ขนบธรรมเนียมปฏิบัติของดนตรีไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 3

ขนบธรรมเนียมปฏิบัติของดนตรีไทย

ประเทศไทยมีวัฒนธรรมและประเพณี ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาแต่โบราณ เช่น พิธีกรรมทาง
ศาสนาพุทธ ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนาพราหมณ์อย่างแยกแยะไม่ได้ ผู้นำในการประกอบ
พิธีกรรมต่างๆ ของท้องถิ่นตามภาคต่างๆ ของประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ชุมชนให้ความนับถือ 
เมื่อมีการจัดพิธีดังกล่าวขึ้น คนในชุมชนที่มาร่วมพิธีจะเกิดความรักความสามัคคี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นการสร้างความเจริญรุ่งเรืองและสร้างความเป็นปึกแผ่นแก่ชุมนุมอย่างดียิ่ง
ปัจจุบันวัฒนธรรมและประเพณีแบบโบราณกำลังเลือนหายไป ซึ่งคนสมัยใหม่มักจะละเลย แม้จะมีการ
นำมาปฏิบัติอยู่บ้าง แต่ยังขาดความรู้ความเข้าใจขั้นตอนในเรื่องพิธีกรรมต่างๆ จึงทำให้มีการปฏิบัติ
อย่างไม่ถูกต้อง ขาดความเป็นระเบียบเรียบร้อย หากหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่มีหน้าที่ดูแลรับผิด-
ชอบ ไม่เผยแพร่ความรู้ที่ถูกต้อง อาจทำให้วัฒนธรรมและประเพณีที่ดีงามมีความเสื่อมถอยไปเรื่อยๆ 
จนในที่สุดจะเลือนหายไปตามกาลเวลา วัฒนธรรมประเพณีที่ดีงามซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นนั้น 
ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องรวบรวมให้เป็นหนึ่งเดียว เพราะพิธีกรรมเป็นเรื่องหลักที่ต้องเรียนรู้และ
เข้าใจโดยถ่องแท้

พิธีกรรมตามพจนานุกรมฯ ให้ความหมายไว้ว่า “พิธีกรรม” หมายถึง การบูชา แบบอย่างหรือแบบแผน
ต่าง ๆ ที่ปฏิบัติในทางศาสนา

พิธีกรรม คือ การกระทำที่คนเราสมมติ ขึ้น เป็นขั้นเป็นตอน มีระเบียบวิธี เพื่อให้เป็นสื่อหรือหนทางที่
จะนำมาซึ่งความสำเร็จในสิ่งที่คาดหวังไว้ ซึ่งทำให้เกิดความสบายใจและมีกำลังใจที่จะดำเนินชีวิตต่อ
ไป เช่น พิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา หรืออีกนัยหนึ่ง พิธีกรรม หมายถึง พฤติกรรม ทีมนุษย์พึงปฏิบัติ
ต่อความเชื่อทางศาสนาของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดๆ ก็ตามต่างก็มีการปฏิบัติต่อศาสนาของตน 
ตามความเชื่อและความศรัทธาของตนเองในแต่ละศาสนาจึงก่อให้เกิดเป็น “พิธีกรรม” ทางศาสนาด้วย
ความเชื่อและความศรัทธา

ประเพณี ตามพจนานุกรมภาษาไทยฉบับบัณฑิตยสถาน ได้กำหนดความหมายประเพณีไว้ว่า 
ขนบธรรมเนียม แบบแผน ซึ่งสามารถแยกคำต่างๆ ออกได้เป็น “ขนบ” มีความหมายว่า ระเบียบ 
แบบอย่าง “ธรรมเนียม” มีความหมายว่า ที่นิยมใช้กันมา และเมื่อนำมารวมกันแล้วก็มีความหมายว่า 
ความประพฤติ ที่คนส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบแผนและได้ทำการปฏิบัติ สืบต่อกันมาจนเป็นต้นแบบที่จะ
ให้คนรุ่นต่อๆ ไปได้ประพฤติปฏิบัติตามกันต่อไป

พิธีกรรมและประเพณี จัดเป็นจารีตประเพณี คือ แนวทางปฏิบัติสืบทอดกันมา นับว่าเป็นสมบัติที่
ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง จำเป็นต้องมีผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติให้รู้ถึงขนบธรรมเนียมประเพณี 
อย่างชัดเจน โดยเผยแพร่ความรู้แก่เยาวชนและองค์กรภาครัฐทุกส่วน ให้สามารถนำไปปฏิบัติเองได้ 
หมายความว่า ทำให้เป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เกิดความชำนาญและแนะนำผู้อื่นได้ ที่สำคัญคือ
การปฏิบัติ ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อให้เยาวชน ประชาชนในท้องถิ่น มีความรู้ในการทำพิธีอย่าง
ถูกต้องและเกิดประโยชน์ในเชิงวิชาการเป็นการรักษาเอกลักษณ์ของท้องถิ่นที่มีความหลากหลายให้
คงอยู่อย่างยั่งยืน ส่งผลให้สังคมไทยมีจารีต ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงาม


                      

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)