ศ33102 (ดนตรีอินโดนีเซีย ) ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม

ดนตรีอินโดนีเซีย (Music of Indonesia)

          ประเทศอินโดนีเซียเป็นประเทศที่อยู่ในแทบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ หรือที่เรียกว่าเอเซียอาคเนย์ เป็นประเทศที่ประกอบขึ้นด้วยหมู่เกาะประมาณ 3,000 เกาะ มีภาษาใช้มากกว่า 250 ภาษา วัฒนธรรมทางดนตรีแตกต่างกันไปตามพื้นที่ หมู่เกาะที่มีความสำคัญทางวัฒนธรรมของอินโดนีเซีย คือ ชวา บาหลี สุมาตรา บอร์เนียว ประชากรมีเชื้อสายชวาอยู่มากที่สุด ดังนั้นชวาจึงเป็นส่วนที่เด่นที่สุดทั้งด้านวัฒนธรรมและการเมือง ส่วนวัฒนธรรมทางด้านดนตรีนั้นจะมีความเด่นอยู่ที่ชวา บาหลี และสุมาตรา 

           ดนตรีของอินโดนีเซียที่เป็นที่รู้จักของชาวโลก คือ ดนตรีกาเมลัน(Gamelan Music) เป็นวงที่ประกอบด้วยเครื่องที่ทำด้วยโลหะชนิดต่าง ๆ ทั้งเหล็ก ทองเหลือง และสำริด เป็นหลัก เครื่องตีในวงกาเมลันส่วนหนึ่งมีรูปร่างคล้ายฆ้องวงของไทย แต่มีขนาดใหญ่กว่ามีชื่อเรียกต่างกันไป อีกส่วนหนึ่งก็คล้ายกับระนาดเหล็กของไทย แตกต่างกันที่จำนวนของลูกระนาดและลักษณะของรางที่นำมาใช้วางลูกระนาด การเล่นดนตรีการเมลันเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอินโดนีเซีย เสียงดนตรีกาเมลันจะได้ยินทั้งในโรงเรียน ในวัด ในวัง และสถานีวิทยุกระจายเสียง โอกาสที่จะบรรเลงก็แตกต่างกันไป มีทั้งบรรเลงในพิธีศักดิ์สิทธิ์ บรรเลง ในงานรื่นเริง บรรเลงรับและส่งเจ้านาย บรรเลงการประกอบการแสดงต่าง ๆ
       การเล่นดนตรีการเมลันเป็นส่วนหนึ่งของสังคมและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวอินโดนีเซีย เสียงดนตรีกาเมลันจะได้ยินทั้งในโรงเรียน ในวัด ในวัง และสถานีวิทยุกระจายเสียง โอกาสที่จะบรรเลงก็แตกต่างกันไป มีทั้งบรรเลงในพิธีศักดิ์สิทธิ์ บรรเลง ในงานรื่นเริง บรรเลงรับและส่งเจ้านาย บรรเลงการประกอบการแสดงต่างๆ

ระบบเสียง
                ระบบเสียงในดนตรีอินโดนีเซียมีทั้งแบบ 5 เสียง และ 7 เสียง การแบ่งออกช่วง 1 อ๊อคเตพเป็น 5 เสียง เรียกว่า SLENDRO  แต่ละเสียงห่างเกือบเท่า ๆ กัน การแบ่งช่วงอ๊ออคเตพเป็น 7 เสียงเรียกว่า PELOG แต่ละเสียงห่างไม่เท่ากัน ระบบ 5 เสียงมีการนำไปใช้มากกว่าระดับเสียงของวงกาเมลันแต่ละวงจะตั้งไม่เท่ากัน เสียงแต่ละวงจะเป็นของตัวเอง ในแต่ละวงจะมีเครื่องคนตรี 2 ชุด ชุดหนึ่งจะตั้งเสียงเป็น SLENDRO
 อีกชุดหนึ่งตั้งเป็น PELOG วงกาเมลันที่ตั้งระดับเสียงเครื่องดนตรีเป็นแบบใดแบบหนึ่งก็มีเช่นกัน

เครื่องดนตรีกาเมลัน  
                   ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์เชื่อว่าเกาะชวาเป็นดินแดนที่มีความเจริญในด้านการผลิตโลหะต่าง ๆ ออกมาเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องดนตรีด้วย ดังนั้นเครื่องดนตรีที่เป็นโลหะชนิดต่าง ๆ จึงเป็นเครื่องดนตรีหลักของวงกาเมลัน เช่นฆ้องเดี่ยว ฆ้องชุด ระนาดโลหะ ฉาบ เครื่องดนตรีที่เหลือก็เป็นพวกขลุ่ยไม้ไผ่ ระนาดไม้ เครื่องสายสำหรับดีดและสี เครื่องประกอบจังหวะต่าง ๆ เช่น กลอง และนักร้องอีกจำนวนหนึ่ง
                             SARON                     



                                 KEMPUL
 
                                 BONANG

                      GONG AGENG

                     GAMBANG KAYU       
 

                            SULING

                           GONG  SIYEM                      

                              KENDANG

                                     KENONG                     

                                KETUK

                                   KEMPYANG  

                
 







ตัวอย่างดนตรีในวัฒนธรรมอินโดนีเซีย








ความคิดเห็น

  1. ไม่ระบุชื่อ10 กันยายน 2566 เวลา 19:29

    สอบถามหน่อย ดนตรีนาฏศิลป์ชวาคืออะไร

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล