ้วชนชาติส่วนน้อยต่างๆ ขลุ่ยก็เป็นเครื่องดนตรีที่ขาดไม่ได้
    ดี (Di)
  • เอ้อหู หรือ ซออู้ (Erhu) เป็นเครื่องดนตรีจีนประเภทสีที่มีชื่อเสียง เริ่มมีตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง(คริสต์ศตวรรษที่7-คริสต์ศตวรรษที่10) เวลานั้นเอ้อหูเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมเล่นในหมู่ชนชาติส่วนน้อยที่พำนักอยู่ในเขตพื้นที่ภาคตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ในประวัติวิวัฒนการนานกว่า 1,000 ปีนั้น ซอสองสายเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประกอบในวงงิ้วโดยตลอด ซอสองสายมีโครงสร้างง่ายมาก มีคันซอที่ทำด้วยไม้ด้ามเล็กๆ ยาวประมาณ 80 ซม. บนคันซอมีสายซอ 2 สาย ใต้คันมีกระบอกเสียงของซอรูปร่างแบบถ้วยน้ำชา นอกจากนี้ ยังมีคันซักซอที่ทำด้วยหางม้า เวลาบรรเลง ผู้บรรเลงจะใช้ท่านั่ง มือซ้ายถือตัวซอ มือขวาถือคันซักซอ ระดับเสียงของซอสองสายจะกว้างถึง 3 ช่อง เสียงของซอสองสายสามารถแสดงถึงอารมณ์ความรู้สึกได้เต็มเปี่ยม ซอสองสายมีเสียงคล้ายเสียงคน จึงเป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะเหมือน การร้องเพลง บางคนขนานนามว่าเป็น“ไวโอลินจีน” เนื่องจากเสียงซอมีความเศร้าในตัว จึงมักเอามาบรรเลงเพลงที่เน้นอารมณ์ซาบซึ้ง
  •  หลังปีค.ศ. 1949 การผลิต ปรับปรุงและเทคนิคการบรรเลงซอ ได้รับการพัฒนาอย่างมาก ซอสองสายสามารถบรรเลงเดี่ยว และยังสามารถบรรเลงประกอบเพลงระบำ งิ้วและเพลงปกิณกะ ในวงดนตรีประเภทปี่และซอของจีน ซอสองสายเป็นเครื่องดนตรีหลัก เท่ากับเครื่องไวโอลินในวงดนตรีตะวันตก เนื่องจากวิธีการผลิตซอสองสายง่าย เรียนเป็นเร็วและฝึกง่าย ทั้งมีเสียงใสไพเราะ จึงได้รับความนิยมชมชอบจากชาวจีนทั่วไป
    เอ่อหู (Erhu)
                                                         ตัวอย่างการบรรเลง กู่เจิง 



ตัวอย่างการบบรรเลงดี (Di) ขลุ่ยจีน




ตัวอย่างการบรรเลง (Erhu) ซอจีน




2. วัฒนธรรมดนตรีอินเดีย มรดกทางวัฒนธรรมของดนตรีอินเดีย แบ่งออกได้เป็น 2 ฝ่าย คือ ดนตรีประจำชาติฝ่ายฮินดู และฝ่ายมุสลิม อิทธิพลของดนตรีมุสลิมจะอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ อิทธิพลของดนตรีฮินดูจะอยู่ทางตอนเหนือของประเทศวัฒนธรรมทางดนตรีอินเดียจะแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนไม่ว่าจะเป็นการเรียกชื่อเครื่องดนตรี ประเภทของเครื่องดนตรี แต่มีสิ่งหนึ่งที่เหมือนกันก็ได้ชาวอินเดียจะใช้เสียงดนตรีเป็นสื่อติดต่อกับพระเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่ตนเองเคารพนับถืออยู่

ระบบเสียง  
                 ดนตรีอินเดีย การจัดระบบเสียงที่มีลักษณะเฉพาะอย่างเป็นระบบ เป็นหมวดหมู่เช่นเดียวกับดนตรีตะวันตกมีโน้ตเต็มเสียง 7 โน้ต โน้ตเพี้ยนเสียงสูงและเพี้ยนต่ำ 5 เสียง บันไดเสียงต่าง ๆ และที่เป็นลักษณะเด่นของดนตรีอินเดีย คือ การนำเสียงในแต่ละบันไดเสียงมาจัดเป็นกลุ่มเสียงเพื่อนำมาใช้บรรเลงในเวลาที่กำหนดการจัดระบบชุดเสียงจากบันไดเสียงหลักนี้จะเรียกว่า ราคะ (Raga) 


 เครื่องดนตรีอินเดีย (India Instrumens)  
         การจัดหมวดหมู่ของดนตรีอินดียแตกต่างกันไปตามยุคสมัย ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม คือ

         1. ตะนะ (เครื่องสาย)

         2.อวนัทธะ (เครื่องหนัง)

        3.สุษิระ (เครื่องเป่า)

        4. ฆะนะ (เครื่องเคาะ)

          เครื่องสายของดนตรีอินเดียที่เก่าแก่ที่สุด คือ วีณา (Vina) เป็นเครื่องดนตรีของชาวอินเดียใต้ มีสาย 7-8 สาย สายส่วนหนึ่งจะใช้บรรเลงทำนองเพลง สายอีกสวนหนึ่งจะใช้บรรเลงเสียงโครน ลำตัวของวีณามีขนาดความยาวประมาณ 1.5 เมตร ส่วนที่เป็นกลุ่มเสียงขนาดใหญ่จะทำด้วยเปลือกผลไม้แห้ง เช่น ฟักทอง หรือน้ำเต้า

            ในแถบภาคเหนือของอินเดียเครื่องสายที่ได้รับความนิยม คือ ซีตาร์ (Sitar) มีสายตั้งแต่ 7-20 สาย ซีตาร์จะมีขนาดเล็กกว่าและเล่นง่ายกว่าวีณา

            สายซีตาร์ 20 สายทำด้วยโลหะ สายจำนวน 7 สายวางพาดบนนมโลหะ ใช้ดีดเป็นทำนองเพลง 5 สายและดีดเสียงโตนิดอีก 2 สาย ส่วนที่เหลืออีก 13 สาย ทำเป็นสายผลิตเสียงซ้อน (Sympathetic Strings) ในปัจจุบันซีตาร์เป็นเครื่องดนตรีของอินเดียที่มีชาวต่างชาติให้ความสนใจฝึกหัดมาก

             อินเดียถูกขนาดนามว่าเป็น “จ้าวแห่งจังหวะ” กลองจะทำหน้าที่เพิ่มสีสันเพลงอินเดียให้เร้าใจน่าฟังยิ่งขึ้น กลองต่าง ๆ เป็นเครื่องดนตรีที่อยู่ในตระกูลอวนัทธะมีจำนวนมากกว่า 1,000 ชนิด แต่ที่นิยมใช้แพร่หลายในการแสดงดนตรีมีอยู่ 3 ชนิด คือ มริทังค์ ปักชวัช และตับบล้า 

                                               ตัวอย่างการตี ตับบล้า (Tabla)






ตัวอย่างการบรรเลง ซีตาร์ (Sitar)







ตัวอย่างการบรรเลง เซห์ไน (Shehnai)



















































ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล