ศ33102 (ดนตรีแอฟริกา) ลักษณะเด่นของดนตรีในแต่ละวัฒนธรรม

ดนตรีแอฟริกัน

ดนตรีของชาวแอฟริกันเป็นดนตรีที่ผู้ฟังมีส่วนร่วม สามารถเป็นทั้งผู้เล่น ผู้เต้นรำ และผู้ฟังไปในเวลาเดียวกัน รูปแบบดนตรีแอฟริกันมีความโดเด่นในด้านการบรรเลงเครื่องกระทบที่มีจังหวะเร้าใจ ซึ่งดนตรีตามแบบดั้มเดิมของชาวแอฟริกันมักจะสิ่งต่างๆเข้ามาประกอบในการแสดงออกทางดนตรีด้วย เช่น การตกแต่งร่างกาย เสื้อผ้า การเต้นรำ รูปปั้น ส่วนเพลงขับร้องนั้นชาวแอฟริกันใช้เพื่อแสดงออกทางความคิด ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญในการเล่านิทาน ที่กล่าวถึงความเป็นมาของชนเผ่า และใช้ในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น การฉลองเด็กเกิดใหม่ พิธีแต่งงาน รวมไปถึงการล่าสัตว์ สงครามระหว่างชนเผ่า เป็นต้น 
   ในปัจจุบัน ดนตรีแอฟริกันได้ปรับเปลี่ยนและผสมผสานกับวัฒนธรรมตะวันตก เพื่อให้เกิดดนตรีรูปแบบใหม่ๆ แต่ก็ยังคงรักษาเอกลักษณ์ดั้งเดิมไว้  ทั้งนี้ไม่เพียงเปลี่ยนด้านลักษณะของดนตรี แต่ยังรวมไปถึงบริบทของดนตรีด้วย กล่าวคือ บทบาทของผู้ฟังและผู้เล่นเปลี่ยนจากที่ทุกคนมีส่วนร่วมกลายเป็นผู้ฟังอย่างเดียว ในขณะเดียวกันบทเพลงจากเดิมที่เกิดจากการด้นสดไม่มีการบันทึกโน้ต ก็เปลี่ยนไปสู่การสร้างบทประพันธ์ใหม่ มีการเขียนบันทึกโน้ตเพลง และนำเอาเครื่องดนตรีตะวันตกมาประสม ซึ่งบทประพันธ์ใหม่ที่เกิดขึ้นได้สะท้อนถึงการยอมรับอิทธิพลดยตนรตะวันตกที่เข้ามาผสมผสานในวัฒนธรรมของตน

 ระบบเสียงและลักษณะของดนตรีอัฟริกัน 
          เพลงร้องและเพลงบรรเลงในดนตรีอัฟริกันมีหลากหลายรูปแบบ รวมทั้งบันไดเสียงก็มีใช้อย่างมากมายหลายรูปแบบด้วยเหมือนกัน โครงสร้างของบันไดเสียงในดนตรีอัฟริกันที่ถูกนำไปใช้มากจะเป็นแบบ 5 เสียง (pentatonic) และ 7 เสียง (heptatonic) เหมือนกับบทเพลงในดนตรีตะวันตกที่ใช้โครงสร้างของบันไดเสียงไดอะโทนิก (diatonic scale) ประโยคเพลงจะเป็นแบบสั้น ๆ  มีวรรคถามและวรรคตอบ  มีการนำประโยคเดิมมาใช้ซ้ำบ่อย ๆ ในเพลงร้องวรรคถามจะร้องด้วยเสียงเดียว (Solo) แต่ในวรรคตอบจะร้องด้วยเสียงหลายเสียง (Chorus) พร้อม ๆ กัน

พื้นผิว หรือ รูปพรรณ (Texure) ของดนตรีอัฟริกัน  
          เสียงประสานที่เกิดขึ้นในดนตรีอัฟริกันจะไม่เหมือนกับดนตรีตะวันตก ดนตรีอัฟริกันนิยมการตกแต่งทำนองให้แปลกไปกว่าเดิม บางครั้งจะร้องเสียงยาวต่อเนื่องกันพร้อมกับเสียงอื่น ๆ หรืออาจจะร้องทำนองเดิม ด้วยระดับเสียงใหม่ไปพร้อมกันกับทำนองเดิม ทำให้รูปพรรณดนตรีแบบเฮเทโรโฟนี (Heterophony) เกิดขึ้น ขั้นคู่เสียงที่ถูกนำมาใช้บ่อยที่สุด คือ ขั้นคู่ 3 ส่วนขั้นคู่อื่น ๆ ก็มีบ้างแต่ไม่มากเท่าขั้นคู่ 3 จังหวะการตีกลองของดนตรีอัฟริกันช่วยทำให้กิจกรรมดนตรีน่าสนใจมากขึ้น ชาวอัฟริกันมีความสามารถในการตีกลองไม่แพ้ชาวอินเดีย    การบรรเลงดนตรีอัฟริกาบางรูปแบบจะใช้อัตราจังหวะที่แตกต่างกัน บรรเลงในเวลาเดียวกัน ด้วยเครื่องดนตรีที่ต่างกัน ทำให้รูปพรรณดนตรีแบบโพลีโฟนี (Polyphony) เกิดขึ้น
เครื่องดนตรีชาวอัฟริกัน ( African Instruments)   
           เครื่องดนตรีอัฟริกาที่พบในทุกพื้นที่มีหลายประเภท เช่น เครื่องสาย  เครื่องเป่า  และเครื่องตีกระทบจังหวะ ซึ่งส่วนใหญ่จะทำมาจากผลของน้ำเต้าแห้ง   ผลบวบแห้ง    เครื่องดนตรีบางชนิดจะเป็นได้ทั้งเครื่องเคาะจังหวะและเครื่องสาย   
               ระนาดไม้เป็นเครื่องดนตรีอัฟริกาที่ได้รับความนิยมนำมาใช้บรรเลงเช่นกัน ลูกระนาดทำด้วยไม้ รางที่ใช้สำหรับวางลูกระนาด อาจจะทำด้วยต้นกล้วย หรือผลน้ำเต้าแห้ง หรือขอบไม้ก็ได้
               กลอง คือ เครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดของดนตรีอัฟริกา การตีกลองของอัฟริกาเหมือนกับการตีเพื่อเลียนเสียงพูดของชาวอัฟริกันเอง ทั้งนี้เพราะลักษณะการพูดของชาวอัฟริกันเกิดขึ้นแบบทำนองดนตรีเป็นเสียงสูง ๆ ต่ำ ๆ สลับกันไป ชาวอัฟริกันสามารถใช้เสียงกลองส่งข้อความเพื่อสื่อสานกันได้ เช่น ส่งสัญญาณเพื่อเรียกประชุม เป็นต้น




                                                                                       Djembe


                                                                                             Cabaza          
      

                                                                                          Maracas

                                                                                         Marimba

                                                                            Mbira or Thumb Piano



                                                                             Atenteben  or Bamboo Flute

                       Krin

                                                                                       Kingkong

                                                                                     Ivory Trumpet

                                                                                     Talking Drum

                                                                                        Mateme

                                                                                        Gourds 





ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)