ศ33101 ดนตรีไทยกับสังคมไทย หน่วยการเรียนรู้ที่ 2 ค วามรู้ทั่วไปเกี่ยวกับสังคมไทย

                    ดนตรีไทยเป็นสิ่งที่สะท้อนสังคมไทย เพราะดนตรีไทยเกิดจากจิตวิญญาณของคนไทยที่สร้าง สั่งสม และถ่ายทอดสือบต่อกันมาเป็นเวลานาน คนไทยใช้ดนตรีไทยสะท้อนความเบิกบาน ความสุข ความทุกข์โศก ทั้งในด้านการสนองอารมณ์ตนเองและความต้องการของสังคม การบรรเลงดนตรีชนิดใดชนิดหนึ่งเพื่อระบายความรู้สึกภายในของตนออกมาโดยไม่ปราถนาผู้รับฟังเป็นการถ่ายทอดโลกส่วนตัวอันล่ำลึกและทรงคุณค่าแก่ชีวิตมนุษย์ ในอันที่จะผ่อนคลายความหนักหน่วงของชีวิต และเพิ่มพละพลังให้ลุกขึ้นมาต่อสู้อีกครั้ง







                  
                   เสียงดนตรีเป็นสื่อแห่งความสุข ทั้งแก่บรรดาผู้บรรเลงและผู้รับฟังยิ่งเมื่อมีการนำเสียงดนตรีแต่ละชนิดมาผสมผสานกันด้วยทำนองที่ได้ประดิษฐ์ขึ้น เสียงดนตรีเหล่านั้นมีคุณค่าอย่างยิ่งต่อสังคมไทย และสังคมไทยได้นำเสียงดนตรีมาใช้ในความเป็นอยู่ ประเพณีวัฒนธรรม การอบรมสั้งสอน ความสง่างาม ความเจริญรุ่งเรื่อง ความมีเกียรติยศ รวมไปถึงความเป็นชาติไทย



                  การเลือกดนตรีไทยเป็นส่วนหนึ่งของการเผยแพร่ศิลปะวัฒนธรรมประจำชาติเป็นสิ่งยืนยันได้อย่างชัดเจนว่า นับเนื่องจากวันเวลาแรกๆ ของการก่อกำเนิดขึ้นของดนตรีไทยมาถึงปัจจุบัน ได้ก่อเกิดซึ่งรูปแบบความเป็นไทยที่สามารถประกาศแก่ผู้อื่นได้อย่างเต็มปากเต็มคำ







                  ดนตรีไทยจึมมีความสำคัญต่อคนไทยตั้งแต่ความเป็นส่วนตัว สังคม ประชาชาติและเป็นสิ่งที่ควรจะอนุรักษ์ สืบสาน ให้ยืนยาวตลอดไป



      ค่านิยมของสังคม  ดนตรีไทยนับเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยสะท้อนค่านิยมของผู้คนในสังคม กล่าวคือ ถ้าในช่วงใดที่ดนตรีไทยเฟื่องฟูมากนั่นก็แสดงให้เห็นว่าผู้คนมีค่านิยมให้ความสำคัญกับดนตรีไทย 

           ความเชื่อ มีความเชื่อของสังคมอยู่หลายประการที่เกี่ยวข้องดนตรีไทยที่เห็นได้เด่นชัดก็คือ "ดนตรีไทยถือว่ามีครู" ดังนั้น จึงต้องทำพิธีไหว้ครูก่อนเมื่อฝึกหักเล่นจากพิธีไหว้ครูแล้วจึงจะถึงพิธี "ครอบ" หมายถึงการประสิทธิประสาทวิทยาการ หรืออนุมัติให้เริ่มเรียนวิชาดนตรีนั้นๆได้ หากผู้ใดไม่กระทำจะพบกับอุปสรรค หรืออาจถึงแก่ชีวิต 

แนวทางในการอนุรักษ์ดนตรีไทย
การอนุรักษ์ดนตรีไทยนั้น ต้องอาศัยความร่วมมือกันของคนไทยทุกคนมีวิธีการ ดังนี้
1. ศึกษา ค้นคว้า และการวิจัยดนตรีไทยและดนตรีท้องถิ่น ทั้งที่มีการรวบรวมไว้แล้วและยังไม่ได้ศึกษา เพื่อทราบความหมาย และความสำคัญของดนตรีไทยในฐานะที่เป็นมรดกของไทยอย่างถ่องแท้ ซึ่งความรู้ดังกล่าวถือเป็นรากฐานของ การมองเห็นคุณค่า ทำให้เกิดการยอมรับ และนำไปใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสม ต่อไป
2. ส่งเสริมให้ทุกคนเห็นคุณค่า ร่วมกันรักษาเอกลักษณ์ทางดนตรีของชาติและของท้องถิ่นเพื่อสร้าง ความเข้าใจและมั่นใจแก่ประชาชนในการปรับเปลี่ยนและตอบสนองกระแส วัฒนธรรมอื่นๆ อย่างเหมาะสม
3. รณรงค์ให้ประชาชนและภาคเอกชน ตระหนักในความสำคัญ ของดนตรีไทยว่าเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้การรับผิดชอบร่วมกันใน การส่งเสริมสนับสนุน ประสานงานการบริการความรู้ วิชาการ และทุนทรัพย์สำหรับจัดกิจกรรมทางด้านดนตรีไทย
4. ส่งเสริมและแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมดนตรีภายในประเทศและระหว่างประเทศ โดยการใช้ศิลปะวัฒนธรรมดนตรีที่เป็นสื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่ างกัน
5. สร้างทัศนคติ ความรู้ และความเข้าใจว่าทุกคนมีหน้าที่เสริมสร้าง ฟื้นฟู และการดูแลรักษาดนตรีไทยในฐานะที่เป็นสมบัติของชาติ
6. จัดทำระบบเครื่อข่ายสารสนเทศทางด้านดนตรีไทยเพื่อเป็นศูนย์กลาง เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานเพื่อให้ประชาชนเข้าใจ และช่วยกันอนุรักษ์ดนตรีไทยเอาไว้
7. ปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อ ดนตรีไทยให้แก่กลุ่มเด็ก เยาวชนให้มองเห็นว่าดนตรีไทยไม่ใช่ดนตรีที่ล้าหลังหรือไม่ทันสม ัยแต่เป็นดนตรีที่เยาวชนไทยทุกคนควรช่วยกันอนุรักษ์ไว้เพราะเป็ นศิลปะวัฒนธรรมของชาติไทยที่มีมาแต่ช้านาน
8ปรับปรุงผสมผสานวัฒนธรรมดนตรีไทยดั้งเดิมกับวัฒนธรรมเพลงสมัยให ม่ เช่นนำเครื่องดนตรีไทยมาประยุกต์ร่วมบรรเลงกับวงดนตรีสากล
9.เผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีไทยในสื่อต่างๆเช่น สื่อ วิทยุ โทรทัศน์ อินเตอร์เนตเพื่อให้ทุคนมีโอกาสได้สัมผัสหรือทำความรู้จักกับเค รื่องดนตรีไทยมากขึ้น

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)