สังคีตกวีดนตรีพื้นบ้าน

สังคีตกวีดนตรีพื้นบ้าน

บทเพลงพื้นบ้านที่เราได้ฟังในทุกวันนี้มีอยู่มากมาย ซึ่งล้วนแต่เป็นผลงานอันทรงคุณค่าที่เกิดจากการ
สร้างสรรค์ของนักดนตรีพื้นบ้านไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังจะขอยกตัวอย่างประวัติและผลงาน
ของสังคีตกวีดนตรีพื้นบ้านบางท่านนำเสนอโดยสังเขป
   

                         ตัวอย่าง สังคีตกวีดนตรีพื้นบ้านภาคเหนือ

                                          เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่
                                               
     ประวัติ   เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่ เป็นศิลปินที่มีความรู้ ความสามารถในด้านการขับร้องเพลงไทย
และเพลงพื้นบ้านล้านนา  ท่านเกิดเมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2486 ที่จังหวัดเชียงใหม่ เป็นบุตรีของเจ้า
มรกตกับเจ้าเกี๋ยงคำ ณ เชียงใหม่ สามีชื่อร้อยตำรวจเอกเจ้าพรหมา ณเชียงใหม่ เติบโตอยู่ในวัง
พระราชชายาเจ้าดารารัศมีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชการที่ 5 )  ฝึกหัดขับร้อง
เพลงไทย เพลงพื้นเมืองและฟ้อนรำมาตั้งแต่เยาว์วัย การได้เป็นนางข้าหลวงในพระราชชายาเจ้า
ดารัศมี ทำให้ได้เรียนรู้ ฝึกฝน สืบสานเพลงพื้นเมืองและการฟ้อนรำแบบพื้นเมืองของจังหวัดเชียงใหม่
ที่กำลังจะสูญหายให้คงอยู่สืบต่อไป

      ผลงาน  นอกจากความรู้ ความสามารถทางด้านดนตรีพื้นบ้านแล้ว ท่านยังมีความสามารถใน
การฟ้อน ผลงานที่สร้างชื่อเสียง เช่น ซอล่องน่าน ( น้อยใจยา ) ฟ้อนเงี้ยว เป็นต้น องค์ความรู้ของท่าน
เป็นที่ประจักษ์ ท่านจึงได้รับเชิญให้เป้นอาจารย์พิเศษสอนศิลปะพื้นบ้านให้แก่นักเรียน


ตัวอย่าง สังคีตกวีดนตรีพื้นบ้านภาคกลาง
             
                                       นางขวัญจิตร ศรีประจันต์
                                              
              




ประวัติ  นางขวัญจิต ศรีประจันต์ เป็นแม่เพลงที่มีชื่อเสียงของจังหวัดสุพรรณบุรี นามจริง
ของท่านคือ นางเกลียว เสร็จกิจ เกิดเมื่อ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2490 ที่จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นผุ้ก่อตั้ง
วงดนตรีลูกทุ่งขวัญจิต ศรีประจันต์ ท่านเริ่มฝึกหัดขับร้องเพลง พื้นบ้าน เมื่ออายุ 15 ปี จากพ่อเพลง
ไสว วงษ์งาม และเเม่เพลงบัวผัน จันทร์ศรี เพลงพื้นบ้านที่มีชื่อเสียงให้แก่ท่านมากคือ  เพลงอีแซว
        ผลงาน   ความโดเด่นของท่านคือ การใช้ไหวพริบปฏิภาณในการว่ากลอนเพลง สำนวนกลอน
ได้รับความชื่นชอบว่ามีความคมคาย กลอนเพลงมีการสอดแทรกคุณธรรม ข้อคิดคำคมที่เตือยใจ 
ผู้ฟังให้เห็นคุณค่า

                                      ตัวอย่าง สังคีตกวีดนตรีพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

                                              นายพูน สามสี
                                           
                 ประวัติ  นายพูน สามสี เป็นศิลปินดนตรีกันตรึมที่มีชื่อเสียงของวัฒนธรรมดนตรีอีสานใต้ 
ท่านเกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2485 ที่บ้านดงมัน อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ เริ่มเรียนดนตรีพื้นบ้าน
ตั้งแต่อายุ 13  ปีโดยการฝึกเรียนขับร้องเพลงในวงกันตรึมจนมีความรู้ ทักษะทางด้านดนตรีการบรรเลง
ดนตรี
                  ผลงาน  ในปี พ.ศ. 2532 ท่านได้ตั้งคณะกันตรึมของตนเอง รับงานบรรเลงทั่วไป 
ในขณะเดียวกันก็เปิดรับชาวบ้านทั้งชาย-หญิง มาฝึกเรียนศิลปะการขับร้อง เช่น เจรียงนอร์แกว 
เจรียงตรุษ เจรียงบังนา เป็นต้น จนมีศิษย์ที่ได้รับการสืบทอดเป็นจำนวนมาก

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

การอนุรักษ์นาฏศิลป์ไทย

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล