แนวม.6

1. ปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการสร้างสรรค์งานดนตรี คือสิ่งใด
ก. เทคโนโลยี
ข. ความเชื่อ
ค. วิถีชีวิต
ง. ศาสนา
2. เทคนิคการบรรเลงดนตรีในข้อใด ที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมากที่สุด
ก. กรับพวง และ Timpani
ข. ซอสามสาย และ Harp
ค. จะเข้ และ Guitar
ง. ปี่ใน และ Flute
3. การใช้เพลงประกอบการแสดงทำให้เกิดอรรถรสด้านใดมากที่สุด
ก. แนวคิดในการสื่อความหมาย
ข.  แสงและสีที่สร้างบรรยากาศ
ค.  ความงดงามตระการตา
ง. อารมณ์สะเทือนใจ
4. เครื่องดนตรีชนิดใดของจีนที่ไทยได้รับอิทธิพลมาใช้ในการบรรเลง
ก. ขิมหยางฉิ่น
ข. เอ่อหู
ค. กู่ฉิน
ง. ดี
5. เครื่องดนตรีชนิดใดของอินเดียที่ได้รับอิทธิพลมาจากตะวันออกกลาง
ก. ตาบลา
ข. เชห์ไน
ค. ซีตาร์
ง. วีณา
ุ6.Improvisatory เป็นลักษณะเด่นของดนตรีในวัฒนธรรมใด
ก. วัฒนธรรมอินโดนีเซีย
ข.  วัฒนธรรมแอฟริกา
ค. วัฒนธรรมอินเดีย
ง. วัฒนธรรมจีน
7. ศิลปะการเชิดหนังที่เก่าแก่ที่สุด เป็นศิลปะประจำชาติใด
ก. ประเทศอินโดนีเซีย
ข. ประเทศกัมพูชา
ค. ประเทศพม่า
ง. ประเทศไทย
8. การแสดงวายังของอินโดนีเซียมีลักษณะคล้ายกับการแสดงชนิดใดของไทย
ก. การเชิดหนัง
ข. ระบำ
ค. ลิเก
ง. โขน
9. เพราะเหตุใด วัฒนธรรมดนตรีอาหรับจึงมีทฤษฎีดนตรีที่ค่อนข้างซับซ้อน
ก. เพราะมีความแตกต่างในเรื่องของเชื้อชาติและภาษา
ข. เพราะมีความแตกต่างในเรื่องของชนชั้นวรรณะ
ค. เพราะมีความแตกต่างในเรื่องของศาสนา
ง. เพราะมีความแตกต่างในเรื่องของเพศ
10. ดนตรีในวัฒนธรรมแอฟริกามีความโดดเด่นในการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทใด
ก. ดนตรีประเภทเครื่องกระทบ
ข. ดนตรีประเภทเครื่องเป่า
ค. ดนตรีประเภทเครื่องดีด
ง. ดนตรีประเภทเครื่องตี
11. การร่ายรำประกอบการบรรเลงดนตรีประเภทใดที่เกิดขึ้นจากความเชื่อของมนุษย์ในเรื่องไสยศาสตร์
ก. เรือมกะโน๊บติงตอง ข. บายศรีสู่ขวัญ
ค. กิ่งกะหร่า ง. รำฝีฟ้า
12. การปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนไทยในปัจจุบันมีผลต่อดนตรีไทยอย่างไร
ก. ชาวต่างประเทศให้ความสนใจดนตรีไทยมากขึ้นและมีการสืบสานดนตรีไทย
ข. ทำให้คนไม่สนใจดนตรีไทย และเกิดช่องว่างระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่
ค. คนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ให้ความสนใจดนตรีไทยมากขึ้น
ง. มีการนำดนตรีไทยมาบรรเลงกับดนตรีสากลมากขึ้น
13. วงดนตรีประเภทใด ที่มีบทบาทในการประกอบกิจกรรมต่างๆ ในสังคมไทย
ก. วงเครื่องสาย ข. วงปี่พาทย์
ค. วงขับไม้ ง. วงมโหรี
14. เพลงใด จัดเป็นเพลงที่แสดงถึงความนอบน้อม คารวะต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ก. เพลงตระเทวาประสิทธิ์ ข. เพลงบาทสกุณี
ค. เพลงมหาฤกษ์ ง. เพลงสาธุการ
15. เพราะเหตุใด ดนตรีไทยจึงมีการเปลี่ยนแปลง
ก. ความเจริญก้าวหน้าทางสังคมและเทคโนโลยี
ข. สร้างดนตรีตามความต้องการของตลาด
ค. ต้องการพัฒนาดนตรีรูปแบบใหม่
ง. ค่าเงินบาทที่สูงขึ้น
16. สิ่งที่สำคัญในการอนุรักษ์ดนตรีไทยควรทำอย่างไร
ก. ออกกฎหมายไม่ให้วัฒนธรรมต่างประเทศเข้ามาในไทย
ข. ปลูกจิตสำนึกให้คนไทยตระหนักถึงคุณค่าของดนตรีไทย
ค. กระตุ้นให้เยาวชนสนใจดนตรีไทยเพียงอย่างเดียว
ง. โฆษณาเพื่อสร้างความหมายให้กับดนตรีไทย
17. ใครเป็นผู้ที่อนุรักษ์และส่งเสริมดนตรีไทยได้เหมาะสมที่สุด
       ก.   ข้าวปั้น บรรเลงดนตรีไทยให้ชาวต่างชาติดูและอธิบายว่าดนตรีไทยเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของไทย
       ข.   ข้าวเจ้า อนุรักษ์ดนตรีไทยโดยการเก็บไว้ในห้องเรียน
       ค.   ข้าวแช่ ส่งเสริมดนตรีไทยโดยการก๊อปปี้เพลงไปขาย
       ง.   ข้าวตู บังคับให้เด็กข้างบ้านฝึกเล่นดนตรีไทย
   18เพราะเหตุใด เราจึงควรอนุรักษ์ดนตรีไทย
       ก.   เพื่อให้ประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้า
       ข.   เพื่อรักษาวัฒนธรรมของชาติ
       ค.   เพื่อให้เด็กมีสติปัญญาที่ดี
       ง.   เพื่อให้ชาวต่างชาติชื่นชม
   19.  ใครเป็นผู้ได้รับการหัดจับมือจะเข้จากครูช่อ สุนทรวาทิน
       ก.   คุณหญิงไพฑูรย์ กิตติวรรณ
       ข.   วิเชียร คำเจริญ
       ค.   มนตรี ตราโมท
       ง.   ราตรี ศรีวิไล
20ครูจำเนียร ศรีไทยพันธุ์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านใด
       ก.   มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยและหมอแผนโบราณ
       ข.   มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยและขับร้องลูกกรุง
       ค.   มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยและดนตรีสากล
       ง.   มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยและหมอลำ
21. ในงานอวมงคล นิยมนำวงดนตรีประเภทใดมาบรรเลง
       ก.   วงขับไม้                   ข.  วงบัวลอย
       ค.   วงแตรสังข์                ง.   วงกลองชนะ
   22.  ความไพเราะของวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ คืออะไร
       ก.   ความราบเรียบ เงียบสงบ และนุ่มนวล          
       ข.   ความดังกระหึ่ม เงียบสงบ และโลดโผน
       ค.   ความดังกึกก้อง โลดโผน และสนุกสนาน
       ง.   การสื่ออารมณ์เด่นชัดของระนาดเอกที่ใช้ไม้แข็งบรรเลง
   23.  การนำซอด้วง ซออู้ จะเข้กับปี่อ้อ มาเล่นผสมกับเครื่องกลองแขก เป็นการประสมวงที่มีชื่อเรียกว่าอย่างไร
       ก.   วงเครื่องสายคู่
       ข.   วงเครื่องสายผสม
       ค.   วงเครื่องสายเดี่ยว
       ง.   วงเครื่องสายปี่ชวา
   24.  ปัจจุบันการผสมวงมโหรีได้มีการนำเครื่องดนตรีชนิดใดมาบรรเลงร่วม
       ก.   ขลุ่ยอู้                       ข.  ซอสามสาย
       ค.   ระนาดเอก                 ง.   เปิงมางคอก
   25.  หลักในการขับร้องให้มีความไพเราะ ควรปฏิบัติอย่างไร
       ก.  ร้องเสียงเบาๆ
       ข.  ร้องให้เต็มเสียง
       ค.   ร้องแบบเล่นลูกคอ
       ง.   ร้องเสียงดังสลับเบา
   26.  เอกลักษณ์สำคัญของการขับร้องเพลงไทยเดิม คืออะไร
       ก.   การเอื้อน
       ข.   การตัดเสียงให้กลมกล่อม
       ค.   การใช้ปากและการหายใจ
        ง.    การผ่อนและการถอนลมหายใจ
27. ก่อนการเล่นเครื่องสาย ผู้เล่นจะใช้วัสดุชนิดหนึ่งถูกที่สายวัสดุชนิดนั้นคืออะไร และมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
       ก.   ยางรัก เพื่อทำให้สายไม่ขาดง่าย

       ข.   ยางสน เพื่อทำให้สายไม่ขาดง่าย

       ค.   ยางรัก เพื่อให้ฝืดและมีเสียงไพเราะขึ้น

       ง.   ยางสน เพื่อให้ฝืดและมีเสียงไพเราะขึ้น

   28.  การดูแลรักษาเครื่องดนตรีที่ถูกวิธี ควรปฏิบัติอย่างไร

       ก.   วางเครื่องดนตรีนอนราบกับพื้น เพื่อป้องกันการชำรุด

       ข.   นำผ้าเปียกเช็ดเครื่องดนตรี เพื่อเป็นการทำความสะอาด

       ค.   ลดสายของเครื่องดนตรีที่มีสายลง เพื่อยืดเวลาในการใช้งาน

       ง.   นำเครื่องดนตรีวางซ้อนทับกัน เพื่อจะได้เป็นระเบียบ    เรียบร้อย

   29.  ถ้าต้องการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปอีกเพลงหนึ่ง ควรใช้ศัพท์สังคีตที่ใช้ในการฝึกปฏิบัติดนตรีไทยคำใดจึงจะถูกต้องที่สุด

       ก.   ไหว                         ข.  สวม

       ค.   ออก                        ง.   ล่อน

30.  ถ้าผู้บรรเลงดนตรีได้บรรเลงทำนองหรือบรรเลงเครื่องประกอบจังหวะหรือร้องดำเนินไปโดยไม่ตรงกับจังหวะ   ที่ถูกต้อง แสดงว่าผู้บรรเลงกำลังใช้ศัพท์สังคีตใดในการ  ฝึกปฏิบัติดนตรีไทย
       ก.   ส่ง               ข.  โยน
      ค.  ข้าม         ง.    คร่อม


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

บุคคลสำคัญในวงการนาฏศิลป์

เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ในดนตรีสากล

วิวัฒนาการของดนตรีไทยในแต่ละยุคสมัย (สมัยรัตนโกสินธ์)