แนวม.5

1. เพลงใดที่ไม่ใช่ผลงานดนตรีของ นายเฉลิม บัวทั่ง
       ก.   เพลงสีนวลเถา
       ข.   โหมโรงมหาปิยะ
       ค.   เพลงแขกต่อยหม้อ
       ง.   เพลงขอมใหญ่เถา
   2. สังคีตกวีที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณให้เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทย)
ประจำปี 2548 คือท่านใด
       ก.   นายประยอม ซองทอง
       ข.   นายสำราญ เกิดผล         
       ค.   นายประเทือง เอมเจริญ
       ง.   นายวิเชียร คำเจริญ       
   3.  การบรรเลงเพลงที่มีนักร้องร้องตลอดเพลง เรียกว่าอะไร
       ก.   ขยี้    
       ข.   ครั่น
       ค.   คลอ                
       ง.   เอื้อน
   4.  ศัพท์เฉพาะดนตรีไทย มีความสำคัญอย่างไร
       ก.   ใช้สื่อสารกัน เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน
       ข.   ใช้บรรยาย เพื่อให้นักดนตรีฟัง
       ค.   ใช้เรียกเพลงที่มีสำเนียงที่แตกต่างกันออกไป
       ง.   ใช้กับนักร้องเท่านั้น
   5.  เพลงหน้าพาทย์เป็นการบรรเลงที่ใช้ในการแสดงในลักษณะใด
       ก.   ประกอบกิริยาสมมติของนักดนตรี
       ข.   ประกอบกิริยาจริงของตัวละคร
       ค.   ประกอบกิริยาสมมติของตัวละคร
         .   ก่อนการแสดง
6. วงดนตรีข้อใด ที่ควรนำมาบรรเลงในงานมงคล
       ก.   วงปี่พาทย์       
       ข.   วงกลองยาว       
       ค.   วงมโหรี
       ง.   วงเครื่องสาย         
   7.  พิธีกรรมใด ที่แสดงว่าดนตรีไทยเกี่ยวข้องกับการบำบัดรักษา
       ก.   พิธีรำผีฟ้า
         ข.   พิธีโล้ชิงช้า     
       ค.   พิธีชักพระ
       ง.   พิธีขอฝน          
   8.  ดนตรีไทยสามารถประยุกต์ใช้ให้เข้ากับชีวิตประจำวันหลายด้าน ยกเว้นด้านใด
       ก.   บุคคล
       ข.   ธุรกิจ
       ค.   การโฆษณา                        
       ง.   การท่องเที่ยว
   9.  การเข้าถึงความงามของดนตรีไทย มีข้อสังเกตอย่างไร
       ก.   ศิลปะ
       ข.   ความงามเกี่ยวกับศาสนา  
       ค.   การฟังเพลงอย่างตั้งใจ
       .   การสังเกตด้านรูปธรรม
10.  การพิจารณาคุณค่าและความงามของดนตรีไทยนั้น พิจารณาได้จากอะไร
       ก.   สังคม
       ข.   บทเพลงที่ประพันธ์
       ค.   จินตนาการ
         ง.   ภูมิปัญญา
11. สังคีตกวีดนตรีพื้นบ้านท่านใด ที่ได้รับการประกาศเชิดชูเกียรติให้เป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านวัฒนธรรม สาขาวรรณศิลป์ (แต่งกลอนลำ) ประจำปีพุทธศักราช 2537
       ก.   นายสร้อย ปลอดฤทธิ์
       ข.   นางราตรี ศรีวิไล
       ค.   เจ้าเครือแก้ว ณ เชียงใหม่
       ง.   นายนครินทร์ ชาทอง
   12.  สังคีตกวีดนตรีพื้นบ้านท่านใดที่มีผลงานการแสดงภาพยนตร์เรื่อง บุญชูผู้น่ารัก
       ก.   บานเย็น รากแก่น       
       ข.   เอกชัย ศรีวิชัย
       ค.   ขวัญจิต ศรีประจัน
       ง.   จรัล มโนเพ็ชร
   13.  โครงสร้างของดนตรีพื้นบ้านภาคใต้ มีลักษณะทำนองเป็นอย่างไร
       ก.   ทำนองเพลงค่อนข้างเร็ว
       ข.   ทำนองเพลงกระชับ รวดเร็ว ให้จังหวะที่หนักแน่น
       ค.   ทำนองมีความซับซ้อน และขนาดเพลงยาวกว่า
       .   ทำนองเพลงช้า ซึ่งเน้นการเคลื่อนที่ของทำนองเพลง
   14.  ภาคใด ที่มีการแข่งขันวงดนตรีกลองยาวเหมือนกัน
       ก.   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง
       ข.   ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
       ค.   ภาคเหนือ ภาคกลาง
       ง.   ภาคใต้ ภาคเหนือ
  15.  ดนตรีพื้นบ้านภาคใดของไทย ที่มีการผสมผสานความหลากหลายวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน
       ก.   ภาคใต้                         
       ข.   ภาคกลาง
       ค.   ภาคเหนือ                     
        ง.  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
16. วงดนตรีล้านนาน่าน มีการขับซอเหมือนกับกลุ่ม        ชาติพันธุ์ใด
       ก.   ซาไก                       ข.  ชาวไทยอาหม
       ค.   ลาวโซ่ง                    ง.   ชาวไทยลื้อ
17.  ปัจจัยด้านวิถีมนุษยสังคม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
       ก.   สภาพแวดล้อม การประกอบอาชีพ เทศกาลในรอบปีภูมิหลังประวัติศาสตร์       
         ข.   การขับร้อง การประกอบอาชีพ การขอพร สภาพแวดล้อม
       ค.   เทศกาลในรอบปี พิธีกรรม ความเชื่อภูมิหลังประวัติศาสตร์     
       ง.   การขอพร การขับร้อง ความเชื่อ พิธีกรรม
 18. ประเพณีแห่นางแมว เป็นประเพณีที่เกิดจากการสร้างสรรค์ดนตรีจากปัจจัยใด
       ก.   ปัจจัยด้านการศึกษา
       ข.   ปัจจัยด้านสุนทรียภาวะ
       ค.   ปัจจัยด้านวิถีมนุษยสังคม      
       ง.   ปัจจัยด้านการปกครอง
   19.  ดนตรีพื้นบ้านและพิธีกรรมมีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร
       ก.   มีความเกี่ยวข้องที่เป็นสิ่งแวดล้อม
       ข.   มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของการศึกษา
       ค.   มีความเกี่ยวข้องในเรื่องของการเลี้ยงดูทารก
       ง.   มีความเกี่ยวข้องที่เป็นความเชื่อที่สืบทอดกันมา
20.  ดนตรีพื้นบ้านมีส่วนช่วยคนในชุมชนอย่างไร
       ก.   ช่วยเสริมสร้างทางด้านกายภาพ
       ข.   ช่วยเสริมสร้างทางด้านความคิด
       ค.   ช่วยเสริมสร้างทางด้านจิตใจ
        ง.    ช่วยส่งเสริมในเรื่องเทคโนโลยี
21. ในการประเมินด้านคุณภาพเสียงการบรรเลงประกอบด้วยอะไรบ้าง
       ก.   ความดังและความสมดุลของเครื่องดนตรีทุกชนิด
       ข.   ความพร้อมเพรียงในการบรรเลง
       ค.   ความกังวานของเครื่องดนตรี
       .   เทคนิคในการบรรเลง
  22.  เหตุใด จึงต้องมีการประเมินคุณภาพผลงานดนตรีไทย
       ก.   เพื่อให้นักดนตรีหาวิธีในการบรรเลงเพลงในรูปแบบใหม่ๆ
       ข.   เพื่อให้นักดนตรีหาทางเลือกอื่นนอกจากการเล่นดนตรี
       ค.   เพื่อให้นักดนตรีพัฒนาฝีมือในการเล่นดนตรีไทย
       ง.   เพื่อให้นักดนตรีหาข้อเปรียบเทียบกับผู้อื่น
   23การแสดงใด ที่นิยมใช้เพลงเกร็ดมาประกอบในการแสดง
       ก.   การแสดงละครดึกดำบรรพ์
       ข.   การแสดงละครชาตรี
       ค.   การแสดงละครใน
       ง.   การแสดงโขน
   24.  ใครเป็นผู้ที่ปฏิบัติตามหลักการร้องเพลงไทยได้ถูกต้อง
       ก.   มะไฟ ฝึกร้องเพลงเวลาเที่ยงคืน
       ข.   มะขาม  รักษาเสียงโดยร้องเพลงแบบตะโกน
       ค.   มะเฟือง นั่งเล่นเกมขณะฝึกร้องเพลง
       ง.   มะม่วง ดื่มน้ำอุ่นและฝึกร้องเพลงเพื่อความแม่นยำทำนอง
   25.  ผู้ที่เริ่มฝึกระนาดเอก ต้องเตรียมการสิ่งใดเป็นพื้นฐาน
       ก.   ฝึกจำโน้ตและตีระนาดให้คล่องมือ
       ข.   เรียนการอ่านโน้ตดนตรีไทย
       ค.   เรียนวิธีการจับไม้ระนาด
         ง.   เข้าพิธีไหว้ครู
26. ระนาดเอก มีผู้สันนิษฐานว่าถูกพัฒนามาจากเครื่องดนตรีไทยชนิดใด
       ก.   เกราะ                       ข.  ฉิ่ง
       ค.   กรับ                         ง.   โปงลาง
27.  ในการบรรเลงดนตรีไทยแบบหมู่ ผู้บรรเลงต้องตรวจสอบสิ่งใด
       ก.   ตรวจสอบการถ่ายทอดอารมณ์ของผู้บรรเลง
       ข.   ตรวจสอบความดังของเครื่องดนตรี
       ค.   ตรวจสอบความไพเราะของดนตรี
       ง.   ตรวจสอบเสียงเครื่องดนตรีให้ตรงกัน
28.  ผู้ที่บรรเลงดนตรีไทยคนเดียวต้องคำนึงถึงสิ่งใด
       ก.   ความสมบูรณ์ของการบรรเลง คือ เสียง ทำนองและจังหวะ
       ข.   คำนึงถึงความพร้อมเพรียงในการบรรเลง
       ค.   คำนึงถึงเวลาในการบรรเลง
       ง.   คำนึงถึงแรงที่ใช้ในการบรรเลง
29.  เหตุใด ผู้ที่จะบรรเลงดนตรีไทยต้องยกมือไหว้เครื่องดนตรีทุกครั้งก่อนบรรเลง
       ก.   เพราะนักดนตรีไทยไม่ต้องการบรรเลงดนตรีผิดเวลาแสดง
       ข.   เพราะนักดนตรีไทยเชื่อว่าเครื่องดนตรีไทยทุกชนิดมีครู
       ค.   เพราะนักดนตรีไทยทำตามกันจนกลายเป็นประเพณี
       ง.   เพราะนักดนตรีไทยเชื่อว่ามีเทพเจ้าอยู่ในเครื่องดนตรีไทย
30.  เครื่องดนตรีข้อใด ที่ถือว่าเป็นพ่อครูดนตรีไทย
       ก.   กลองทัด                   ข.  ระนาดเอก
        ค.   ตะโพน   ง.ซอสามสาย


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)