ศ33102 (ดนตรีอาหรับ) ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม
อาจกล่าวได้ว่าวิทยาการของมนุษย์ในปัจจุบันนั้น เป็นมรดกตกทอดมาจากวิทยาการของเหล่านักคิดในอดีตที่สืบทอดและพัฒนาต่อเนื่องกันมา การสืบทอดของชาวอาหรับนี้อาศัยการถอดแปลภาษา (translation) เป็นวิธีการสำคัญที่ขับเคลื่อนการถ่ายโอนความรู้สู่อารยธรรมอาหรับ หนังสือตำรับตำราจำนวนมากของกรีก – โรมันโบราณ และจากแหล่งอารยธรรมอื่น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาคณิตศาสตร์ แพทยศาสตร์ ปรัชญา การเมือง และอุดมคติทางสังคม รวมทั้งชิ้นงานของนักคิดสำคัญ ๆ อาทิ ปโตเลมี เพลโต อริสโตเติล ดิโอสโคไรดิส เกเลน หรือแม้แต่ตำราทางพุทธศาสนาและศาสนาฮินดู ได้รับการถอดแปลภาษาจากภาษาท้องถิ่นสู่ภาษาอาหรับ โดยมีบ้านแห่งปัญญา (House of Wisdom) ในกรุงแบกแดด เป็นศูนย์กลางการรวบรวมและการแปลภาษาที่มีบทบาทในโลกอาหรับยาวนานกว่าศตวรรษ
วิทยาการของอาหรับจะเจริญรุ่งเรืองมิได้โดยสมบูรณ์ หากพัฒนาการทางภาษาอาหรับซึ่งทำหน้าที่เป็นสื่อกลางการเรียนรู้ มิได้พัฒนาไปด้วย ภาษาอาหรับ (Arabic Language) จึงเป็นทั้งวิทยาการและเป็นปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนให้ศาสตร์อื่น ๆ ของชาวอาหรับเป็นปึกแผ่นและแพร่หลายออกไป
ภาษาอาหรับเป็นภาษาในตระกูล Semetic ที่มีลักษณะใกล้เคียงกับภาษาอื่น ๆ อาทิ ภาษาอารามิก (Aramaic) ภาษา
อัสสิเรีย - บาบีโลน (Assyro – Babylonian) เป็นต้น โดยภาษาอาหรับที่ใช้ในปัจจุบัน คือ ภาษาฟุสฮะ(Fusha) [i] เป็นภาษาอารบิกในพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน (Qur’anic Arabic) ซึ่งใช้เป็นภาษาอาหรับราชการในภูมิภาคตะวันออกกลางในปัจจุบัน
ภาษาอาหรับ (ขวา) จะมีความคล้ายคลึงกับภาษาอารามิก (ซ้าย) เนื่องจากเป็นภาษาในตระกูล Semetic เช่นเดียวกัน
อัสสิเรีย - บาบีโลน (Assyro – Babylonian) เป็นต้น โดยภาษาอาหรับที่ใช้ในปัจจุบัน คือ ภาษาฟุสฮะ(Fusha) [i] เป็นภาษาอารบิกในพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน (Qur’anic Arabic) ซึ่งใช้เป็นภาษาอาหรับราชการในภูมิภาคตะวันออกกลางในปัจจุบัน
ภาษาอาหรับ (ขวา) จะมีความคล้ายคลึงกับภาษาอารามิก (ซ้าย) เนื่องจากเป็นภาษาในตระกูล Semetic เช่นเดียวกัน
แม้จะมีการถกเถียงเรื่องความเก่าแก่ของภาษาอาหรับ[ii] ทว่านักโบราณคดีต่างยอมรับในเบื้องต้นว่าภาษาอาหรับมีต้นกำเนิดมาตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 4 โดยเป็นอักขระภาษาลูกที่ได้รับการพัฒนามาจากอักษรเซมิติกดั้งเดิม (Proto-Semitic) ซึ่งสันนิษฐานว่ามีอายุเก่าแก่ประมาณ 1,800 – 1,600 ปีก่อนคริสต์กาล ภาษาอาหรับฟุสฮะ นับว่ามีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาวิทยาการและวิทยาศาสตร์ของชาวอาหรับในช่วงยุคทอง เมื่อภาษาอาหรับและศาสนาอิสลามได้มาบรรจบกันในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นผลให้ชาวมุสลิมผู้ศรัทธาในศาสนายอมรับภาษาอาหรับในการสื่อสาร ทั้งศาสนพิธีและกิจวัตรประจำวัน ด้วยเหตุนี้การพัฒนาองค์ความรู้จึงรุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว เพราะความแพร่หลายของภาษาอาหรับในหมู่นักวิชาการอาหรับมุสลิมมากยิ่งขึ้น
แผนภาพแสดงวิวิัฒนาการของภาษาในตระกูลอักษรเซมิติกดั้งเดิม (Proto-Semitic) โดยภาษาอาหรับ
(ลำดับที่ 2 จากขวา)
แตกแขนงออกมาจากภาษาอารามิก (Aramaic) โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน
แตกแขนงออกมาจากภาษาอารามิก (Aramaic) โดยมีลักษณะคล้ายคลึงกับภาษาอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน
เอกลักษณ์ของภาษาอาหรับยังปรากฏในภาษาอื่น ๆ อาทิ การยืมรากศัพท์ไปใช้ในภาษาอังกฤษ เช่น คำว่า พลเรือเอก (Admiral: Amir Al – Bahar) อำพัน (Amber: Amber) เป็นต้น ทั้งยังมีอิทธิพลในภาษาอื่น ๆ ทั้งภาษาสเปน ภาษาตุรกี ภาษาเคิร์ด ภาษาเปอร์เซียในเอเชียตะวันตก ภาษาสวาฮิลี ภาษาโซมาลีในแอฟริกา ภาษาอุซเบก ภาษาตาตาร์ในเอเชียกลาง ภาษาอูรดู ภาษาปัญจาบในเอเชียใต้ ภาษามลายู ภาษายาวีในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแสดงถึงความแพร่หลายและอิทธิพลทางภาษาอาหรับที่มีต่อทั้งวิทยาการและต่อภาษาอื่น ๆ
ในช่วงยุคทองนี้ งานศิลปกรรมของชาวอาหรับมีความผูกพันกับศาสนาอิสลามและมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น กล่าวคือ มีองค์ประกอบของ อักษรวิจิตร (Calligraphy) ที่เป็นข้อความจากพระผู้เป็นเจ้าในพระคัมภีร์อัลกุรอ่าน ลวดลายดอกไม้ (arabesque)[iii]ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของอาหรับ เพื่อสื่ออารมณ์ความเขียวชอุ่มของพรรณไม้และธารน้ำเย็น และ ลวดลายเรขาคณิต (Geometric Design) ซึ่งแสดงถึงความเป็นเอกภาพภายใต้ความหลากหลาย (unity within diversity)[iv] และความสมบูรณ์แบบ (perfection) ของสรรพสิ่งที่รังสรรค์ขึ้นโดยพระเจ้า
งานศิลปกรรมของชาวอาหรับโดยปกติจะมีความผูกพันกับศาสนาอิสลาม ทั้งนี้ องค์ประกอบสำคัญของงานศิลป์อาหรับ
จะมีลักษณะเด่น 3 ประการ คือ มีอักษรวิิจิตร (ซ้าย) มีลวดลายดอกไม้ (กลาง) และมีลวดลายเรขาคณิต (ขวา)
ซึ่งลวดลายทั้งหมดล้วนมีความหมายและมีที่มาในตัวเอง ทั้งนี้ พบเห็นได้มากจากงานจิตกรรมฝาผนัง และงานสถาปัตยกรรม
จะมีลักษณะเด่น 3 ประการ คือ มีอักษรวิิจิตร (ซ้าย) มีลวดลายดอกไม้ (กลาง) และมีลวดลายเรขาคณิต (ขวา)
ซึ่งลวดลายทั้งหมดล้วนมีความหมายและมีที่มาในตัวเอง ทั้งนี้ พบเห็นได้มากจากงานจิตกรรมฝาผนัง และงานสถาปัตยกรรม
ดนตรีอาหรับ มีวิทยาการมานับ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 9 และมีอิทธิพลเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน อาทิ อัล คินดิ (Al-Kindi) เป็นผู้ริเริ่มในการใช้โน้ตดนตรีในการเขียนเพลง และเป็นผู้ตั้งชื่อโน้ตของระดับเสียงดนตรีโดยใช้พยางค์แรกของแต่ละวรรคแทน ที่การใช้ตัวอักษรศาสตร์การดนตรีเรียกระบบนี้ว่า โซลมิเซชั่น (Solmization) พยางค์เหล่านี้กลายเป็นระดับเสียงพื้นฐานของดนตรี คือ Do Re Mi Fa Sol La Ti ในปัจจุบัน ซึ่งระดับเสียง
พื้นฐานเหล่านี้มาจากภาษาอาหรับ คือ Dal Ra Min Fa Sad และ Lam
การเดินทางไปยังท้องที่ต่าง ๆ ของนักดนตรีและพ่อค้าชาวอาหรับ มีส่วนให้ดนตรีอาหรับถ่ายทอดและหล่อหลอมรูปแบบชีวิต วัฒนธรรมและศิลปะยุโรป โดยเฉพาะบริเวณคาบสมุทรไอบีเรีย สเปน และโปรตุเกสในสมัยการปกครองของอาณาจักรอัล อันดาลุส
(Al-Andalus) อิทธิพลของอาณาจักรอิสลามในช่วง 800 ปีนี้ ผลักดันให้อารยธรรมดนตรีของโลกมุสลิมได้เผยแพร่ไปยังยุโรปด้วย
(Al-Andalus) อิทธิพลของอาณาจักรอิสลามในช่วง 800 ปีนี้ ผลักดันให้อารยธรรมดนตรีของโลกมุสลิมได้เผยแพร่ไปยังยุโรปด้วย
ครื่องดนตรีอัลอู๊ด (Al-Ud) (บน) และเครื่องดนตรีลุต (Lute) (ล่าง) เป็นเครื่องสายที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์ในปัจจุบัน
อัลคินดิ ยังเป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องดนตรีอัล อู๊ด (Al-Ud) ซึ่งเป็นเครื่องสายชิ้นแรกของโลกมุสลิมที่มีลวดลายสลักประณีต สวยงาม และอาณาจักรอันดาลุสที่มีอิทธิพลเหนือแว่นแคว้นในสเปนได้ถ่ายทอดเครื่องดนตรีชิ้นนี้สู่ยุโรปช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 9 เป็นต้นตระกูลเครื่องสายที่เรียกว่าลุต (Lute) ซึ่งเป็นกีตาร์รุ่นแรก ๆ ของยุโรป โดยอัลอู๊ดจะมีลักษณะคล้ายกีตาร์ ด้านหน้าเป็นรูปวงรี มีขนาดใหญ่กว่ากีตาร์ในปัจจุบันเล็กน้อย ขึงด้วยสายคล้ายกีตาร์ในปัจจุบันและมีเสียงไพเราะ
นอกจากนี้ ยังมีเครื่องดนตรีที่เรียกว่า คานุน (Kanun) มีลักษณะคล้ายกับขิมหรือพิณ เวลาดีดจะมีเสียงที่ไพเราะเพราะพริ้ง และทับ หรือ ทับบล้า (Tubla) เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี ชาวอาหรับนิยมชมชอบเป็นอย่างยิ่ง เพราะราคาย่อมเยา หาซื้อได้ง่าย และสามารถพกพาไปในงานเลี้ยงสังสรรค์ได้สะดวก เป็นเครื่องดนตรีประกอบการละเล่นพื้นเมืองหลายชนิด อาทิ การใช้ทับบล้าตีให้จังหวะระบำหน้าท้อง ซึ่งเป็นการเต้นรำในโลกมุสลิมที่มีชื่อเสียงมาก
ตัวอย่าง เพลงอาหรับ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น