รูปแบบการขับร้องเพลงไทย
การขับร้อง เป็นศิลปะทางดนตรีที่ใช้การเปล่งเสียงร้องของผู้ขับร้อง ออกมาเป็นเสียง สูง ต่ำ สั้น ยาว ตามทำนอง จังหวะ และบทร้องที่ผู้ประพันธ์ได้เรียบเรียงหรือกำหนดไว้
1. ประเภทการขับร้องเพลงไทย สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท
1.1 การร้องอิสระ คือการโดยทั่วไป ที่ไม่มีดนตรีบรรเลงหรือบรรเลงประกอบแต่อย่างใด ผู้ขับร้องสามารถร้องได้ตามใจชอบ จะยึดเสียงมาตรฐานของเครื่องดนตรีหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องรักษาระดับเสียงของตนเอง ให้ถูกต้อง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นเพียงเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง กรับ เป็นต้น
1.2 การขับร้องประกอบการแสดง คือ การร้องร้องประกอบท่ารำ เป็นการแสดงละคร หรือ รีวิวที่เป็นชุดเป็นตอนก็ได้ การร้องประเภทนี้จะต้องเน้นในเรื่องการใส่อารมณ์ จังหวะช้า หรือ เร็วขึ้นอยู่กับผู้แสดงเป็นสำคัญ ผู้ขับร้องต้องเรียนรู้เกี่ยวกับลีลา ท่าทางของผู็แสดง ตลอดจนอารมณ์เพลง จึงจะสามารถขับร้องสอดแทรกอารมณ์ประกอบกิริยาอาการของผู้แสดงได้อย่างเหมาะสม และช่วยให้ผู้ชมได้รับอรรถรสครบถ้วน เช่น การขับร้องประกอบการแสดงโขน หุ่นกระบอก หนังใหญ่ ละคร ระบำ ฟ้อนต่างๆ เป็นต้น นอกจากผู้ขับร้องต้องเรียนรู็ถึงท่าทางของผู้แสดงแล้ว ยังจะต้องระวังเกี่ยวกับทำนองเพลง และจังหวะให้สอดรับกับท่ารำ ไม่ควรร้องช้าหรือเร็วกว่าท่ารำ ควรร้องให้ได้จังหวะที่ลงตัวเหมาะพอดี
1.3 การร้องส่ง หรือ บางแห่งเรียกว่า "ร้องรับ" หมายถึง การร้องส่งให้วงดนตรีรับเป็นการขับร้องสลับกับการบรรเลงดนตรี ใช้กับวงงดนตรีไทยได้ทุกประเภท การขับร้องลักษณะนี้ผู้ขับร้องต้องขับร้องไปจนเกือบจะจบท่อนเพลง แล้วดนตรีจึงบรรเลงสวมรับและบบรเลงไปจนจบท่อนเพลง ถ้ามีการขับร้องเพลงในท่อนต่อไป ดนตรีบรรเลงส่งเพื่อเป็นแนวทางให้คนร้องได้ร้องเพลงในท่อนต่อไปได้โดยไม่ผิดระดับเสียงหรือเสียงไม่เพี้ยน และเมื่อร้องจนเกือบจบบรรเลงทำนองเพลงให้เร็วขึ้นก่อนจะจบเพลง เพลงประเภทร้องรับ ได้แก่ เพลงเถา เพลงสามชั้น และเพลงสองชั้นทั่วๆไป เช่น เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงบุหลันเถา เป็นต้น
1. ประเภทการขับร้องเพลงไทย สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท
1.1 การร้องอิสระ คือการโดยทั่วไป ที่ไม่มีดนตรีบรรเลงหรือบรรเลงประกอบแต่อย่างใด ผู้ขับร้องสามารถร้องได้ตามใจชอบ จะยึดเสียงมาตรฐานของเครื่องดนตรีหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องรักษาระดับเสียงของตนเอง ให้ถูกต้อง เครื่องดนตรีที่ใช้เป็นเพียงเครื่องประกอบจังหวะ เช่น ฉิ่ง กรับ เป็นต้น
1.2 การขับร้องประกอบการแสดง คือ การร้องร้องประกอบท่ารำ เป็นการแสดงละคร หรือ รีวิวที่เป็นชุดเป็นตอนก็ได้ การร้องประเภทนี้จะต้องเน้นในเรื่องการใส่อารมณ์ จังหวะช้า หรือ เร็วขึ้นอยู่กับผู้แสดงเป็นสำคัญ ผู้ขับร้องต้องเรียนรู้เกี่ยวกับลีลา ท่าทางของผู็แสดง ตลอดจนอารมณ์เพลง จึงจะสามารถขับร้องสอดแทรกอารมณ์ประกอบกิริยาอาการของผู้แสดงได้อย่างเหมาะสม และช่วยให้ผู้ชมได้รับอรรถรสครบถ้วน เช่น การขับร้องประกอบการแสดงโขน หุ่นกระบอก หนังใหญ่ ละคร ระบำ ฟ้อนต่างๆ เป็นต้น นอกจากผู้ขับร้องต้องเรียนรู็ถึงท่าทางของผู้แสดงแล้ว ยังจะต้องระวังเกี่ยวกับทำนองเพลง และจังหวะให้สอดรับกับท่ารำ ไม่ควรร้องช้าหรือเร็วกว่าท่ารำ ควรร้องให้ได้จังหวะที่ลงตัวเหมาะพอดี
1.3 การร้องส่ง หรือ บางแห่งเรียกว่า "ร้องรับ" หมายถึง การร้องส่งให้วงดนตรีรับเป็นการขับร้องสลับกับการบรรเลงดนตรี ใช้กับวงงดนตรีไทยได้ทุกประเภท การขับร้องลักษณะนี้ผู้ขับร้องต้องขับร้องไปจนเกือบจะจบท่อนเพลง แล้วดนตรีจึงบรรเลงสวมรับและบบรเลงไปจนจบท่อนเพลง ถ้ามีการขับร้องเพลงในท่อนต่อไป ดนตรีบรรเลงส่งเพื่อเป็นแนวทางให้คนร้องได้ร้องเพลงในท่อนต่อไปได้โดยไม่ผิดระดับเสียงหรือเสียงไม่เพี้ยน และเมื่อร้องจนเกือบจบบรรเลงทำนองเพลงให้เร็วขึ้นก่อนจะจบเพลง เพลงประเภทร้องรับ ได้แก่ เพลงเถา เพลงสามชั้น และเพลงสองชั้นทั่วๆไป เช่น เพลงราตรีประดับดาวเถา เพลงบุหลันเถา เป็นต้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น