รูปแบบการบรรเลงดนตรีไทย

                  การบรรเลงดนตรีไทย แบ่งเป็น 2 รูปแบบ  ได้แก่ การบรรเลงเดี่ยว และการบรรเลงหมู่
            1. การบรรเลงเดี่ยว
             1.1 การบรรเลงเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งตามลำพังคนเดียว ไม่มีเครื่องดนตรีใดๆมาร่วม การบรรเลงลักษณะนี้  ผู้บรรเลงสามารถกำหนดระดับเสียงได้ตามต้องการ ส่วนใหญ่ใช้บรรเลงเพื่อฝึกซ้อม หรือการบรรเลงที่ไม่เป็นพิธีการ ทำนองเพลงเป็นทำนองปกติ  ไม่มีลีลาพิเศษ
             1.2 การบรรเลงคนเดียวที่ผู้บรรเลงต้องแสดงความสามารถ หรือฝีมือในการแสดงโดยคำนึงถึงความสมบูรณ์แบบของการบรรเลง ทั้งเสียง ทำนอง จังหวะ  ตลอดจนเทคนิคการบรรเลง  การบรรเลงประเภทนี้จะมีเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง  กลอง  ประกอบการบรรเลงด้วย



             2. การบรรเลงหมู่
                 การบรรเลงหมู่ หมายถึง การบรรเลงโดยผู้บรรเลงมากกว่า 1 คนขึ้นไป มีลักษณะ ดังนี้
              2.1 การบรรเลงเฉพาะเครื่องดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งพร้อมกันมากกว่า 1 คนขึ้นไป  มีแต่การบรรเลงไม่เกี่ยวข้องกับการขับร้อง เช่น การบรรเลงขิมหมู่ จะเข้หมู่  ระนาดเอกหมู่  เป็นต้น  การบรรเลงลักษณะนี้ผู้บรรเลงทุกคนต้องตรวจสอบเสียงของเครื่องดนตรีให้ตรงกัน ต้องบรรเลงให้ทำนองเหมือนกันและพร้อมเพรียงกัน ไม่ว่าขึ้นเสียงสูงหรือลงเสียงต่ำก็ต้องเหมือนกันทุกคน  การบรรเลงลักษณะนี้ ผู้บรรเลงทุกคนจึงจำเป็นต้องฝึกซ้อมร่วมกันให้มาก เพื่อให้เสียงที่บรรเลงออกมาเป็นเสียงเดียวดุจการบรรเลงเพียงคนเดียว

               2.2 การบรรเลงเครื่องดนตรีหลายชนิดประสมกันเป็นวง  เป็นลักษณะการบรรเลงที่นำเครื่องดนตรีหลายชนิดมาประสมกันเป็นวงตามแบบแผนดนตรีไทย ได้แก่ วงปี่พาทย์ชนิดต่างๆ วงเครื่องสาย และวงมโหรี การบรรเลงลักษณะนี้  ผู้บรรเลงต้องตรวจสอบความพร้อมของเครื่องดนตรีอยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเครื่องดนตรีประเภทที่ใช้สาย  สายอาจตึง หย่อน หรือขาดได้  ต้องรู้จักหน้าที่ของเครื่องดนตรีที่ตนบรรเลง ไม่ก้าวก่ายหน้าที่ของเครื่องดนตรีอื่น  ทุกคนต้องขยันหมั่นฝึกซ้อมร่วมกัน เพื่อให้การบรรเลงพร้อมเพรียง ไพเราะ น่าฟัง ไม่ผิดพลาด

              

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)