หลักการขับร้องเพลงไทย

1. วิธีการเปล่งเสียง
-ในการขับร้องเพลง สิ่งแรกที่ทำให้ผู้เกิดความสนใจ คือ เสียง การร้องเพลงผู้ขับร้องต้องรู้จักวิธีการเปล่งเสียงเพื่อให้ได้เสียงที่มีคุณภาพออกมา การเปล่งเสียงร้องที่ดีต้องอาศัยการฝึกฝนเป็นขั้นตอน ดังนี้
        1.1 การฝึกออกเสียง เป็นการเริ่มต้นการฝึกหัดร้องเพลง เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับระดับเสียงดนตรี โดยเทียบกับเสียงของเครื่องดนตรี

        1.2 การฝึกการบังคับเสียง เป็นการบังคับเสียงให้ออกมาโดยถูกทิศทางชึ่งอาจต้องใช้อวัยวะภายในปากเป็นส่วนช่วยในการเปล่งเสียง ได้แก่ คอ ลิ้นปี่ เพดาน ปุ่มเหงือก ไรฟัน ลิ้น คากและปาก เป็นต้น

        1.3 การฝึกกล้าเนื้อคอ เพื่อให้เกิดความแข็งแรง สามารถบังคับกล้ามเนื้อให้เปล่งเสียงตามที่ต้องการ มักจะใช้กับการร้องที่ต้องการเสียงที่อ่อนพลิ้ว สั่นระรัว เช่น การครั่นเสียง เป็นต้น

       1.4 การฝึกกล้ามเนื้อหน้าท้อง การฝึกกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องเพื่อให้แข็งแรงจะเป็นประโยชน์ในการขับร้องเพลงที่มีเสียงสูง ซึ่งในขณะเปล่งเสียงสูงผู้ร้องต้องเกร็งกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้องแล้วค่อย ๆ เปล่งเสียงออกมา โดยให้ลมบริเวณหน้าท้องเลื่อนขึ้นมา เสียงที่เปล่งออกมามีน้ำหนัก ดังลึก ทำให้ช่วยยืดเสียงได้ยาวต่อไป การฝึกด้วยวิธีนี้บ่อย ๆ จะทำให้เกิดเสียงใส น้ำเสียงมีพลัง การร้องจะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
การฝึกไล่เสียง
หลังจากที่ได้ฝึกการเปล่งเสียงร้องจนมีความชำนาญแล้ว ควรฝึกการไล่เสียงร้อง เพื่อให้ถูกต้องตรงตามระดับเสียงดนตรีโดยเริ่มจากเสียงต่ำไปหาสูง เมื่อสามารถร้องได้ตามเสียงที่ต้องการแล้ว จึงเริ่มฝึกร้องให้ได้เสียงที่สูงขึ้นเรื่อย ๆ จะหยุดร้องที่ระดับเสียงเดียวไม่ได้ให้ฝึกร้องไปจนกว่าจะถึงระดับเสียงสุดท้ายที่กำลังร้อง
การใช้ลมหายใจ
การหายใจ ผู้ขับร้องจะต้องจำตำแหน่งที่ใช้สำหรับหายใจของเพลงแต่ละเพลงไว้ให้ได้เพราะลมหายใจในการร้องเพลง มีส่วนในการร้องเพลง มีส่วนช่วยในการร้องเพลงให้เกิดความไพเราะน่าฟัง ในการร้องเพลงทุกประเภท การรู้จักใช้ลมหายใจให้ถูกต้องนั้นจะทำให้การร้องเพลงนุ่มนวล อ่อนหนาวแข็งกระด้างหรือเสียงขาดเป็นช่วง ๆ อีกทั้งเป็นการช่วยผ่อนแรงในการร้อง
การใช้คำในการขับร้อง
คำต่าง ๆ ที่อยู่ในบทร้องเพลงไทย ผู้ชับร้องต้องนำคำต่างๆ เหล่านั้นมาใช้ออกเสียงใน ๒ ลักษณะ คือ
1.การเอื้อน เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการขับร้องเพลงไทย ผู้ขับร้องต้องรู้จักการใช้เสียงในการเอื้อน ซึ่งมีอยู่หลายวิธีหลายเสียง การออกเสียงเอื้อนจำเป็นต้องอาศัยพยัญชนะ สระและเสียงวรรณยุกต์ที่แตกต่างกันออกไป
2.การออกเสียงคำร้อง การออกเสียงได้ถูกต้องตามอักขรวิธีชัดถ้อยชัดคำ รวมทั้งการแบ่งคำร้องและการแบ่งวรรคตอนในขณะทำการขับร้องได้เหมาะสม เป็นสิ่งที่ผู้ขับร้องทุกคนต้องปฏิบัติ


ลักการปฏิบัติในการฝึกหัดขับร้องเพลงไทย


                   1.   ศึกษาทำนองเพลงให้เข้าใจ และใส่อารมณ์ให้ถูกต้องเหมาะสม 
                   2.   ศึกษาคำร้องให้เข้าใจ และร้องโดยใส่อารมณ์ให้ถูกต้องกับคำร้อง
                   3.   วางสีหน้าปกติ ไม่เหลียวหน้าเหลียวหลัง และร้องอย่างสง่างาม
                   4.   ร้องให้ถูกต้องตามคำร้อง ทำนอง และให้ตรงจังหวะ
                   5.   ร้องให้ชัดเจน ถูกต้อง ทั้งพยัญชนะ สระ และคำควบกล้ำ
                   6.   ร้องให้ตรงตามระดับเสียงของทำนองเพลง
                   7.   รู้จักใช้เสียงอย่างถูกต้อง
                   8.   รู้จักผ่อนและถอนลมหายใจให้ถูกวรรคตอน หรือตรงกับจังหวะหยุด
                   9.   รักษาสุขภาพ และต้องมีสมาธิ

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)