ศ31102 วงเครื่องสายไทย

           วงเครื่องสายไทย  จะมีเสียงไม่จัดจ้านและไม่ดังมากนัก จึงเหมาะสมกับการบรรเลงในสถานที่ ที่ไม่กว้างนัก แบ่งย่อยออกเป็น 3 ประเภท คือ
           1. วงเครื่องสายไทย  คือ วงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นหลัก ส่วนเครื่องดนตรีอื่นๆ เป็นเครื่องดนตรีที่มีโครงสร้างของระดับเสียงที่สอดคล้องกัน ในวัฒนธรรมไทยนิยมนำวงเครื่องสายไทยมาใช้บรรเลงในงานมงคลต่างๆ เช่น งานมงคลสมรส  งานเลี้ยงฉลอง หรืองานอื่นๆ การประสมวงแบ่งได้ 2 ขนาดคือ วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว และวงเครื่องสายเครื่องคู่
           1.1 วงเครื่องสายเครื่องเดี่ยว ประกอบด้วย จะเข้ 1 ตัว  ซอด้วง 1 คัน ซออู้ 1 คัน ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา โทน - รำมะนา 1 สำรับ ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบเล็ก 1 คู่ กรับ 1 คู่ และโหม่ง 1 ใบ

           1.2 วงเครื่องสายเครื่องคู่ ประกอบด้วย จะเข้ 2 ตัว ซอด้วง 2 คัน ซออู้ 2 คัน ขลุ่ยเพียงออ 1 เลา ขลุ่ยหลีบ 1เลา โทน - รำมะนา 1 สำรับ ฉิ่ง 1 คู่ ฉาบเล็ก 1 คู่ กรับ 1คู่ และโหม่ง 1 ใบ





         2. วงเครื่องสายประสม คือ วงเครื่องสายไทย เครื่องเดี่ยวหรือเครื่องคู่ โดยมีเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนองเพลง 1 ชนิด โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นเครื่องดนตรีไทย หรือเครื่องดนตรีจากแหล่งวัฒนธรรมอื่นๆ นำเข้าประสมด้วย โดยเครื่องดนตรีที่นำเข้าประสมวงจะต้องมีการปรับระดับเสียงของเครื่องดนตรีชนิดนั้นให้สอดคล้องกับระดับเสียงของเครื่องสายไทย ส่วนชื่อเรียกของวงดนตรีจะเรียกตามเครื่องดนตรีที่นำประสม เช่น วงเครื่องสายประสมขิม  วงเครื่องสายประสมเปียโน  วงเครื่องสายประสมออร์แกน  วงเครื่องสายประสมกู่เจิง  วงเครื่องสายประสมไวโอลีน  วงเครื่องสายประสมแอคคอร์เดรยน เป็นต้น

         3. วงเครื่องสายปี่ชวา  มีชื่อเรียกแต่เดิมว่า "วงกลองแขกเครื่องใหญ่" วงดนตรีประเภทนี้เป็นลักษณะของวงเครื่องสายประสม เกิดขึ้นครั้งแรกในปลายสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดดยการประสมระหว่างเครื่องดนตรีวงเครื่องเครื่องสายกับวงกลองแขก ประกอบด้วย จะเข้ ซอด้วง ขลุ่ยหลีบ ปี่ชวา กลองแขก
          ลักษณะเด่นของวงเครื่องสายปี่ชวา คือ เป็นการบรรเลงด้วยระดับเสียงสูงที่วงการดนตรีไทยเรียกว่า "เสียงชวา" เสียงนี้มีระดับเสียงสูงกว่าระดับเสียงที่วงดนตรีไทยประเภทอื่นๆใช้บรรเลง โยจะเข้ ซอด้วง และซออู้ ต้องปรับระดับเสียงให้สูงและเข้ากับระดับเสียงของปี่ชวา











WINKWHITE

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)